ในปี 2016 ที่ผ่านมา การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐกลายเป็นเวทีที่ทำให้ทั้งโลกได้เห็นผลกระทบอันรุนแรงของ Fake News และการแทรกแซงด้วยเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะกรณีของ Facebook กับ Cambridge Analytica ที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ถูกนำมาใช้สำหรับการยิงโฆษณาจากฝั่งรัสเซีย ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน Fake News ก็ดูเหมือนจะยังมีอิทธิพลต่อโลกออนไลน์โดยเฉพาะการเลือกตั้งในไทยเองด้วย
ในปีหน้าหรือ 2020 นั้น สหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่า Facebook เองก็ไม่ได้ต้องการให้เหตุกาณ์แนว ๆ นี้เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง จึงได้มีการออกอัพเดทฟีเจอร์และแผนการรับมือข่าวปลอม การหาเสียงออนไลน์ที่ไม่เป็นธรรม และนโยบายเกี่ยวกับความโปร่งใสอื่น ๆ ซึ่งระบุไว้ใน Facebook Newsroom
โนโยบายความโปร่งใสในการลงโฆษณา
ก่อนหน้านี้ Facebook มีนโยบายว่าในการลงโฆษณาหรือ Boost Post นั้นจะต้องมีการระบุให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา, ใครเป็นคนลงโฆษณา รวมไปจนถึงการเปิดตัว Facebook Ad Library ที่ทำให้เราสามารถกดดูได้ว่าเพจไหนกำลังลงโฆษณาอะไรอยู่บ้าง แต่ล่าสุด Facebook ระบุเลยว่าโฆษณาที่เป็นการหาเสียงหรือเกี่ยวกับพรรคการเมืองจะต้องถูกขึ้นป้ายไว้ว่าเป็น Political Ad และขึ้นว่าใครเป็นคนบูส
แต่ปัญหาไม่ได้จบแค่นั้น เนื่องจากวิธีการเหล่านี้มันธรรมดาเกินไปสำนักข่าว Vice ได้ไปลอง Boost Post สร้างความขัดแยงดู (เป็นการทดลองที่อยู่ภายใต้การควบคุม) ปรากฏว่า เราสามารถทำโพสต์แนว ๆ โกหกว่าโพสต์นี้ถูกบูสโดยคนที่เราไม่ชอบหน้าได้ เช่น ในรูป Vice ได้แกล้งให้เหมือนกับว่า Mike Pence รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นคนบูส (เวลาคนเห็นก็จะด่า Mike Pence)
ลองนึกภาพว่ากระบวนท่าแบบนี้จะถูกนำมาใช้ทำลายล้างกันได้รุนแรงแค่ไหน แค่คิดก็น่าขนลุกแล้ว
อย่างไรก็ตาม Facebook ก็ได้เสริมเกราการป้องกันเข้ามาอีกชั้นด้วยการให้ยืนยันข้อมูลส่วนตัว ชื่อ เบอร์โทร ที่อยู่ หน่วยงาน ใบอนุญาตต่าง ๆ เป็นอันว่า Facebook รับรู้ช่องโหว่นี้และก็พยายามหาวิธีการป้องกัน
รายงานจาก The New York Times ก็พูดถึงกรณีนี้เช่นกัน และบอกว่าในช่วงเลือกตั้ง Mid-term ในปี 2018 Facebook ก็มีการจัดตั้ง war rooms เพื่อจัดการกับเนื้อหาพวกนี้ แต่ในการเลือกตั้ง 2020 นี้นั้นน่าจะยากกว่ามาก
ดังนั้นลักษณะของ Ads ที่เราเห็น ก็จะมีข้อมูลการยืนยันต่าง ๆ ที่รัดกุมมากขึ้น ไม่ใช่แค่บอกว่าคนบูสชื่ออะไร มาจากประเทศไหน รวมไปถึงจะมีการแสดงงบที่ใช้ การตั้ง Target เหตุผลที่เราเห็นโฆษณาตัวนี้เพื่อความโปร่งใสด้วย เพราะอย่าลืมว่า เราสามารถเลือกให้ Audience เฉพาะกลุ่มที่เราต้องหาร เห็น หรือไม่เห็นโฆษณาที่เราบูสได้ ซึ่งฟีเจอร์ที่ Facebook เปิดตัวมานี้จะเจาะไปจนถึงระดับรัฐเลยทีเดียว มีแผนภาพขึ้นว่ารัฐไหนเป็นกลุ่มเป้าหมายของโฆษณา
นอกจากการหาเสียงตรง ๆ นั้น การเสนอเรื่องราวในเชิงนโยบายหรือข่าวสาร ก็จะนับเป็น Political Ads ด้วยเช่นกัน เช่น กรณีการควบคุมอาวุธปืน ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ Sensitive ในการพูดถึง
การเลือกตั้งก็ใกล้เข้ามาทุกที ต้องรอชมกันว่า Facebook จะทำหน้าที่ที่ตัวเองควรทำได้ไหม เพราะไม่ใช่แค่กับสังคมแต่กับตัว Facebook เอง ในช่วง 2-3 ปีนี้ Facebook มีข่าวด้านเสีย ๆ ออกมาให้เราด่ากันเยอะเสียเหลือเกิน เวทีนี้ก็จะเป็นการพิสูจน์ตัวเองอีกครั้งของ Facebook ในการรับมือกับโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมายและความจริงประกอบสร้างที่หลอกหลอนให้เราจมอยู่ในทะเลแห่งเสียงก้องที่ไม่อาจทราบได้เลยว่าเรื่องราวที่เราได้ยินมานั้นมีเบื้องหลังอะไรอยู่บ้าง
เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER