เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา Facebook ประกาศแบนบริษัทด้าน Online Content ของประเทศฟิลิปินส์ที่ชื่อว่า Twinmark Media ซึ่ง Facebook บอกว่าละเมิดกฏข้อตกลงของ Facebook หลายข้อ ซึ่ง Facebook ก็ได้ให้เหตุผลว่า “We do not want our services to be used for this type of behavior” หรือว่า เราไม่ต้องการให้บริการของเรา (Facebook) ถูกนำมาใช้กับพฤติกรรมเช่นนี้
สำนักข่าว Rappler ของฟิลิปินส์ บอกว่าการแบนครั้งนี้เป็น Major Takedown เนื่องจากมีผลทำให้เพจจำนวน 220 เพจ บัญชีผู้ใช้ 73 บัญชี และบัญชี IG กว่า 29 บัญชี ต้องปลิวไป ซึ่งบรรดาเพจดังกล่าวที่ถูกแบนมี Follower รวมกันไม่ต่ำกว่า 43 ล้าน Follower (เยอะมาก) รวมถึงเพจอย่าง Filipino Channel Online ที่มีผู้ติดตามอยู่มากกว่า 10 ล้านคน รวมถึงเพจไวรัลอย่าง Gorgeous Me หรือ Unhappy ที่แต่ละเพจมีผู้ติดตามไม่น้อยไปกว่า 5 ล้านคน
Twinmark Media ทำอะไรผิด
สำหรับความผิดที่ทำให้ Facebook แบน Twinmark Media นั้นก็เรียกได้ว่าหลายข้อหาเลยทีเดียวตั้งแต่
- พฤติกรรมการซื้อขายเพจ เปลี่ยนชื่อเพจสลับไปมา
- การลงคอนเทนต์ spam, เนื้อหารุนแรง
- fake accounts หรือบัญชีปลอม
- การนำผู้ใช้งานเข้าไปสู่ ad farms (เว็บหลอกลวงที่มีโฆษณาเยอะ ๆ)
ซึ่งแน่นอนว่าพฤติกรรมแบบนี้เป็นวิธีการสร้างรายได้หลักให้กับ Twinmark Media ซึ่ง Facebook ก็ได้ยกตัวอย่างกรณีต่าง ๆ เช่น การลงหัวแบบ Clickbait การลง Fake News ที่มีเนื้อหา Misleading หรือสร้างความเข้าใจผิด
เอาเข้าจริงพฤติกรรมเช่นนี้ก็อาจจะเห็นได้ทั่ว ๆ ไป หลาย ๆ เพจ (ที่ไร้คุณภาพ) ก็ทำ แต่กรณีของ Twinmark Media นั้นอาจจะเหลืออด เพราทำกันเป็นขบวนการ เป็นแก๊ง Fake News เลยก็ว่าได้ แถมยังมีบริษัทใหญ่เป็นเบื้องหลัง ทำให้ Facebook นั้นติดตามตัวได้ไม่ยาก ประกอบกับทำผิดมาหลายครั้งแล้ว จึงโดน Facebook จัดการแบนบัญชีและเพจทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถ เข้าใช้บัญชี Business Account ได้ Boost Post ไม่ได้ และก็เข้าถึงเพจไม่ได้ (เพราะปลิวไปแล้ว)
กระบวนการที่ Facebook ใช้ Rappler เคยลงบทความที่ชื่อว่า Tip of the iceberg: Tracing the network of spammy pages in Facebook takedown ซึ่ง Facebook หาความเชื่อมโยงของเพจแต่ละเพจที่อยู่ในขบวนการโดยการดูจากการแชร์ลิ้งค์เดียวกันซ้ำ ๆ ในเวลาใกล้ ๆ กัน วิเคราะห์ออกมาในลักษณะของ Graph
สรุปแล้วการ Take Down ครั้งนี้ของ Facebook ก็น่าจะช่วยล้างสื่อไร้คุณภาพที่เข้าถึงคนหลักสิบล้านคนออกไปได้ เราก็หวังว่า Facebook จะมีมาตรฐานเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แต่ก็อย่าลืมว่าเคยมีกรณีดราม่าที่ New York Times ไปด่าว่า ระบบกรอง Hate Speech ไร้คุณภาพ ซึ่ง Facebook ก็ออกมาโต้ว่าไม่เป็นความจริง ระบบของ Facebook นั้นมีมาตรฐานและมีการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ ไม่ใช่แค่ใช้คนมานั่งรีวิว
ทุกวันนี้ Quality Journalism เป็นสิ่งที่ทุกคนถามหา ในโลกที่เต็มไปด้วย Fake News และ Viral Content ที่ทำเพียงแค่หวังเงิน แต่ไม่ได้สร้างคุณค่าใด ๆ ให้กับคนอ่าน เราในฐานะคนทำคอนเทนต์ คงต้องเลือกแล้วว่าเราจะอยู่ฝั่ง Quality Journalism หรือฝั่ง Poor Journalsim ที่ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับสังคมยกเว้นแต่ตัวเองเท่านั้น
เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER