ทุกแพลตฟอร์มเริ่มพัฒนาฟีเจอร์ให้สนทนาผ่านทางเสียงได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Twitter Spaces, Clubhouse และ Discord ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ยอดดาวน์โหลดพอดแคสต์กลับเติบโตขึ้นในอัตราที่ลดลง หรือนี่เป็นตัวบ่งชี้ว่าเรากำลังก้าวเข้าสู้ความนิยมรูปแบบใหม่กัน?
หลังจากปัญหา Covid-19 เริ่มต้นขึ้น วิถีชีวิตของคนก็ไม่เหมือนเดิม เปลี่ยนเป็นการอยู่บ้าน และเดินทางน้อยลง ทำให้การฟังพอดแคสต์ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักในการใช้ฆ่าเวลาระหว่างทางลดลงไปเล็กน้อยอยู่ช่วงหนึ่ง และได้เพิ่มความนิยมกลับขึ้นมา ด้วยการเปลี่ยนเป็นระบบเสียงดิจิทัล ออดิโอ (Digital Audio) แทน
ท่ามกลางความคาดหวัง รายได้จากพอดแคสต์ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง โดยในปี 2020 ชาวอเมริกันวัยกลางคนขึ้นไปใช้เวลาไปกับเทคโนโลยีออร์ดิโอสูงขึ้น 8.3% ถือเป็นเวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมงต่อวัน
“การสนทนาเสียง แบบเรียลไทม์” ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่นี้ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เริ่มตั้งแต่ Discord ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการเกมตั้งแต่ปี 2558 แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นเท่าไหร่ จนกระทั่งเกิดภัยพิบัติขึ้นทำให้มีการเปิดตัว Clubhouse ที่เกิดการขยายฐานผู้ใช้อย่างรวดเร็ว จนพนักงานในบริษัทไม่สามารถหาเซิร์ฟรองรับผู้ใช้ได้เพียงพอ
แม้ว่าคนอาจจะเดินทางน้อยลง แต่ก็ใช้เวลาแต่ละวันไปกับการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และหันมาฟังเทคโนโลยีเสียงตอนทำกิจกรรมอื่นแทน ไม่ว่าจะเป็นตอนรีดผ้า ออกกำลังกาย หรือทำอาหาร ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมที่ไม่สะดกที่จะดูไปด้วย แต่ถ้าเเค่ฟังอย่างเดียวก็สบายมาก!
แอปพลิเคชัน Discord ครองอันดับ 3 ใน 50 สิ่งที่เป็น Disruptorโดย CNBC ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วกว่า 156 ล้านคนต่อเดือน จากเดิมที่เป็น 52 ล้านคนในปี2562 โดยแอปพลิเคชันนี้ ทำให้คนสร้างห้องเพื่อการสนทนาระหว่างเล่นเกม หรือจะเลือกเปิดเพลงฟังด้วยกันก็ได้ เรียกได้ว่าเป็นโปรแกรม Live Audio นำร่องเลยทีเดียว ซึ่งต่อมาแพลตฟอร์มนี้ได้รับความสนใจจาก Microsoft ที่เสนอราคาซื้อถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ต่อมาก็เป็นช่วงเวลาของ Clubhouse ที่เปิดตัวในเดือนเมษายนปี 2020 ด้วยคอนเซปต์ของการสนทนาเฉพาะผู้ที่ได้รับเชิญเท่านั้น และ 1 คน ก็สามารถเลือกเชิญได้เพียง 3 คน เมื่อบัตรเชิญมีจำกัด ความต้องการเข้าร่วมแอปพลิเคชันนี้ก็เพิ่มขึ้นสูงทันทีตามหลักเศรษฐศาสตร์ และยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเหล่าคนดังและเซเลบริตี้ทั่วโลกต่างกระโจนเข้ามาร่วมวงสนทนาด้วย เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดการ FOMO ในเวลาเพียงไม่นาน และทำให้แอปพลิเคชันนี้กลายเป็นยูนิคอร์นในซิลิคอนวัลเลย์ทันที ยิ่งเมื่อรุ่น Android สามารถใช้ได้ในเดือนพฤษภาคม ก็ยิ่งเพิ่มผู้ใช้อีกล้านกว่าคนอย่างไม่มีแผ่ว
และเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความมาแรงของ Live Audio หลายแพลตฟอร์มก็ได้เปิดตัวฟีเจอร์ลักษณะนี้ตามมาติดๆ ไว่ว่าจะเป็น Twitter ที่เริ่มทดสอบ Spaces เมื่อปลายปีที่แล้ว และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปีนี้
Facebook ประกาศ “Live Audio Room” ในเดือนเมษายน (ซึ่งมาร์คได้บอกว่า ทำการพัฒนาสิ่งนี้มา “นานมากๆ”) ซึ่งมีฟีเจอร์ Q&A ผลิตภัณฑ์ ที่ให้เจ้าของสินค้า สามารถสนทนากับลูกค้าได้ในรูปแบบวิดีโอ หรือเสียงอีกด้วย
ทางด้านแพลตฟอร์มอื่นก็ไม่น้อยหน้า Linkedin ก็กำลังพัฒนาฟีเจอร์ที่จะทำให้สามารถสนทนาแบบมืออาชีพกันได้ เพื่อให้ผู้ใช้เพิ่มโอกาสในการหางานมากขึ้น และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Sportify ได้ซื้อ Betty Labs ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Locker Room ที่เป็นทางเลือกของคลับเฮาส์เช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่าทุกโซเชียลมีเดียต่างก็กระโจนเข้ามาพัฒนาระบบของตัวเองให้มีฟีเจอร์นี้กันอย่างเห็นได้ชัด เดวิดสัน หนึ่งในผู้ก่อตั้งคลับเฮาส์ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “กระแสโซเชียลบางอย่างเกิดขึ้นและดับไป เสียงเป็นสื่อที่เก่าที่สุด เราเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆ และเริ่มบทสนทนาตั้งแต่เริ่มต้นอารยธรรม ดังนั้นจึงอาจพูดได้ว่า เสียง เป็นสื่อที่ทนทาน”
ที่มา CNBC