การเปลี่ยนไปที่รวดเร็วของยุคสมัย และเทคโนโลยีทำให้เราทุกคนเปลี่ยนแปลงไปตามอย่างช่วยไม่ได้ จนไม่รู้ตัวว่านานเท่าไหร่แล้วที่โลกของโซเชียลของเราทุกคน กลายมาเป็นการแข่งขันด้านยอดเอ็นเกจเมนต์ และสามารถสร้างรายได้ได้ RAiNMaker เลยจะพามาส่อง ‘History of Social Media’ กัน!
หากเป็นเมื่อ 20 ปีก่อนหน้า แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียนั้นเปรียบเสมือนกับ ‘friend setter’ พื้นที่แสดงตัวตน และเป็นตัวกลางพร้อมที่จะแอดเพื่อน หรือคนรู้จักให้ได้รู้จักเรามากขึ้น แต่ต้องใช้ผ่านเดสก์ท็อปเท่านั้น ทำให้ทุกคนมีเวลาที่จะออนไลน์ในแบบของตัวเอง
แต่หลังจากที่โทรศัพท์กลายเป็นสมาร์ตโฟน ก็ทำให้แพลตฟอร์มเหล่านั้นถูกย่อลงมาอยู่ในสมาร์ตโฟนเครื่องเดียวทั้งหมด แทนที่จะใช้งานเดสก์ท็อปแบบเดิม ทุกคนก็สามารถเล่นโซเชียลได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งมีผู้คนกว่า 60% ทั่วโลกที่ใช้งานโซเชียลมีเดียกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน
ในวันนี้ RAiNMaker จึงจะพาไปย้อนรอย และแกะรอยกว่าจะมาเป็นโลกโซเชียลมีเดียอย่างทุกวันนี้กัน ใครที่ทันยุคไหนก็สามารถคอมเมนต์มาพูดคุยกันได้นะ!
Social Media Evolution Logo
ก่อนจะมาเป็น “Facebook” อย่างทุกวันนี้ แน่นอนว่าไม่ได้ใช้ชื่อนี้มาตั้งแต่แรก เพราะ Mark Zuckerberg เริ่มต้นมาด้วย ‘FACEMASH’ เว็บไซต์เทียบความฮอตของผู้หญิงในตอนที่เขาเมา และอกหัก และเผยแพร่ไปยังลิสต์อีเมลของมหาลัยฮาร์วาร์ด
มาจนถึงยุค ‘thefacebook’ ที่ Mark ทำร่วมกับรูมเมทอย่าง Dustin Moskovitz, Chris Hughes และ Eduardo Saverin เป็นเหมือนกับสมุดออนไลน์ใช้สำหรับหอพักในฮาร์วาร์ด แล้วค่อย ๆ แพร่หลายไปยังคนทั่วไปแบบสาธารณะ
จนกระทั่งตัดคำนำหน้า the ออกเหลือเพียงแค่ ‘Facebook’ พร้อมเปลี่ยนชื่อโดเมน facebook.com อย่างเป็นทางการ แล้วเปิดให้กลุ่มนักเรียนมัธยมได้ใช้งานก่อนจะเปิดให้คนทั่วไปได้ใช้ พร้อมหน้าฟีดที่สามารถโพสต์รูปภาพ และดูการอัปเดตของเพื่อนใน Facebook ได้
และจากนั้น Facebook ก็เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการเป็นโซเชียลมีเดียเต็มตัว มีทั้งปุ่มเอนเกจเมนต์ไว้กดไลก์ และกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนต้องมีโปรไฟล์เป็นของตัวเอง
Instagram เริ่มจากการถูกคิดค้นมาโดย Kevin Systrom และ Mike Krieger ด้วยระบบ HTML5 เพื่อหวังให้เป็นโซเชียลมีเดียแข่งกับ Facebook แต่โฟกัสไปที่การโพสต์ และอัปเดตแบบรูปภาพมากกว่า แต่การพัฒนาก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น!
เพราะ Instagram เป็นแพลตฟอร์มแรกที่บุกเบิกเรื่องการใช้ “#” แฮชแท็กบนโลกโซเชียล และทำให้ค้นหารูปภาพ หรือโพสต์ต่าง ๆ ง่ายขึ้น พร้อมกับการเพิ่มใหเสามารถอัปโหลดวิดีโอสั้น และสตอรีตามมาได้
นอกจากนี้รูปภาพต่าง ๆ ยังสามารถรปรับแต่ง และใส่ฟิลเตอร์ได้ด้วย และเพราะความโดดเด่นการเป็นแพลตฟอร์มขวัญใจ Gen Z ทาง Mark Zuckerberg ก็ได้เข้าซื้อ และควบรวม Facebook และ Instagram เข้าด้วยกัน เพื่อแข่งขันกับ Twitter ที่ในตอนนั้นมาแรงแซงทุกแพลตฟอร์มมาก ๆ ในเรื่องของการโพสต์แบบเรียลไทม์
YouTube
YouTube ก่อตั้งโดยอดีตพนักงานบริษัท PayPal 3 คนอย่าง Chad Hurley, Steve Chen และ Jawed Karim ที่พากันจดโดเมน YouTube.com ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มรวมคอนเทนต์วิดีโอ พร้อมอัปโหลดคลิปแรกอย่าง “Me at the Zoo” ลงไปด้วย
ซึ่ง YouTube นับว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะผู้ใช้อัปโหลดวิดีโอใหม่ ๆ วันละ 65,000 คลิปเลยทีเดียว และมียอดรับชมบนเว็บไซต์กว่า 100 ล้านวิวต่อวันด้วย แซงหน้าแพลตฟอร์มอย่าง Myspace, Google Video และ MSN Video ในยุคนั้นไปเลย
จนมาถึงยุคที่ Google เข้าซื้อ YouTube และใช้ประโยชน์จากการขายโฆษณา รวมถึงพัฒนาการเสิร์ชให้ครอบคลุมมากขึ้น ก็ทำให้ YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่มั่นคงในการเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และสามารถเป็นพื้นที่สร้างรายได้ของเหล่า YouTuber มาจนถึงทุกวันนี้
X (Twitter)
ในตอนแรก “twttr” ในปี 2005 ที่ก่อตั้งโดย Jack Dorsey, Biz Stone และ Evan Williams มีการออกแบบโลโก้ที่ฉูดฉาด และดูมีชีวิตชีวาในช่วงเริ่มต้นเป็นโซเชียลมีเดีย แต่ก็มีข้อจำกัดด้านจำนวนตัวอักษร SMS ในช่วงเวลานั้นอยู่ พร้อมกับการเปิดตัวด้วยโพสต์แรกว่า “just setting up my twttr.”
ซึ่งเดิมที่ twttr ถูกออกแบบมาใช้ให้เป็น SMS ที่ 140 ตัวอักษร จากนั้นก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น “Twitter” พร้อมโลโก้ใหม่สีฟ้าที่เห็นแล้วจำได้ทันที ดูเป็นมิตร และน่าดึงดูดกว่าตอนแรก ทำให้มีผู้ใช้เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และขับเคลื่อนโพสต์ต่าง ๆ ด้วยการใช้แฮชแท็ก จนผู้คนทั่วไปหันมาใช้ Twitter และมีโปรไฟล์ของตัวเองมากขึ้น
และการเติบโตอย่างรวดเร็วก็นำไปสู่การรีแบรนด์โลโก้ใหม่อีกเรื่อย ๆ อย่างการเป็นแอปนกฟ้า และกลายเป็นไอคอนที่สร้างความไอคอนิกระดับโลก ในการเป็นแพลตฟอร์มโพสต์แบบเรียลไทม์ จนกระทั่งถูกรีแบรนด์ครั้งใหญ่ในชื่อ “X” พร้อมกับซีอีโอคนใหม่ทั้ง Elon Musk และ Linda Yaccarino ก็ทำให้ X เปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม แต่ทุกคนก็ยังคงเรียก X ว่า Twitter อยู่ถึงทุกวันนี้
The Original Social Networks
กว่าจะมาถึงยุคที่โซเชียลมีเดียหลักเหลือเพียงไม่กี่เจ้าที่ได้รับความนิยม และพูดถึงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ก่อนหน้านั้นก็มีหลายแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นจากการตั้งตัวเป็น “Social Networks” สำหรับ “Friend Setter” และการเชื่อมต่อกับผู้อื่นเท่านั้น แต่จะมีอะไรบ้างไปดู!
2003 – LinkedIn : แพลตฟอร์มเชื่อมต่อแวดวงธุรกิจ
แพลตฟอร์มที่สร้างโปรไฟล์ด้านธุรกิจ และทำให้เกิดคอนเนกชันในการหางาน หรือได้รู้จักกับสังคมใหม่ ๆ ด้วย
2003 – Myspace : แพลตฟอร์มปรับแต่งโปรไฟล์
Social Network ยุคบุกเบิกที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงนั้น แต่ในไทยจะรู้จักกับ Hi5 มากกว่า ซึ่ง MySpace ก็นับว่ามีทั้งปลั๊กอิน และการสร้างคอมมูนิตี้มากมาย และเคยอัปเดตให้ซิงก์โพสต์ไปยัง Twitter หรือ Facebook ได้ด้วย
2004 – Facebook: แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ต้องมี
Social Network ออริจินัลที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักกับปุ่มกดไลก์ และการแชร์โพสต์ หรืออัปเดตสถานะเพื่อให้คนใกล้ตัวที่ติดตามได้รู้ รวมถึงเป็นที่ ๆ สร้างโปรไฟล์ของตัวเองให้คนอื่นมารู้จักด้วย
2005 – YouTube: แพลตฟอร์มคอนเทนต์วิดีโอ
แหล่งรวมคอนเทนต์วิดีโอที่ผู้ใช้ทุกคนแข่งกันอัปโหลด และแชร์กัน ที่ในตอนนี้กลายเป็นทั้งสตรีมมิง พื้นที่โฆษณา และมียอดวิวเป็นหนึ่งในเอนเกจเมนต์ที่สำคัญในการวัดผลลพธ์ของการเป็นครีเอเตอร์ด้วย
2005 – Reddit: แพลตฟอร์มรวมคอมูนิตี้ด้วยตัวอักษร
พื้นที่รวบรวมคำถาม และการสนทนา ซึ่งแม้จะไม่เน้นภาพ หรือวิดีโอ แต่ก็ได้รับความนิยมในต่างประเทศมาก ๆ เนื่องจากเต็มไปด้วยกระทู้คำถามที่คนในคอมมูนิตี้นั้นสามารถมาตอบ และแสดงความเห็นได้เช่นเดียวกับ Pantip
The Microblogging Era
ถัดจากยุคโซเชียลมีเดีย ก็เข้าสู่ยุคที่ผู้คนต้องการการอัปเดตที่รวดเร็ว อ่านง่าย และสั้นได้ใจความในเวลาไม่กี่นาทีเข้าไปแล้ว รวมถึงยังเป็นยุคที่การโต้ตอบ หรือแสดความคิดเห็นเป็นโมเมนตัมสำคัญของแพลตฟอร์มประเภทนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น X (Twitter), Threads, Tumblr, Mastodon, Bluesky, Instagram
2006 – Twitter หรือ X: แพลตฟอร์มอัปเดตแบบเรียลไทม์
ไมโครบล็อกกิงแบบเรียลไทม์คอมมูนิตี้ที่มีหลายหัวข้อให้อัปเดตทุกวินาที และผู้คนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการรีโพสต์ หรือรีพลายตามความสนใจ
2007 – Tumblr: แพลตฟอร์มสำหรับ Niche Fandom
ไมโครบล็อกกิงสำหรับคอมมูนิตี้แบบ niche fandom ที่ได้รับความนิยมในอเมริกา โดยสามารถอัปโหลดทุกอย่างได้เหมือนกับ Twitter ยุคนั้น ทำให้เป็นคู่แข่งสำคัญของ Twitter เลยทีเดียว
The Visual & Mobile Era
จากยุคโซเชียลมีเดีย มาถึงยุคไมโครบล็อกกิง และยุคที่ผู้คนชอบที่จะเสพคอนเทนต์ที่มีวิชวลมากกว่า ทำให้แพลตฟอร์มที่โฟกัสคอนเทนต์แบบรูปภาพ หรือวิดีโอมีความได้เปรียบมากขึ้น
2010 – Instagram: แพลตฟอร์มโพสต์วิชวล
แหล่งอัปโหลดรูปภาพ หรือสตอรี และวิดีโอทั้งสั้น หรือยาวขวัญใจ Gen Z ให้เหมือนกับการบันทึกไดอารี่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโพสต์เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์เพื่อแสดงถึงตัวตนของแอ็กเคานต์นั้น ๆ
2010 – Pinterest: แพลตฟอร์ม photo-dominating
พื้นที่รวม Reference ทั้งด้านแฟชั่น งานกราฟิก เฟอร์นิเจอร์ที่สายออกแบบมักจะชอบมาลงผลงานเป็นคอลเลกชัน หรือบางคนก็ชอบที่จะมาเสพผลงาน และหาไอเดียนพไปต่อยอดครีเอทีฟได้
2011 – Snapchat: แพลตฟอร์มที่โพสต์ชั่วคราว
แอปเดียวที่ยังคงคอนเซปต์โพสต์ชั่วคราวที่ใครทันก็เห็น แต่ถ้าไม่ทันก็ไม่เห็น ซึ่งได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นอเมริกาเป็นอย่างมาก
2011 – Twitch: แพลตฟอร์มบรอดแคสต์ไลฟ์สตรีม
แหล่งสตรีมมิงชั้นดีสำหรับนักสตรีมเกม เพราะ Twitch รองรับการไลฟ์ที่เสถียร และสร้างคอมมูนิตี้สำหรับคนติดดูไลฟ์ได้
2013 – Vine: แพลตฟอร์ม Short Video
แอปอัปโหลดวิดีโอยุคบุกเบิกก่อนจะมี TikTok ที่เน้น short-form วิดีโอ และเต็มไปด้วยคอนเทนต์สร้างสรรค์มากมายที่กลายเป็นไวรัล หรือมีมในตอนนั้น
2014 – Musical.ly: แพลตฟอร์มคอนเทนต์ short lip-sync
แอปที่คนทั่วโลกต่างพากันลิปซิงก์เพลงดัง และกลายเป็นเทรนด์ที่วัยรุ่นอเมริกาเล่นกัน พร้อมกับเป้นแหล่งกำเนิดเหล่าเซเลป และอินฟลูเอนเซอร์มากมายด้วย
2015 – Discord: แพลตฟอร์มไลฟ์แชต
พื้นที่แชต และทำความรู้จักกันสำหรับเหล่าเกมเมอร์ที่ชอบไลฟ์สตรีม และอยากสร้างคอมมูนิตี้ โดยการพูดคุยผ่านการแชต หรือวอยซ์ข้อความเสียงได้นานหลายชั่วโมง
2016 – TikTok: แพลตฟอร์มวิดีโอ short-form
แพลตฟอร์มจากจีนที่ฮิตที่สุดสำหรับคนทุกเจน ที่ไม่ว่าจะเต้น ร้องเพลง แสดงละครคุณธรรม หรือความชอบแบบ niche market ก็สามารถแสดงตัวตน และครีเอทีฟคอนเทนต์ได้เต็มที่
2020 – Clubhouse: แพลตฟอร์ม Audio Chat
แอปที่คนชอบพูด และคนชอบฟังมารวมกัน ซึ่งได้รับความนิยมมากในช่วงโควิด ที่ให้ผู้ใช้ตั้งหัวข้อในการพูดคุยเป็นห้อง และเปิดสาธารณะให้คนมาร่วมฟังได้ พร้อมระบบยกมือในการถาม หรือเชิญขึ้นมาร่วมพูดได้ด้วย
2020 – BeReal: แพลตฟอร์มแชร์รูปในชีวิตประจำวัน
แอปแชร์รูปภาพที่ตั้งใจสร้างมาเพื่อโอบรับความเป็นตัวเอง และความแตกต่างเหมือนกันของทุกคน เพราะรูปภาพที่ถูกโพสต์ลงแอปนี้จะมีแต่ความเรียล ไม่ผ่านการแต่ง หรือปรับ และใส่ฟิลเตอร์เลย
2020 – Lemon8: แพลตฟอร์มแชร์ไลฟ์สไตล์
แอปไลฟ์สไตล์ที่ต้อนนี้เป็นแหล่งรวมเหล่าอินฟลูเอนเซอร์สายรีวิว ไม่ว่าจะเป็นการรีวิวทั้งเที่ยว กิน หรือว่าแหล่งชอปปิง และที่พักก็ตามมีครบหมด
Social Media Situations
จากการเติบโตของโซเชียลมีเดียในแต่ละยุค ก็มีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าซื้อกิจการเพื่อควบรวมกัน หรือการรีแบรนด์ใหม่ครั้งใหญ่ก็ตาม
2007 – iPhone เปิดตัว และเริ่มเข้าสู่โลกโซเชียลบนมือถือ
เพราะการมี iPhone ก็ทำให้ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไป ใช้เวลาในการไถหน้าจอ และอยู่กับโลกโซเชียลบนมือถือมากขึ้น
2012 – Facebook เข้าซื้อ Instagram
การควบรวม 2 แพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Instagram แพลตฟอร์มที่เน้นคอมมูนิตี้เหมือนกัน แต่มีรูปแบบต่างกัน ก็เพื่อทำให้ได้ฐานผู้ใช้มาเชื่อมโยงกันมากขึ้น
2012 – Twitter เข้าซื้อ Vine แบบ pre-launch
เมื่อ Vine ได้รับความนิยมลดลง แต่ Twitter ก็มองว่าคอนเทนต์วิดีโอก็สามารถไปต่อได้ จึงได้รวมคอมมูนิตี้กับ Vine มาแชร์ลง Twitter ได้ด้วย
2017 – Vine ปิดตัวลง
แต่เพราะตอนนั้นผู้คนยังไม่ได้ให้ความสนใจกับคอนเทนต์วิดีโอมากนัก Vine จึงต้องปิดตัวลง
2017 – ByteDance เข้าซื้อ TikTok และ Musical.ly.
หลังจากยุคบุกเบิกของคอนเทนต์วิดีโอที่มีทั้ง Vine และ Musical.ly. แต่ Vine ปิดตัวไป ก็ทำให้บริษัท ByteDance เริ่มที่จะเข้าสู่ตลาดนี้ โดยการทำให้คอนเทนต์วิดีโอบูมขึ้นมา
2018 – TikTok และ Musical.ly. รวมกัน
เมื่อ TikTok และ Musical.ly. รวมกัน ก็ทำให้คอนเทนต์มีความหลากหลายมากขึ้น เลยทำให้มีทั้งคอนเทนต์ขายของ ร้อง หรือแม้แต่ parody ก็ได้รับเอนเกจแตกต่างกันไป
2021 – Facebook เปลี่ยนชื่อเป็น Meta
หลังจาก Facebook และ Instagram รวมกัน และอยากจะพัฒนาเรื่อง AI มากขึ้น ก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Meta เพื่อหวังจะเริ่มเข้าสู่โลก Metaverse
2023 – Meta เปิดตัวแอป Threads
เมื่อโลก Metaverse ไม่ได้เป็นไปตามที่หวัง และ Meta ต้องการที่จะแข่งกับ Twitter ที่กำลังซบเซาเพราะเปลี่ยนซีอีโอใหม่ ก็เลยเปิดตัว Threads แพลตฟอร์มที่เน้นการโพสต์ข้อความ และเรียลไทม์ รวมถึงแฮชแท็กเหมือนกัน
2023 – Twitter รีแบรนด์เป็น X
เมื่อยุคนกฟ้าจบลง เปลี่ยนมาสู่ยุคตัว “X” ที่สื่อถึงความโมเดิร์น และเรียบง่ายมากขึ้น ก็ทำให้ผู้ใช้หลายคนขาดความคุ้นชิน รวมถึงมีการเปลี่ยนผ่านจากศูนย์รวมคอมมูนิตี้ไปสู่พื้นที่โฆษณา และมีความเป็นธุรกิจมากขึ้น เพราะถูกบริหารโดย Elon Musk จนคนหันไปใช้ “Bluesky” แอปคู่แข่งที่ทำให้คิดถึง Twitter มากกว่า
บทสรุปของ History of Social Media ก็คงเห็นได้ชัดว่าแพลตฟอร์มมีการเปลี่ยนแปลง และเติบโตไปมากน้อยแค่ไหน จากแหล่งสร้างโปรไฟล์ธรรมดา ไปสู่สนามคอนเทนต์ที่เหล่าครีเอเตอร์ แบรนด์ และเอเจนซีให้คุณค่ากับยอดเอนเกจเมนต์ เพื่อหวังสร้างเป็นรายได้หลัก
ตอนนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคงไม่ใช่เรื่องที่แพลตฟอร์มไหนจะอยู่ได้รอดได้นานกว่าเท่านั้น แต่แพลตฟอร์มไหนจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความคุ้มค่า หรือยังคงเอกลักษณ์ให้ผู้ใช้อุ่นใจ และอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกมากกว่าด้วยนั่นเอง
ที่มา: https://www.socialchamp.io/blog/history-of-social-media/
https://inspiramarketing.com/social-media-evolution-the-past-present-and-future-of-social-marketing/