อ้างอิงยังไงดี เทคนิคทำคอนเทนต์ให้น่าเชื่อถือและดูฉลาด

ในบทความที่สอนเรื่อง Rethoric เราได้พูดถึงว่าการที่จะทำให้คนมาเชื่อเราได้ก็คือการให้ความสำคัญกับตัวผู้พูด ผู้ฟัง และความสมเหตุสมผลของตัวเนื้อหา ซึ่งการอ้างอิงก็คือหนึ่งในนั้น หลายคนเชื่อแค่ว่าแค่มีแหล่งอ้างอิงก็แปลว่าบทความของเราน่าเชื่อถือแล้วแต่จริง ๆ แล้วการอ้างอิงเป็นเพียงแค่วิธีการเท่านั้นเอง

ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงการอ้างอิงแบบคร่าว ๆ ในบทความเรื่อง สอนเขียนบทความ ซึ่งเราสรุปไปว่า การอ้างอิงเราไม่ได้อ้างอิงแค่ให้ไม่โดนด่าแต่ต้องอ้างอิงเพราะเราอยากให้บทความของเราน่าเชื่อถือจริง ๆ ซึ่งอ้างอิงนั้น อาจจะมาจากประสบการณ์ หรือแหล่งข้อมูลอื่นก็ได้

ความสำคัญของการอ้างอิง

จริง ๆ แล้วการทำคอนเทนต์ในทุกรูปแบบไม่ใช่แค่บทความ รวมถึง รูป, วิดีโอ, อินโฟกราฟิก ล้วนแต่จำเป็นต้องอ้างอิง เพราะการอ้างอิงเป็นการแสดงความจริงใจให้กับผู้อ่านว่าเราได้นำข้อมูลจริงที่เชื่อถือได้ หรือแม้จะเป็นข้อคิดเห็น ก็เป็นข้อคิดเห็นที่เกิดจากบุคคลคนนั้น หรือเว็บไซต์นั้นได้กล่าวไว้จริง ๆ ไม่ได้ยกขึ้นมามั่ว ๆ ถ้าใครที่เคยเขียนบทความเชิงวิชาการหรือทำงานวิจัยมาก่อน ก็คงจะคุ้นชินกับการอ้างอิงเป็นอย่างดี และเข้าใจว่า การอ้างอิง ไม่ใช่แค่การเอาประเด็นที่เหมือนกับเรามาแปะ แต่เป็นการหยิบยกประเด็นนั้น ๆ มาเพื่อส่งเสริม หรือหักล้าง ก็ได้ อย่าเข้าใจว่าการอ้างอิงจะต้องเหมือนกับเรา หรือไปในทางเดียวกับเราเสมอไป 

เช่น ถ้าเราจะทำคอนเทนต์ ข้อเสียของการใช้บัตรเครดิต วิธีการออกแบบคอนเทนต์ของเราอาจจะเป็นการหยิบยกประเด็นที่พูดถึงข้อดีมา แล้วนำมาตั้งคำถามว่า จริงเหรอที่เขาว่ามาว่างั้น เราอาจจะหยิบยกบทความหรือสื่อที่พูดถึงเรื่องข้อดีของการใช้บัตรเครดิต แล้วมาลองหาเหตุผลเพื่อหักล้างหรือนำเสนออีกมุมนึงที่แตกต่างออกไป ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นก็ต้องมีที่มาและอ้างอิงได้เช่นกัน อาจจะยกตัวอย่างกรณี, ข่าว หรือ งานวิจัยขึ้นมา เช่น อาจจะมีสถิติว่า First Jobber มีโอกาสเป็นหนี้บัตรเครดิตสูงกว่าวัยกลางคนถึง 20% อะไรก็ว่าไป แล้วก็บอกว่า ผลสำรวจมาจากไหน ใครเป็นคนทำ

อย่างตัวอย่างด้านบนเราก็จะได้เห็นแล้วว่า การอ้างอิงนั้น ไม่ใช่แค่มีบทบาททำให้บทความของเราน่าเชื่อถือ แต่สามารถนำมาใช้ในการเล่าเรื่องได้อีกด้วย บางทีแล้ว เราก็อาจจะทำคอนเทนต์กันแบบง่าย ๆ เช่น listing รวม 10 วิธีดูแลสุขภาพช่วงหน้าหนาว แต่การใช้ลีลาการทำคอนเทนต์ที่ซับซ้อนมากขึ้นก็จะยิ่งช่วยให้คอนเทนต์ของเรามีความแปลกใหม่ไปด้วย และการฝึกทำคอนเทนต์กึ่งวิชาการ แต่มีความสนุกสนาน ให้คุณค่ากับคนดู ก็จะยิ่งเป็นการฝึกให้เราทำโจทย์ทางคอนเทนต์ที่ซับซ้อนได้มากขึ้นในอนาคต

แล้วอ้างอิงแบบไหนดี

เหมือนที่บอกไปในบทความ สอนเขียนบทความ ผู้เขียนได้แบ่งการอ้างอิงไว้ 2 วิธีการใหญ่ ๆ คือการอ้างอิงไว้ท้ายคอนเทนต์ และการใส่รวมมันเข้ามาไว้ในคอนเทนต์เลย ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็สามารถบอกได้ว่าการอ้างอิงประเด็นหรือ argument ต่าง ๆ เข้ามาในคอนเทนต์เลยทำให้เราดูน่าเชื่อถือขึ้น แล้วส่วนตัวผู้เขียนเองก็ชอบวิธีการแบบนี้เช่นกัน เวลาที่เราดูคลิปวิดีโอสอนต่าง ๆ แล้วมีการยกการอ้างอิงขึ้นมา เช่น “เว็บไซต์นั้น ได้ให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า ..” หรือ “คุณ … ได้เขียนไว้ในหนังสือ … ว่า …. ” มันทำให้คอนเทนต์ของเราดูทำการบ้านมาดี ไม่ได้แค่ทีเรื่องจะพูดแล้วก็พูด

หรือถ้าใครยังชอบการอ้างอิงแบบ แนบไว้ท้ายคอนเทนต์ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ก็จะขาดความมีชีวิตชีวาของแหล่งอ้างอิงเล็กน้อย เพราะไปกอง ๆ กันอยู่ที่ใต้บทความ หรือใต้คลิปวิดีโอ ซึ่งคนอ่าน หรือแม้กระทั่งคนทำคอนเทนต์เองก็ตามอาจจะไม่ได้สนใจ หรือไม่ได้มองมันเป็นส่วนหนึ่งของคอนเทนต์ด้วยซ้ำ ดังนั้นจำไว้เลยว่า การอ้างอิงคือส่วนหนึ่งของคอนเทนต์เสมอ

สรุปเทคนิคการอ้างอิงให้ได้ประสิทธิภาพ

สุดท้ายแล้ว เมื่อเราได้รับความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอ้างอิงในคอนเทนต์ ผู้เขียนก็มีสรุปเทคนิคการอ้างอิงอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคอนเทนต์ของเรา และทำให้คอนเทนต์ของเราบรรลุวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้, ชักจูงชี้นำ หรือแม้กระทั่งการขายของ ได้อย่างมากขึ้น

  • คิดเสมอว่าการอ้างอิงคือส่วนของคอนเทนต์
  • อ้างอิงไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกับเรา จะคิดต่างก็ได้ แต่ต้องมีนัยสำคัญ
  • การมีอ้างอิง แต่มาจากเว็บที่วิธีการได้มาซึ่งคอนเทนต์ไม่ได้น่าเชื่อถือ ก็ไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรา
  • เราอ้างอิงความรู้สึก, คำพูด ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลอย่างเดียว
  • ฝึกทำคอนเทนต์แนววิเคราะห์หรือตั้งคำถามมากขึ้น จะทำให้เราทำคอนเทนต์เก่งขึ้น

อย่าลืมว่าการทำคอนเทนต์นั้นคือการทำให้ผู้อ่านพึงพอใจ และการจะทำให้ผู้ชมพึงพอใจได้นั้น ต้องรู้ความคาดหวัง (Expectation) ของผู้ชมก่อน การที่เรา สามารถหยิบยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นมานำเสนอที่ให้คุณค่ากับวิธีคิดและการได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาที่ดูมืออาชีพและไม่ใช่แค่บอกเล่า แต่ให้คุณค่าและเปิดมุมมองใหม่ ๆ กับผู้ชมได้จริง ๆ ก็จะยิ่งช่วยให้ผู้อ่านพึงพอใจและมองเราในฐานะคอนทำคอนเทนต์คุณภาพได้

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save