“Social Media” เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มที่ทำให้หลาย ๆ คนมาเชื่อมต่อกัน เพราะยเป็นพื้นที่ที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนได้แสดงตัวตน หรือความเป็นตัวเองออกมาเต็มที่ด้วย และต่อให้โลกจะกว้าง หรือเราแตกต่างแค่ไหนก็จะมีกลุ่มนบางกลุ่มชอบ หรือสนใจสิ่งเดียวกันกับเราอยู่ วันนี้ RAiNMaker เลยอยากมาแชร์การสร้างคอมมูนิตี้ สำหรับทั้งครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ แบรนด์ และเอเจนซีให้รู้กัน!
ในปัจจุบันตอนนี้ก็มีเพียงแค่แพลตฟอร์ม 4 เจ้าเท่านั้นที่ครองตลาดโซเชียลมีเดีย และไม่ว่าจะเป็นครีเอเตอร์หรือแบรนด์ ต่างก็ต้องตัดสินใจเลือกแพลฟตอร์มเหล่านี้ให้กลายเป็นบ้าน สร้างคอนเทนต์ และสร้างยอดเอ็นเกจเมนต์ให้ผู้คนรู้จัก
แต่ไม่ว่าบ้านหลังนั้นจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok หรือ X (Twitter) ต่างก็มีวิธีสร้างคอมมูนิตี้อยู่ ซึ่งใครที่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนบ้าง เราสรุปมาให้แล้วที่นี่
แพลตฟอร์มที่สร้าง และสะสมคอมมูนิตี้ได้เร็วที่สุด เพราะเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยุคบุกเบิกที่มีผู้ใช้งานแอ็กทีฟเยอะที่สุด แถมยังมีทั้งการโพสต์ลงเพจ และ Reels หรือจะไลฟ์ก็ทำได้ การเริ่มต้นสร้างคอมมูนิตี้จาก Facebook หรือ Meta ในปัจจุบันจึงเป็นจุดสตาร์ทที่ง่ายที่สุด
Facebook Live
ไลฟ์พูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย
ยุคที่มีภาพ และเสียงมักจะเข้าถึงคนได้มากกว่า ไม่ใช่แค่คอนเทนต์วิดีโอสั้นเท่านั้น แต่กับการไลฟ์ก็เช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้ดูเข้าถึงง่ายมากกว่าตัวอักษรที่โพสต์ลงเพจแล้ว ยังทำให้ได้รู้จักตัวตนของเรามากขึ้น และตกคนมาเป็นคอมมูนิตี้ได้
ถ้าเป็นครีเอเตอร์ก็สามารถไลฟ์พูโคุยเพิ่มความเอ็กซ์คลูซีฟได้โดยตรงเลย แต่หากเป็นแบรนด์ก็สามารถหาอินฟลูเอนเซอร์ หรือคนที่เหมาะจะเป็นผู้สื่อสารมาโน้มน้าว ทำให้รู้จักความเป็นแบรนด์มากขึ้นก็ได้เช่นกัน
Facebook Group
สร้างกลุ่มหาคนชอบแบบเดียวกัน
การรวมกลุ่มที่มีแต่ผู้คนที่ชอบอะไร ๆ เหมือน ๆ กัน แน่นอนว่าก็สามารถเรียกหนึ่งคอมมูนิตี้ได้อย่างเต็มปาก ซึ่งการสร้างกลุ่มบน Facebook Group จะทำให้เรารวมคนที่ชอบ และสนใจในทิศทางเดียวกันได้ และต่อให้กลุ่มนั้นจะมีเป็น Niche Market แต่ก็ทำห้เราได้รู้จักกับคนกลุ่มนั้นจริง ๆ
ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นครีเอเตอร์ หรือแบรนด็สามารถสร้างกลุ่มไว้ทำคงามรู้จักกลุ่มเป้าหมายของตัวเองมากขึ้นได้ โดยเปิดโอกาสให้พวกเขาแชร์ โพสต์ และแสดงความคิดเห็นเพื่อส่องอินไซต์ โดยไม่ได้มีกลุ่มไว้เพื่อโพสต์ขาย หรือลงคอนเทนต์ฝั่งตัวเองฝ่ายเดียว
Broadcast Channel
ส่งความเอ็กซ์คลูซีฟถึงแชตใน Messenger
การบรอดแคสต์ข้อความนับเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ไทยพึ่งจะใช้งานได้ไม่นาน ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่เหมือนกับดาบสองคม เพราะมีข้อดีที่ทำให้ส่งความเอ็กซ์คลูซีฟ ไม่ว่าจะเป็นการอัปเดต หรือโปรโมชันสำหรับแบรนด์ และใช้เป็นช่องทางทักทายพูดคุย หรืออัปเดตตารางการทำงานต่าง ๆ สำหรับครีเอเตอร์ และแฟนคลับ
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะอยากได้รับข้อความแบบสุ่ม ๆ ฉะนั้นก่อนจะใช้ฟีเจอร์นี้ต้องคิดให้ถี่ถ้วนว่าคุ้มค่าไหมที่จะบรอดแคสต์ข้อความเพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักเรามากขึ้น ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหายไปเพราะไม่ชอบวิธีการสื่อสารแบบฟีเจอร์นี้
เมื่อผู้ติด = คอมมูนิตี้ และคอมมูนิตี้ = ผู้ติดตาม ก็ทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลสายไลฟ์สไตล์อย่าง Instagram มีจุดแข็งอย่างการรวมความสนใจในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกันได้ง่ายกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพราะทุกคนล้วนมีสไตล์การบันทึกผ่านการโพสต์รูป วิดีโอ และสตอรีเป็นของตัวเอง แม้กระทั่งแบรนด์ต่าง ๆ ก็มีพาวเวอร์ด้านการตลาดสูง หากมีมู้ดโทนที่ชัดเจนพอด้วย
Cross-Post Reels (Facebook + Instagram)
ตกกลุ่มเป้าหมายใหม่จาก Reels ได้
ตั้งแต่ Facebook และ Instagram มาควบรวมกันกลายเป็น Meta ถือว่าทำให้ครีเอเตอร์ หรือแบรนด์ที่มีบ้านอยู่แล้วทั้ง 2 หลังจากแพลตฟอร์มนี้ ทำให้ทำการตลาดแบบ Cross-Post Reels ได้ง่ายขึ้น เพราะหลังบ้านสามารถตั้งค่าให้แชร์สตอรี โพสต์ หรือ Reels บน Instagram ไปยัง Facebook ง่ายขึ้น
ซึ่งแม้ทั้ง 2 แพลฟตอร์มอาจจะมีความต่างกันเรื่องอัลกอริทึม หรือกลุ่มเป้าหมายบ้าง แต่นี่ก็นับว่าเป็นโอกาสเพิ่มการมองเห็นแบบยิงนัดเดียวได้นก 2 ตัวอยู่ดี แถมยังเป็นการประหยัดเวลาในการโพสต์ที่ไม่ต้องมีการก็อปวาง หรืออัปโหลดคอนเทนต์ใหม่อีกครั้งหนึ่งด้วย
Feature Accounts
มีคอนเทนต์จากหลายแอคเคานท์รวมกันในที่เดียว
ในปัจจุบันการมีแอคเคานท์ Instagram แบบเดียวอาจจะธรรมดาเกินไป เพราะสิ่งที่เรียกว่า “Feature Accounts” กำลังมาแรง และถือว่าเป็นวิธีที่รวมคอมมูนิตี้ตามที่ต้องการได้ง่าย และเร็วที่สุด ด้วยการรวมหลายคอนเทนต์ไว้ในแอคเคานท์เดียว
แต่ก่อนจะเริ่มต้องมองให้ขาดก่อนว่าแอคเคานท์ที่เราจะสร้างนั้นควรเก็บโพสต์ที่เป็นมู้ดโทนแบบไหน แล้วกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร หลักจากทำความเข้าใจแล้วก็ต้องหาโพสต์จากแอคเคานท์อื่น ๆ มาโพสต์รวมลงด้วยกัน และแน่นอนว่าต้องอย่าลืมให้เครดิตเจ้าของภาพจริงด้วย
ซึ่งการทำแบบนี้ก็เหมือนกับรวมคอนเทนต์ในลักษณะเดียวกันมาไว้ด้วยกัน เช่น แอคเคานท์ท่องเที่ยวก็เก็บภาพโพสต์สถานที่ท่องเที่ยวมารวมกัน ก็จะดึงดูดคนที่ชอบเที่ยวเหมือนกันมาในคอมมูนิตี้นี้ให้กดติตดามง่าย
โดยแบรนด์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ด้วยการสร้างแคมเปญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายโพสต์ และนำมารวมกันลงในแอคเคานท์ของแบรนด์ก็ย่อมได้ ซึ่งแบรนด์อาจไม่ต้องทำคอนเทนต์เอง แต่สร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายอยากโพสต์ และได้เจอโพสต์ตัวเองมาอยู่ในแอคเคานท์ของแบรนด์เลย เป็นต้น
#Hashtag List
ลิสต์แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับช่อง และแบรนด์
แฮชแท็กเป็นอีกส่วนประกอบสำคัญที่ Instagram ให้ความสำคัญมาก แต่ต้องไม่ใช่แฮชแท็กทั่วไปที่มีคนใช้เป็นล้าน และแทบจะหาคอนเทนต์ของตัวเองไม่เจอใน Red Ocean เช่น #love #travel #happy เป็นต้น
ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นครีเอเตอร์ หรือแบรนด์ก็ควรรีเสิร์ชการสร้างแฮชแท็กว่าซ้ำกับใครไหม ซึ่งหากเป็นแฮชแท็กที่ใหม่มาก มีเฉพาะแบรนด์ที่ใช่ก็ย่อมดีกับการใช้ในระยะยาวมากกว่า
เพราะแบรนด์จะได้มีแฮชแท็กของตัวเองจริง ๆ ไม่ซ้ำใคร และเมื่อผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายนึกถึงก็จะใช้แฮชแท็กนี้ เกิดเป็นภาพจำแบรนด์ในโลกโซเชียลได้
TikTok
แม้ TikTok ที่เป็นแพลตฟอร์มให้ความบันเทิงจะไม่ได้มีการรวมคอมมูนิตี้ชัดเจนเท่ากับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่สร้างกลุ่ม หรือส่งบรอดแคสต์ข้อความมาได้ แต่เอกลักษณ์ และคาแรกเตอร์ของครีเอเตอร์ และแบรนด์เองนั่นแหละ ที่จะช่วยสร้างคอมมูนิตี้ได้โดยตรง แต่ก็มีองค์ประกอบบางอย่างที่จะช่วยเพิ่มการมองเห็นได้ แต่ในขณะเดียวกันการแข่งขันก็สูง เพราะทุกอย่างบน TikTok ล้วนเป็นไวรัลได้หมด
#Hashtag Trends
จอยคอมมูนิตี้ TikTok กับเทรนด์ไวรัล
สิ่งแรกที่จะทำให้คุณรู้สึกว่าได้เข้าร่วมกับคอมมูนิตี้ต่าง ๆ ได้ง่ายที่สุด นั่นก็คือการใส่แฮชแท็กตรงแคปชันของทุกคอนเทนต์ เพื่อเป็นการจัดหมวดหมู่คอนเทนต์ และดึงดูดให้กลุ่มคนที่สนใจได้มาเจอ เมื่อกดเข้าไปส่องคอนเทนต์ในแฮชแท็กนี้
ฉะนั้นการเล่าเรื่องผ่านคอนเทนต์ภายในคลิป รวมถึงชื่อคลิป และปกคลิปที่เลือกให้น่าดึงดูดจึงสำคัญด้วย ว่าจะทำให้พวกเขาอยากกดเข้าไปดูหรือไม่
Trending Songs & Challenges
ส่องคอมมูนิตี้คอนเทนต์จากเพลง และชาเลนจ์ฮิต
TikTok มักถูกเข้าใจว่ามีแต่คนที่ชอบเต้น และชอบร้องเพลงมาเล่น ซึ่งนั่นเป็นเพียงความจริงเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะโลกของ TikTok นั้นกว้างกว่าที่ใครหลายคนคิด และมีครีเอทีฟคอนเทนต์หลากหลายคาแรกเตอรจากคนทั่วโลกมาก ๆ
แต่การสร้างคอนเทนต์ที่มีเพลงฮิต หรือชาเลนจ์ที่ฮิตในตอนนั้นร่วมด้วยจะเพิ่มความสนใจให้ชาว TikToker ที่มาพบเห็นมากกว่า เพราะอะไรที่เป็นเทรนด์ และเป็นกระสอยู่ยังไงก็ต้องมีคนมาค้นพบ และยังส่งผลให้ภาพลักษณ์ของครีเอเตอร์ หรือแบรนด์ดูตามเทรนด์อยู่ตลอดด้วย
Collaboration
คอลแลบกับครีเอเตอร์หาตลาดใหม่
บางครั้งการอยากได้กลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ มากดติดตาม ก็ต้องเข้าไปเยือนถิ่นที่พวกเขาอยู่ด้วย เพราะมไ่ว่าคุณจะเป็นครีเอเตอร์ หรือแบรนด็ การคอลแลบก็นับเป็นตัวเลือกที่ดีในการไปพบปะคอมมูนิตี้ใหม่ ๆ และเกิดการมิกซ์กันในแบบที่ไม่คาดคิดมาก่อนได้
และการจะทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองว่าควรจะคอลแลบกับใครแล้วปัง และมีอะไรที่ระหว่างเรา และอีกฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยน และมิกซ์ด้วยกันได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องการทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายของอีกฝ่ายด้วยนั่นเอง
X (Twitter)
โดยปกติแล้วแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมักจะมีฟีเจอร์ และฟังก์ชันที่เอื้อต่อการสร้างคอมมูนิตี้ แต่สำหรับ X (Twitter) ก็คือแหล่งที่ที่คอมมูนิตี้ถูกสร้างขึ้นเลยก็ว่าได้ และต่อให้ความสนใจจะเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) มากแค่ไหน แต่ X จะทำให้เราเจอคนที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กันง่ายกว่าทุกแพลตฟอร์ม
ด้วยอัลกอริทึมที่เอื้อต่อการไถฟีดง่าย และแพร่กระจายง่ายทั้งจากการกดรีโพสต์ หรือโควทก็ยิ่งทำให้แต่คอมมูนิตี้มีการเติบโตได้รวดเร็ว แต่การที่ครีเอเตอร์ หรือแบรนด์จะเข้าไปอยู่ในคอมมูนิตี้หนึ่งบน X ได้ ก็ต้องทำตัวเองให้กลายเป็นพวกเดียวกันเสียก่อน
Communities Tab
พื้นที่แชร์คอนเทนต์กับกลุ่มคนความชอบเหมือนกัน
เป็นแท็บที่ X พัฒนา และให้ใช้งานมาเพียงปีกว่า แต่ก็ต้องยอมรับเลยว่าสามารถตามหาคอมมูนิตี้ในแท็บนี้ได้ง่าย และกดไปจอยเข้าพร้อมโพสต์ในคอมมูนิตี้นั้นได้เลย แถมยังสร้างเอ็นเกจเมนต์ผ่านการเมนชันกับกลุ่มคนในคอมมูนิตี้นั้นได้โดยตรงด้วย
ซึ่งแน่นอนว่าภาษา และวัฒนธรรมของผู้ใช้งาน X จะมีความเป็นกันเองมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทำให้ครีเอเตอร์ และแบรนด์ที่อยากมาสร้างคอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์มนี้ต้องปรับตัวระดับหนึ่งให้มีความเฟรนด์ลี่ เข้าถึงง่าย และมีความเป็นมนุษย์มากกว่าแบรนด์
#Hashtag Trending
แหล่งรวมเทรนด์สร้างไวรัล
อะไรเล่าจะไวรัลไปมากกว่าแฮชแท็กที่ติดเทรนด์บน X เพราะคำค้นหาไหนที่เกี่ยวข้อง หรือสถานการณ์ไหนที่เกิดขึ้นต่อวันสามารถถูกสร้างขึ้นมาเป็นแฮชแท็กจนติดเทรนด์ได้ นับว่าคุณแมสแล้ว!
ซึ่งแน่นอนว่ามีการซื้อโฆษณาให้แฮชแท็กตัวเองสามารถขึ้นไปให้เห็นก่อน เพื่อเพิ่มการมองเห็นกับคนในประเทศภายใน 24 ชม. อย่าง “Trend Takeover on X” ก็ทำได้
หรืออยากจะคิดแคมเปญเพื่อสร้างอิมแพคในโลก X ด้วยยอดออแกนิกก็คุ้มค่าที่จะทำให้ครีเอทีฟจนติดเทรนด์แฮชแท็กด้วย เพราะด้วยนิสัยของผู้ใช้ X ที่มักจะส่องทุกเรื่องที่ขึ้นเทรนด์ ก็ยิ่งทำให้ตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ได้เยอะเลยทีเดียว
Build a Poll
โพลสร้างยอดเอ็นเกจเมนต์
โดยปกติโพลจะเป็นฟังก์ชันที่เอาไว้โหวตหาเอกฉันท์มติ แต่ในโลกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียการมีโพลนับว่าเป็นเครื่องมือตกกลุ่มคนหลาย ๆ คอมมูนิตี้มาโหวตเล่นได้เป็นอย่างดี
เพราะไม่ว่าครีเอเตอร์ หรือแบรนด์ที่ใช้โพลเป็นเครื่องมือ หากมีกระบวนการคิดคำถาม และผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อตัวเองได้ครบทุกด้าน ก็จะช่วยให้ได้อินไซต์จากกลุ่มคนที่มาเล่นโพลได้ไม่น้อยเลย ฉะนั้นใครไม่รู้จะเริ่มสร้างคอมมูนิตี้บน X อย่างไร ลอง Break The Ice ด้วยโพลก่อนได้นะ
สรุปแล้วไม่ว่าคุณจะเริ่มสร้างคอมมูนิตี้ หรืออยากรักษาคอมมูนิตี้ไว้ให้เหนียวแน่นมากขึ้นบนแพลตฟอร์มไหน สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “การเอาใจเขามาใส่ใจเรา” ในขณะเดียวกันก่อนจะเข้าใจเขา ก็ต้องเข้าใจความเป็นเราก่อนด้วย เพื่อที่จะได้ตกกลุ่มเป้าหมายอย่างมีเป้าหมาย และมีประโยชน์นำไปต่อยอดได้มากที่สุด
ที่มา: https://www.socialmediaexaminer.com/how-to-use-facebook-to-build-a-community-in-2023/
https://www.shopify.com/blog/14288561-how-to-build-a-massive-following-on-instagram