“Future Trends” สื่อออนไลน์ชั้นนำด้านเทรนด์ เทคโนโลยี และธุรกิจ ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “Future Trends Ahead 2025 Presented by SCBX” พร้อมเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี และประกาศการจัดงานอัปเดตเทรนด์ระดับประเทศ “Future Trends Ahead Summit 2025” ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568
เทรนด์เป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็สามารถตามหามาอัปเดตได้ แต่เทรนด์ของไทยที่มีความเกี่ยวข้อง และนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้จริงนั้นมีไม่เยอะ การเป็น Thought Leader และกลั่นกรองเทรนด์ที่ออกมาจากคนไทย มีหนังสือรวมเทรนด์ให้คนไทยได้อ่าน สู่การเป็นหนังสือ Future Trends Ahead 2025 Presented by SCBX ขึ้นมา
เพราะเริ่มมาจากความสำเร็จของหนังสือ Future Trends Ahead 2024 ที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 18,000 เล่ม ในปี 2025 ทาง Future Trends ก็ได้ต่อยอดความสำเร็จมาสู่หนังสือ Future Trends Ahead 2025 Presented by SCBX
ในธีม ‘The Next Frontier of The Future’ รวบรวมเทรนด์สำคัญ 62 เทรนด์ จาก 13 หมวดหมู่ ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, เทคโนโลยี AI และ Blogchain, การเงิน และการลงทุน, การค้า และความยั่งยืน, การตลาด และผู้บริโภค, ศิลปะ และการออกแบบ ไปจนถึงเรื่องของทักษะอนาคต, ผู้นำ, สุขภาพ และเมืองกับไลฟ์สไตล์ พร้อมกับอัปเดตเทรนด์ใหม่ของโลกธุรกิจ เจาะลึกทุกมิติมาแชร์กัน
Trends 2025 Catch Up
สำหรับ ‘Future Predictions’ ในปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่ใครได้รู้เรื่องอินไซต์ และเทรนด์ก่อน ก็จะกลายเป็นคนที่พร้อมกว่า เพราะแก้ไขปัญหาได้เร็วกว่าคนอื่น
Trend of Economyโดย SCB EIC (ดร. ฐิติมา ชูเชิด)
เศรษฐกิจโลก
- เศรษฐกิจ Trump: 2.0 ทรัมป์จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ “America First” และขึ้นภาษีกระทบกับประเทศอื่น
- นโยบายการเงินสหรัฐฯ อาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่าที่เคยประเมินไว้ เพื่อรองรับความเสี่ยงเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
- ยูโรโซน และจีนมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยมากขึ้น ตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากผลกระทบ Trump 2.0
เศรษฐกิจไทย
- ผลจากนโยบาย Trump 2.0 เร่งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง
- GDP ไทยชะลอตัวลง และอาจไปไม่ถึง 3% โดยเฉพาะการส่งออก และการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้ครึ่งหลังน่าห่วง
- เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 เติบโตขึ้น 4% และครึ่งแรกของปีหน้าก็จะเติบโตได้อยู่ เพราะมีการเร่งออเดอร์นำเข้าจากทรัมป์มากขึ้น
- ไทยเสี่ยงสูงที่จะถูกสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าจาก Trump 2.0 ส่งผลกระทบการส่งออกไทยที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ สูง
- ปัญหา China overcapacity กดดันความสามารถการแข่งขันทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
- ทรัมป์ไม่ได้เล่นงานแค่จีน แต่เล่นงานประเทศที่เป็นทางผ่านการส่งออกของจีนด้วย ไทยจึงอยู่ในความเสี่ยงเนื่องจากอยู่ในอันดับต้นที่อยู่ในกลุ่มนี้
- ไทยได้ประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามา และมีความเนื้อความในบางอุตสาหกรรม เพราะห่วงโซ่อุปทานเปลี่ยนได้ แต่การลงทุนฝั่งการก่อสร้าง และรถยนต์ยังติดลบ จึงต้องการการปรับตัวเพื่อแข่งขันอยู่
- การลงทุนภาคเอกชนจะกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง แต่แนวโน้มการฟื้นตัวยังถูกจำกัดความเปราะบางในการผลิตภาคอุตสาหกรรม
- การผลิตอุตสาหกรรมในภาพรวมยังไม่ฟื้นตัว จากแรงกดดันอุปสงค์ในประเทศซบเซา และการเข้ามาตีตลาดของสินค้าจีน ทำให้การฟื้นตัวกระจุกตัวแตกต่างไปตามหมวดสินค้า
- มาตรการโอนเงินช่วยให้การบริโภคภาคเอกชนขายตัวดีขึ้น แต่มีผลกระตุ้นการบริโภคจำกัด เพราะเน้นประคับประคองการบริโภคของกลุ่มครัวเรือนเปราะบางเป็นหลัก
การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ
- มีเกณฑ์การแบ่งมาจากปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และการพึ่งพาทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็นทั้งขั้วน้ำเงิน และขั้วแดง ส่วนไทยอยู่ขั้วเขียว
- การแบ่งขั้วส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตแบ่งเป็น “ห่วงโซ่ขนาดเล็กหลายวง”
- หลังการแบ่งขั้วประเทศผู้นำเข้าอาจไม่สามารถนำเข้าจากคู่ค้าที่เหมาะสม เลยเลือกซื้อสินค้าจากคู่ค้าที่เหมาะสมรองลงมา แต่ไม่ได้ขัดแย้งกัน
- ไทยเสมือนกับไผ่ลู่ลม ที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ได้ แต่ก็มีบางประเทศที่สหรัฐฯ ก็สามารถเลือกประเทศอื่นที่ปรับตัวตามสถานการณ์ไผ่ลู่ลมได้เช่นกัน
- ไทยได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมรถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ที่แม้จะเด่นจริงแต่ก็มีการแข่งขันสูงเช่นกัน
- ไทยต้องออกแบบกลยุทธ์เชิงรุกของภาคส่งออก และปรับตัวตามภาคธุรกิจให้อยู่รอด
- แนวโน้มธุรกิจไทยยังมีความเสี่ยงอยู่มาก เพราะเศรษฐกิจมีการแข่งขัน และผันผวนสูง
ความเสี่ยงที่ต้องติดตาม
- การบริโภคในประเทศเปราะบาง
- Demand โลกผันผวน
- ปัญหา Geopolitics
- การกลับมาของทรัมป์ที่ส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งการค้า การลงทุน และด้านพลังงาน
- โครงสร้างการผลิตปรับตัวช้า
- การแข่งขันรุนแรงทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
- แรงกดดันจาก Mega Trends เช่น Digital disruption, Climate Change & Transition risk
Trend of Financial โดย InnovestX (สุทธิชัย คุ้มวรชัย)
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดปี 2025
- ปัจจัยบวก
- การผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก (แต่อาจช้าลง)
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแกร่ง แต่ชะลอตัวลงแบบ soft landing
- จีนมีนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งรับการเปลี่ยนแปลงของทรัมป์
- ไทยมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งปลายปี และต้นปี ช่วยผลักดันประกอบการ
- ปัจจัยลบ
- นโยบายเศรษฐกิจ และการเมืองของทรัมป์
- เงินเฟ้อลงยากขึ้น ดอกเบี้ยเลยลงได้ช้า และน้อยกว่าที่คาดไว้
- เศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำกว่าที่คาด
- ผลตอบแทนพันธบัตร และค่าเงินในตลาดธนบัตรผันผวน
- ภาวะอากาศแปรปรวน ส่งผลต่อรเื่องความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม เพราะคาดการณ์ผลผลิตเกษตร หรือเศรษฐศาสตร์ยากขึ้น
- การเมืองในประเทศ ที่มีหลาย Policy ยังไม่ชัดเจน
มุมมองการลงทุนรายสินทรัพย์ 2025
- ตราสารหุ้น: สหรัฐฯ, EM เน้น เวียดนาม อินเดีย และจีน
- ตราสารหนี้: เน้นหุ้นกู้เอกชนอายุปานกลาง 3-5 ปี เพราะผลตอบแทนจะชัดขึ้น การถือยาว ๆ อาจจะไม่เห็นผลเท่าไหร่
- ทองคำ: กระจายความเสี่ยง
ธีมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปี 2025
- Value Stock: เน้นหุ้นมูลค่าต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน ปลอดภัย และเติบโตต่อเนื่อง (AOT BBL CPALL)
- Dividend Stock: เน้นหุ้นปันผลสูง เพื่อสร้างกระแสเงินสดให้พอร์ตลงทุน (AP BCP LHHOTEL)
- Laggard Stock: เน้นหุ้นที่ราคาปรับขึ้นช้า แต่ผลประกอบการปีนี้เริ่มส่งสัญญาณบวก (BCH GPSC HMPRO)
- Mid-Small Cap Growth: ธีม high risk, high return เน้นหุ้นที่กำไรเติบโตดี และมี Upside risk (AMATA AU INSET)
Future Trends 2025 “กระแสสุขภาพ เทคโนโลยี และความยั่งยืน”
- Wellness Tourism: เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
- Sustainability: กระแสหลักของโลกเติบโตด้วย Renewable Energy และชดเชยด้วย Carbon Credit
- Sustainable Aviation Fuel: ฟ้าใสไร้มลพิษด้วยนวัตกรรมเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน
- Data Center: เกาะกระแสการใช้งานข้อมูลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- Pharmaceutical: การเติบโตของตลาดยารักษามะเร็งที่มาพร้อมความหวัง และความท้าทาย
Trend of Future Skill โดย FutureSkill (โอชวิน จิรโสตติกุล)
สิ่งที่คาดหวังในการเรียนคอร์สออนไลน์
- อัปเดตความรู้
- นำไปใช้ธุรกิจส่วนตัว
- ใช้ในการทำงานระดับสูง
ประเภทของผู้เรียนคอร์สออนไลน์
- Learn for fun: เรียนเพื่อเติมเต็ม
- Explore to new knowledge: เรียนเพื่อหาโอกาส
- Better at work: เรียนเพื่อก้าวหน้า
- Career Change: เปลี่ยนสายงาน เปลี่ยนอาชีพ
Top Learnt Courses
- 2021: Marketing & Data
- 2022: Business & Side, Hustle & Data
- 2023: Soft Skills & Data
- 2024: AI & Data
The Rise of Skill-Base
- 66% ของคนทำงานอยากจะอยู่ในบริษัทที่ให้ความสำคัญของทักษะ มากกว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ Job Description
- Skill-based Hiring: ให้ความสำคัญกับตัวบุคคลมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง Productivity ที่บุคคลนั้นต้องใช้ได้อย่างเต็มที่ในการทำงาน
- Job skills: ความสามารถที่แตกต่างกันไปตามแต่ละงาน
- Power & Innovation skills: ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีหรือสายข้อมูล แต่สามารถวิเคราะห์ มีการจัดการ และความคิดครีเอทีฟ รวมถึงแก้ปัญหาได้
- Digital & Tech skills: คนทำงานสายเทคโนโลยี และ Creative & Art ที่ถูก AI เข้ามาเร่งให้เกิดการพัฒนา
- Talent Mobility: คนอยากจะอยู่ในองค์กรที่เป็น Talent Mobility วิเคราะห์ทักษะพนักงาน และแมทช์คนเข้ากับโปรเจกต์ หรือ Position ต่าง ๆ ได้ เป็น Internal Opportunity ทำให้มี Talent Marketplace เพราะทำใ้หพนักงานรู้สึกชาเลนจ์
- Skill-based Organization: สร้าง Skill Framework และเก็บข้อมูลสกิลไปแมทช์กับข้อมูลของคน โดยตั้งต้นมาจากความเข้าใจของ HR และหัวหน้าองค์กร แต่ก็ต้องมีโปรแกรมมาซัพพอร์ต และ Performance Management ไปจนถึง Learning Culture มาเกี่ยวข้อง
Global Skill Taxonomy
- Skill-based Career Development
- Talent Acquisition and Recruitment
- Talent Mobility
- Reward, Promotion, Success Plan
- Support Components
- ใช้ Learning & Develop Program (L&D)
- กระจาย Workforce Management
- วางแผน Performance Management
- เรียนรู้ Culture
- เพิ่ม Data Driven ในการตัดสินใจได้
Future Trends Ahead Summit 2025
Event Highlight
- Future Trends Ahead Book 2025
- Thailand Ahead 2025: Shaping the Future Vision Co Create with BT beartai
- The Next Frontier of Business by New Generation
นอกจากการประกาศเปิดตัวหนังสือแล้ว Future Trends ยังได้ประกาศจัดงาน Future Trends Ahead Summit 2025 ครั้งแรกในประเทศไทยที่รวบรวมองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านเทรนด์ระดับโลกและระดับประเทศ อย่างเช่น SCB 10X, InnovestX, หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, SBDi, Ipsos, THINK NEXT ASIA (TrendWatching), FutureSkill และ aomMONEY
พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับประเทศ อย่างเช่น ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สุธีรพันธุ์ สักรวัตร Chief Customer Officer, สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ นักเขียนและผู้บริหารผู้มีประสบการณ์ทำงานในระดับโลก, พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ CEO & Founder Show No Limit (BT Beartai) และ CK Cheong CEO of Fastwork มาร่วมแชร์วิสัยทัศน์ในอนาคตไปด้วยกัน
สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ลิงก์นี้ https://bit.ly/40kZiCT
#FutureTrendsAhead2025 #FutureTrends #RAiNMaker