JournalismSocialTips

Avatar

Nutn0n October 1, 2019

6 เทคนิค Facebook Live ด้วย iPhone อย่างไรให้ดูโปรที่สุด

ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอเรื่อง Live ง่าย ๆ ด้วยมือถือ หรือ Live โปร ๆ ด้วย OBS ข้อดีและข้อเสียของการ Live แต่ละแบบ เป็นการเปรีบเทียบว่าการ Live ด้วยมือถือธรรมดา ๆ หรือ Live ผ่าน Software Broadcasting ต่าง ๆ มีข้อดีหรือข้อเสียอะไรบ้าง และควรเลือกแบบไหนให้ตรงกับงาน และวันนี้เราจะมาลองเจาะลึกกันที่เรื่องของการ Live ผ่านมือถือกันบ้างว่ามีเทคนิคอะไรที่จะช่วยให้การ Live ของเราดูโปรขึ้น

ลองย้อนความเดิมตอนที่แล้วก่อน เราบอกว่าการ Live ด้วยมือถือนั้น เดี๋ยวนี้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ออกมาเยอะมาก เรามีมือถือเครื่องเดียวก็จริง แต่ถ้าเราไปซื้อไมค์มาต่อ เราก็จะทำการ Live แบบที่ไม่ต้องถือมือถือใกล้ ๆ ให้ได้ยินเสียง หรือ Live ในที่ที่เสียงดังได้ เช่น ในงาน Event, ในสถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งไปซื้อเลนส์มือถือดี ๆ มาก็จะทำให้มุมมองของกล้องมือถือกว้างขึ้น เหมือนใช้เลนส์ wide ของกล้อง DSLR, Mirrorless ได้ ซึ่งบอกเลยว่าการมีอุปกรณ์พวกนี้ติดตัวจะทำให้เราคล่องตัวมาก แม้กระทั่งเพจใหญ่ ๆ หรือช่อง TV ก็ตาม บางครั้งที่ต้อง Live ในสถานการสำคัญ หรือในงาน Event แค่เรามี มือถือกล้องชัด ๆ ไมค์แยก เน็ตดี ๆ ก็สามารถ Live ได้แล้ว

ดังนั้น ลองนึกภาพว่าเรากำลัง Live นอกสถานที่ หรือไป Live ในงาน Event ให้ลูกค้า เทคนิคเหล่านี้ก็น่าจะช่วยให้งานของเราดูโปรขึ้นแน่ ๆ

1. เน็ตต้องดี ทางที่ดีซื้อเน็ตเพิ่มไว้เยอะ ๆ

เนื่องจากการทำ Facebook Live สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คืออินเทอร์เน็ต ดังนั้นทางที่ดี ให้ลองเทส Speed ดูความเร็ว ดูปริมาณเน็ตที่เหลือให้ชัวร์ หรือถ้าในงานหรือบริเวณนั้นมี Wifi อย่าลืมดูว่า Wifi ใช้ได้นานแค่ไหน หรือสัญญาณอ่อนหรือเปล่า (ถ้าอ่อนมาก ๆ ใช้เน็ต 4G ดีกว่ากันพลาด)

ผู้เขียนแนะนำว่าใครที่เน็ตใกล้ติด FUP ให้ซื้อแพคเสริมรอไว้เลยเสียเงินหลักสิบหลักร้อย ดีกว่าไปพลาดเอาตอนทำงาน ถือว่าซื้อความสบายใจ

2. จะตั้งหรือนอนไม่สำคัญ แต่อย่าหมุนไปหมุนมาพอ

จะ Live ในแบบแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ แล้วแต่เราสะดวก แต่ขออย่างเดียวคืออย่าหมุนไปหมุนมา ให้แน่ใจว่าเรา Live ในแนวที่ถูกต้อง วิธีสังเกตคือให้ดูจากเมนูคำอธิบายคลิปตอนก่อน Live ถ้าหันไปทางไหนแปลว่าวิดีโอที่จะ Live ออกไปจะเป็นทิศทางนั้น ดังนั้นจัดการสู้รบกับมือถือเราให้เคลียร์ก่อนว่าจะหมุนทางไหนกันแน่ ไม่เช่นนั้นภาพที่ออกมาจะเป็นเราหมุนกล้องไปมา Live กลับหัวบ้าง หรือบางทีควบคุมไม่ได้ก็ต้อง Live ใหม่เลยคนดูก็จะงงอีก

 

3. หาอุปกรณ์เสริม ไมค์ เลนส์ กันสั่น และอย่าลืมเทสก่อน

คงไม่ต้องบอกว่าตอนนี้อุปกรณ์เสริมนั้นมีมากมาย ทั้งเลนส์ ไมค์ ไม้กันสั่นต่าง ๆ แต่สิ่งที่ขอเตือนไว้เลยก็คือไมค์ แนะนำว่าให้เช็คก่อนทุกครั้งว่าเสียเข้าไมค์จริงหรือเปล่า ไม่เช่นนั้นกลายเป็นว่า Live ไปแล้วแต่เสียงไม่เข้า เสียงเข้าจากโทรศัพท์ วิธีเช็คก็คือลองอัดวิดีโอพูดว่าเสียงเข้าหรือเปล่าก่อน ทุกครั้งก่อนทำการ Live แม้ว่าอุปกรณ์ตัวนั้นเราจะใช้มาหลายรอบแล้ว แต่ถ้าอยู่ดี ๆ ดันเสียขึ้นมา สายชาด หรือช็อต เราจะไม่รู้เลย รู้ตัวอีกทีก็คือคนดู comment มาว่าเสียงไม่เข้า 

อันนี้ขอแอบแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือ ผู้เขียนต้องไป Live งานลูกค้าในลักษณะของ Hall ขนาดใหญ่เสียงดังมาก และเสียงจากไมค์แยกดันไม่เข้า เป็นเสียงจากมือถือแทน วิธีแก้ปัญหาคือรีบโฉบเข้าไปในโซนที่เงียบที่สุดจากนั้น พูดรายละเอียดของงานว่าวันนี้จะพามาดูอะไร เล่าอะไรโม้ ๆ ไป พูด Message ของลูกค้าซัก 1 นาที จากนั้นบอกว่า เดี๋ยวกลับมาเจอกันใน Part 2 จากนั้นปิด Live ไปจัดการไมค์ให้เรียบร้อยจากนั้นก็กลับมา Live ใหม่ (ระทึกจริง ๆ)

4. ให้คนถือกล้องช่วยอ่าน Comment หรือช่วยถามคำถาม

ปกติแล้ว เวลาเรา Live ถ้าไม่ใช่แบบถือกล้องเองก็จะเป็นแบบให้เพื่อนหรือทีมงานช่วยถือกล้องให้ ซึ่งแน่นอนว่าเราจะไม่เห็น Comment ที่คนดูทักมา ดังนั้นเราไม่ต้องอายที่จะให้คนถือกล้องช่วยอ่าน Comment มาให้เราหรือพูดคุยกับคนถือกล้องเช่น “ตอนนี้มีคอมเม้นอะไรบ้างไหมครับ” , “คุณผู้ชมมีคำถามอะไร ถามกันเข้ามาได้นะครับ”, “มีอะไรอยากจะแชร์ว่ามาเลย” เพื่อให้คนดูไม่ใช่แค่ดูแต่เข้ามามีส่วนร่วมสด ๆ ได้ และเพิ่ม Engagement ให้กับ Post ของเราอีก 

ในขณะที่ถ้าเราเป็นคนถือกล้อง ไม่ต้องกลัวว่าการมีเสียงเข้าไปใน Live จะรบกวน แนะนำให้คุยกันให้เรียบร้อยเลยว่าจะทำอะไรบ้าง

5. คิดคร่าว ๆ ไว้ในหัว จะเริ่มตรงไหน จบตรงไหน เดินผ่านอะไรบ้าง คนถือกล้องช่วยคุมเวลาด้วย

สมมติว่าเรา Live ในงาน Event, สถานที่ท่องเที่ยว หรือในการรายงานข่าวต่าง ๆ แนะนำให้ใช้เวลาลองเดินดูบริเวณก่อนเพื่อให้เราหามุมที่น่าสนใจ หรือวางแผนว่าจะเริ่มต้นพูดตรงไหน จบตรงไหน เดินผ่านอะไรบ้าง เพื่อให้มีแผนและไม่เดินมั่ว หรือไม่รู้ว่าต้องพูดอะไร ส่วนคนคุมกล้องอันนี้สำคัญมาก หน้าที่ของเราคือต้องช่วยควบคุมเวลา ดูมุมกล้อง หรือสั่งให้คนพูดไปยืนตรงไหน ด้วยสัญญาณมือได้ เพราะคนพูดบางทีอาจจะต้องโฟกัสอยู่กับเนื้อหา ไม่สามารถดูบริเวณโดยรอบหรือสังเกตอะไรได้ รวมถึงไม่รู้ว่า Live ไปแล้วกี่นาที ดังนั้น คุยกันให้เรียบร้อยถึงแผน แล้วก็คนถือกล้องต้องช่วยเตือนหากพูดเกินเวลาที่วางแผนไว้ หรือถ้าอยู่ตรงไหนนานเกินไป พูดเกิน พูดออกทะเล ก็ต้องช่วยกันดู 

6. พูดอัปเดทให้ฟังสำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาชม ว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่

เป็นเทคนิคที่หลายคนอาจมองข้าม แม้ว่าจะมีในคำอธิบายแล้วก็อย่าลืมพูดกับคนดูว่า ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน กำลังพาชมหรือดู งานหรือสถานที่อะไร ซึ่งอาจจะพูดตอนระหว่างที่ไม่มีอะไรจะพูดหรือระหว่างเดินอยู่เพื่อป้องกัน Dead Air ก็ได้ แต่ประโยชน์เลยก็คือทำให้คนที่เพิ่งเข้ามา ได้รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

เป็น 6 เทคนิคที่น่าจะช่วยให้เวลาเรา Live ด้วยมือถือนั้นดูโปรขึ้น เพราะความโปรไม่ใช่การมี Animation มีตัดภาพมี Logo อะไรมากมาย แต่คือการทำไงก็ได้ให้คนดูเข้าใจและเข้าถึง Message ที่เราต้องการจะส่งไปให้ได้อย่างราบรื่นที่สุดนั่นเอง

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save