7 สิ่งสร้างเอ็นเกจเมนต์บน Reels ของ Facebook ฟังก์ชันที่แบรนด์และครีเอเตอร์ควรรู้

Reels คือฟีเจอร์ที่ผู้คนมักจะคุ้นเคยดีว่าอยู่บน Instagram แต่คราวนี้ Reels สามารถไปแชร์บน Facebook ได้แล้ว ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มยอดเอ็นเกจเมสต์ให้กับครีเอเตอร์แล้ว ผู้ชมยังสามารถสนุกกับคอนเทนต์วิดีโอสั้นได้ทั้ง 2 แพลตฟอร์มด้วย วันนี้ทาง RAiNMaker เลยอยากจะพามาทำความรู้จัก Reels บน Facebook ให้มากขึ้น ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ตามไปเช็กกันเลย!

เพราะเป็นปีแห่งคอนเทนต์วิดีโอสั้น หลาย ๆ แพลตฟอร์มเลยพยายามหาแนวทางสร้างเครื่องมือ แะลฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคชอบไถฟีดคลิปสั้นมากขึ้น

ซึ่ง Facebook เองก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เริ่มปรับตัวให้สมน้ำสมเนื้อกับ TikTok ด้วย เพราะนอกจากจะแชร์ Reels จาก Instagram มาลงเพื่อเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ของตัวเองได้แล้ว Facebook ก็ยังสร้างคอนเทนต์ Reels ออริจินัลของตัวเองเป็นอีกฟีเจอร์หนึ่งได้ด้วย

โดยการเข้าถึง Reels ของ Facebook มี 3 ทาง ดังนี้

  1. Top of feed: เข้าถึง Reels ทางหน้าฟีดหลังจากเข้าแอป Facebook มา ซึ่งจะเป็นแถบที่มีคอนเทนต์วิดีโอ Reels เรียงต่อ ๆ กันอยู่ พร้อมกับมีเทมเพลตให้สร้างคลิป (Create Reels) อยู่ด้านหน้าคลิปของผู้ใช้คนอื่นด้วย ‘
  2. Menu > Reel: เข้าถึง Reels ด้วยหน้าเมนู หรือปุ่มไอคอนรูปขีดสามขีดด้านล่างของบาร์หน้าเมนู Facebook จากนั้น เข้าไปเลือกที่เมนู Reels เพื่อสร้างคอนเทนต์ได้เลย
  3. New Page > Experience > Reel: เข้าถึงหน้า Reels จากหน้า New Page Experience ที่แยกออกมาจากหน้าโปรไฟล์ไปยังเพจ แล้วเลือกไปที่ Reels ได้

Like Reels 

การไลก์คอนเทนต์ที่ชอบ 

เพราะการไลก์อยู่คู่มากับ Facebook อย่างยาวนาน ซึ่งก็ตามมาอยู่บน Reels ของ Facebook เองด้วย (Reels ของ Instagram จะเป็นการกดหัวใจ) จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นฟังก์ชันเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์แบบออริจินัลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนั่นเอง 

และยังเป็นการสร้างยอดเอ็นเกจเมนต์ที่ง่ายที่สุดด้วย เพราะหากสามารถผลิตคอนเทนต์ให้เป็นที่ชื่นชอบได้ คุณก็จะได้การกดไลก์เป็นสิ่งตอบแทน

Comment Reels 

คอมเมนต์เพื่อเพิ่มบทสนทนาโซเชียล 

ถัดมาจากการกดไลก์บน Reels อีกระดับหนึ่ง การที่ทำให้ผู้คนหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถอยากที่จะมีส่วนร่วมผ่านการคอมเมนต์ได้นั้นไม่ง่ายเลย เพราะการคอมเมนต์จะถูกประมวลมาจากความรู้สึกนึกคิดของพวกเขาอย่างจริงใจไม่ว่าจะเป็นคอมเมนต์ในแง่ใดก็ตาม

ฉะนั้นการตั้งเป้าหมายคอนเทนต์ที่ถูกเผยแพร่ไปแล้ว และมียอดเอ็นเกจเมนต์ที่นับรวมการคอมเมนต์ด้วย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์หรือเหล่าครีเอเตอร์จะขาดไม่ได้!

Remix Reels 

คอลแลปกับครีเอเตอร์ช่องอื่น 

หากใครที่เข้า Reels ใน Facebook บ่อย ๆ แล้วเห็นจุดไข่ปลาสามจุด ถือเป็นไอคอนที่มีทั้งโอกาสและการตัดโอกาสเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นไอคอนที่มี 2 ตัวเลือกให้กับผู้ใช้

นั่นก็คือ ‘See Less’ ตัวเลือกที่ทำให้เห็นคอนเทนต์ประเภทนี้ หรือคอนเทนต์ช่องนี้น้อยลง และ ‘Remix’ ที่สามารถให้ครีเอเตอร์รีมิกซ์คอนเทนต์ของตัวเองได้ 

Share Reels 

แชร์ไปยังกลุ่มหรือไทม์ไลน์ได้ 

นอกจากการไลก์ และคอมเมนต์ที่แสดงถึงความชอบแล้ว การแชร์ไปยังโซเชียลมีเดียหรือหน้าฟีดไทม์ไลน์ต่าง ๆ ก็สะท้อนให้เห็นได้ความนิยมของคอนเทนต์นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

เพราะสำหรับมุมมองกลุ่มเป้าหมายแล้ว การไม่ได้รู้สึกชอบหรืออินกับคอนเทนต์นั้นจริง ๆ ก็จะทำเพียงแค่ไลก์หรือปัดผ่านไปก็ได้ แต่หากคอนเทนต์ของคุณมีความแปลกใหม่ สร้างสรรค์จนดึงดูดความสนใจมากพอ พวกเขาจะอยากแชร์มันออกไปเอง

Effect Reels 

ใส่เอฟเฟกต์เพิ่มความปัง 

ในยุคที่มีเอฟเฟกต์และสติ๊กเกอร์มากมายให้เลือกสรร คอนเทนต์ที่ปราศจากลูกเล่นเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนกับขนมปังที่ไม่มีแยมทา เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ประเภทไหนก็อย่าลืมที่จะใส่ลูกเล่นให้ดูมีอะไรอยู่เสมอ 

โดยเฉพาะกับคอนเทนต์วิดีโอสั้นที่ต้องดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายในเวลา 3-7 วินาที ยิ่งต้องทำให้โดดเด่นท่ามกลางทะเลคอนเทนต์ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟกต์ที่แต่งภาพ หรือเอฟเฟกต์ที่สร้างมูฟเมนต์เพิ่มก็ตาม แต่ควรเลือกหยิบมาใช้ให้เข้ากับคอนเทนต์ด้วยนะ

Profile Reels 

กดเข้าไปดูโปรไฟล์เพื่อติดตาม 

ถือเป็นเรื่องที่ดีที่แพลตฟอร์มนำโปรไฟล์แอคเคานท์มาไว้ตรงชื่อเจ้าของคลิปด้วย เพราะหลังจากที่ผู้คนในโซเชียลเห็นคลิปแล้วรู้สึกชอบจนอยากติดตามครีเอเตอร์ที่สร้างคลิปขึ้นมา ก็สามารถแท็บไปยังรูปโปรไฟล์หรือชื่อของครีเอเตอร์โดยตรงได้เลย เรียกได้ว่าเป็นอีกฟังก์ชันหนึ่งที่จะเพิ่มยอดผู้ติดตามให้กับครีเอเตอร์หรือแบรนด์ไปในตัวด้วย

Audio Reels 

ใส่เสียงเพิ่มเพลงดึงดูดความน่าสนใจ

ตั้งแต่มีเทรนด์หรือชาเลนจ์ต่าง ๆ ใน TikTok เสียงเพลงหรือเสียงพากย์ก็กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนหยุดไถฟีดเพื่อดูคลิปเลยก็ว่าได้

เพราะนอกจากคอนเทนต์หรือภาพที่จะต้องมีความน่าสนใจในตัวแล้ว เพลงหรือเสียงที่ใช้พากย์แยกเองทีหลังก็จะช่วยดึงดูดความสนใจคอนเทนต์มากขึ้นไปอีก

แต่ก็ควรระวังเรื่องการตามเทรนด์ด้วย เพราะขึ้นชื่อว่าเทรนด์ เพลงที่ใช้มักจะซ้ำ ๆ กันทุกคอนเทนต์เนื่องจากเป็นเทรนด์ในช่วงนั้น ดังนั้นจึงมีสิทธิ์ที่คอนเทนต์ของเราจะจมหายไปกับเทรนด์ได้ ซึ่งทางที่ดีก็ควรทดลองและกล้าที่จะสร้างเอกลักษณ์ใหม่ ๆ ให้กับคอนเทนต์ด้วยนะ

จาก 7 สิ่งสร้างเอ็นเกจเมนต์บน Reels ของ Facebook ที่ได้กล่าวมา เป็นสิ่งที่แบรนด์และครีเอเตอร์ควรให้ความสำคัญ เพราะการมีเครื่องมือคอยซัพพอร์ตบนแพลตฟอร์มอาจจะไม่เพียงพอ

เพราะเรายังคงต้องแข่งขันกันอยู่ในตลาดคอนเทนต์กับคนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร การนำไปประยุกต์ปรับใช้ในภายหลังตามแบบฉบับของคุณจะเป็นตัวกำหนดเอง

ที่มา: Facebook – #ReelsTH Masterclass

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save