หากพูดถึงการทำ “SEO” หลาย ๆ คนก็พอจะเข้าใจกันว่าเป็นเทคนิคการเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ และการมองเห็นให้กับโพสต์ต่าง ๆ แต่การเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ก็ไม่ได้มีแค่การใส่ SEO ในบทความเท่านั้นนะ เพราะการทำการตลาด หรือวางแผนการทำ Social Marketing ก็มี “Social SEO” มาเป็นตัวช่วยได้นะ
Social SEO (Social Search Engine Optimization) นับเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าที่ชอบเสิร์ชในชีวิตประจำวันได้เจอเพจ หรือแบรนด์ของเรามากขึ้น โดยเฉพาะใครที่มีบ้านหลังหลักเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรือต้องพึ่งพาอัลกอริทึมมาตลอด เพื่อเพิ่มยอดผู้ติดตาม หรือกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพมากขึ้น Social SEO ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญ
แน่นอนว่าการทำออริจินัลคอนเทนต์ และรักษาคุณภาพของคอนเทนต์ รวมถึง Interact กับกลุ่มเป้าหมายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่การทำคอนเทนต์เพื่อให้การเสิร์ชมีคุณภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเราสามารถทำให้ทุกคนเจอคอนเทนต์ หรือแบรนด์ของเราได้ โดยไม่ต้องผ่านการเสิร์ชเพียงแค่บน Google หรือ Bing เท่านั้น
โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เริ่มใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในการเสิร์ชแทน Search Engine แบบเดิม ๆ มากขึ้น เพราะได้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็ว มีคลิปรีวิวพร้อม และไม่ต้องเลือกลิงก์เพื่อกดเข้าไป ซึ่ง RAiNMaker จะมาแชร์ให้รู้กันว่า Social SEO แต่ละแพลตฟอร์มต้องเตรียมพร้อมยังไงบ้าง!
Facebook SEO
Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นบทความ ลิงก์เว็บไซต์ และคลิปสั้นรวมไปถึงการอัปเดตข่าวสารในเรื่องต่าง ๆ แถมยังมีเพจมากมายที่กลายเป็นบ้านหลังแรกในการลงสนามการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ของใครหลาย ๆ คนเพื่อที่จะสร้างรายได้ด้วย
ฉะนั้นการทำ Facebook SEO จึงต้องเน้นการสร้างคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับเพจ หรือการเสิร์ชที่มีชื่อเพจ ทั้งในโพสต์ และชื่อเพจ ไปจนถึงโลเคชันด้วย
- Keyword Page Title: ตั้งคีย์เวิร์ดเป็นชื่อเพจ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเสิร์ช ควรมีการใช้ชื่อเพจเพื่อสื่อความหมาย และเป็นคีย์เวิร์ดหลัก
- Business Address: เพิ่ม Local Search
หากใครมีหน้าร้านก็อย่าลืมเพิ่มตำแหน่งไว้ด้วย เพราะการใส่โลเคชันจะลิงก์มายังหน้าเพจได้ง่ายขึ้นเมื่อมีการเสิร์ช
- Keyword Post: ใส่คีย์เวิร์ดในโพสต์
การเขียนบทความ หรือลงโพสต์บน Facebook นอกจากจะต้องเขียนให้ลื่น ภาษาอ่านง่าย เข้าใจเร็วแล้ว ก็อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดเกี่ยวกับเพจ หรือแบรนด์ลงไปในโพสต์ด้วย เพื่อให้การเสิร์ชบน Facebook หาเจอ
- Add alt-text: ทำให้วิชวลเข้าถึงได้
Alt-text เปรียบเสมือนข้อความที่อธิบาย หรือแสดงแทนภาพ ซึ่งเมื่อไปเสิร์ชบน Search Engine ก็สามารถลิงก์มายังคำอธิบายที่เราใส่ไว้ในภาพ หรือใต้ภาพได้ แต่ต้องใส่คีย์เวิร์ดที่สื่อถึงเพจ หรือแบรนด์ของเราด้วย
Instagram SEO
- Instagram Profile SEO: ใส่คีย์เวิร์ดบนไบโอในโปรไฟล์
การเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดที่สร้าง หรือโลเคชันที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์บนไบโอโปรไฟล์จะช่วยทำให้การเสิร์ช รวมถึงการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรา ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักมากขึ้น
- Relevant Keywords and Hashtags: ใส่คีย์เวิร์ดและแฮชแท็กบนแคปชัน
อย่าประมาทว่าเป็นเพียงแค่แคปชันหรือแฮชแท็ก! เพราะแคปชัน และแฮชแท็กเป็นตัวช่วยให้คอนเทนต์ของเราบน Instagram สามารถไปผ่านในการเสิร์ชอื่น ๆ ได้เพียงเพราะมีคีย์เวิร์ดที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ แต่บางแฮชแท็กคนก็ใช้เยอะอาจทำให้หายาก แนะนำให้ใช้ควบคู่กับคีย์เวิร์ดด้วยนะ
- Add alt-text: ทำให้วิชวลเข้าถึงได้
Alt-text เปรียบเสมือนข้อความที่อธิบาย หรือแสดงแทนภาพ ซึ่งเมื่อไปเสิร์ชบน Search Engine ก็สามารถลิงก์มายังคำอธิบายที่เราใส่ไว้ในภาพ หรือใต้ภาพได้ แต่ต้องใส่คีย์เวิร์ดที่สื่อถึงเพจ หรือแบรนด์ของเราด้วย
- Use subtitles: ใส่ Target Keyword ในแคปชัน
ใน Instagram มีแคปชันแบบ Auto-Generated ที่ดีต่อกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย และการมีซับไตเติ้ลขึ้นให้ ก็แปลว่าเรามีแหล่งเพิ่มคีย์เวิร์ดสำหรับการเสิร์ชได้นั่นเอง
- Tag Location: คอนเทนต์ Local Business Search
Instagram ไม่ได้มีแค่ฟีด หรือโพสต์จากแบรนด์ และผู้คนที่เราติดตาม แต่ยังมีโลเคชันที่สามารถแสดงให้เราดูได้ด้วยว่าภาพนี้มาจากที่ไหน นี่จึงเป็นโอกาสดีที่โพสต์ของเราจะไปโผล่ตามสถานที่ที่แท็กไว้ด้วย กลายเป็นคอนเทนต์แบบ “Local Business Search” ทันที
TikTok SEO
- TikTok Profile SEO: ใส่คีย์เวิร์ดบนไบโอในโปรไฟล์
การใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวของกับช่อง หรือคเนทนต์ของเรา จะช่วยทำให้รู้จัก และค้นหาเกี่ยวกับแอคเคานท์ TikTok ง่ายขึ้น แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพของ TikTok SEO ด้วย
- Use Main Keyword: พูดคีย์เวิร์ดในคลิป
ใน TikTok ไม่ได้มีการใส่คีย์เวิร์ดแค่ในแคปชัน หรือชื่อคลิปถึงจะหาคลิปเจอง่ายเท่านั้น เพราะการพูดคีย์เวิร์ดในคลิปก็สามารถตรวจจับได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นอย่าลืมพูดคีย์เวิร์ดของตัวเองในคลิปด้วยนะ
- Relevant Keywords and Hashtags: ใส่คีย์เวิร์ด และแฮชแท็กบนแคปชัน
ทั้งแคปชัน และแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับเรา ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ คอนเทนต์หรือชื่อช่อง หากมีคีย์เวิร์ดก็จะช่วยง่ายต่อการเพิ่มการมองเห็นมากขึ้น
- No FYP: ไม่จำเป็นต้องใส่ #fyp
ใครที่เห็นแฮชแท็ก #FYP (For Your Page) บ่อย ๆ หรือแทบจะอยู่ทุกคลิปบน TikTok ก็อย่าพึ่งตามกระแสไป เพราะแฮชแท็กนี้แม้ยอดวิวจะเยอะเน้น Quantity มากกว่า Quality ฉะนั้นคำแนะนำคือให้ใส่แฮชแท็กที่เกี่ยวกับชื่อของตัวเอง หรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องมากกว่า
YouTube SEO
- Keyword Phrase: ตั้งคีย์เวิร์ดเป็นชื่อไฟล์คลิป
แม้ชื่อคลิป และแคปชันจะมีความสำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้ว่าคลิปที่จะดูเกี่ยวกับอะไร แต่การตั้งชื่อคีย์เวิร์ดสำคัญเป็นชื่อไฟล์คลิปด้วยจะช่วยให้การเสิร์ชเจอไปถึงคลิปวิดีโอ และลิงก์มาคลิปบน YouTube ได้เลย
- Keyword Title: ตั้งคีย์เวิร์ดเป็นชื่อคลิป
โดยปกติแล้วผู้คนมักจะเสิร์ชบน Search bar บน YouTube อยู่แล้ว ฉะนั้นการมีคีย์เวิร์ดอยู่ในชื่อคลิปจะช่วยให้เจอคลิปคอนเทนต์ของเราง่ายขึ้น
- Keyword Description: ตั้งคีย์เวิร์ดเป็นคำอธิบายคลิป
การมีคีย์เวิร์ดอยู่ในแคปชัน หรือคำอธิบายคลิปบน YouTube ด้วย โดยเฉพาะตั้งแต่สองบรรทัดแรกที่สามารถมองเห็นได้โดยไม่ต้องกด “More” จะช่วยให้เสิร์ชเจอคลิปง่ายขึ้น แต่ไม่ควรใส่คีย์เวิร์ดจนชัดเจน หรือบ่อยเกินไป และเล่าด้วยประโยคที่จำเป็น
- Create how-to videos: สร้างคลิปแชร์ How to
คอนเทนต์ How To เป็นคอนเทนต์ที่ไม่ว่ากลุ่มเป้าหมายไหนก็ชอบ และจะมียอดเอ็นเกจเมนต์ดีเสมอ เพราะผู้คนมักจะใช้ประโยคที่มีการถามถึงวิธีการ หรือคำถามตอนเสิร์ชด้วย และอัลกอริทึมการเสิร์ชก็จะนำคลิปที่เกี่ยวข้องขึ้นมาเป็นคำตอบ
X (Twitter)
- X Profile SEO: ใส่คีย์เวิร์ดบนไบโอในโปรไฟล์
การใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวของกับช่อง หรือคเนทนต์ของเรา จะช่วยทำให้รู้จัก และค้นหาเกี่ยวกับแอคเคานท์ X ง่ายขึ้น แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพของ X SEO ด้วย
- Relevant Keyword: ใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องในโพสต์
ใครที่มีแอคเคานท์บนแพลตฟอร์ม X ไม่จำเป็นต้องสร้างคาแรกเตอร์เยอะ แต่ต้องใช้คีย์เวิร์ดอย่างรอบคอบ และมีการประยุกต์คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องลงในโพสต์อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะโพสต์บน X รู้ได้ง่ายว่าโพสต์ไหนขายของ และควรเน้นการโพสต์ให้เข้ากับแต่ละคอมมูนิตี้ของกลุ่มเป้าหมายด้วย
- Add alt-text: ทำให้วิชวลเข้าถึงได้
Alt-text เปรียบเสมือนข้อความที่อธิบาย หรือแสดงแทนภาพ ซึ่งเมื่อไปเสิร์ชบน Search Engine ก็สามารถลิงก์มายังคำอธิบายที่เราใส่ไว้ในภาพ หรือใต้ภาพได้ แต่ต้องใส่คีย์เวิร์ดที่สื่อถึงเพจ หรือแบรนด์ของเราด้วย
โดยสรุปแล้ว Social SEO ทั้งหมดจะสำเร็จหรือไม่ ก็ควรนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแบบของแต่ละคนเอง ซึ่งหลัก ๆ แล้วทั้งโปรไฟล์ ชื่อไฟล์ รวมถึงข้อความในโพสต์ และการพูดในคลิปก็สามารถสร้าง SEO ในการเสิร์ชที่ดีได้ ใครที่ทำวิธีไหนแล้วเวิร์กมาแชร์กันใต้คอมเมนต์ได้นะคะ!