NEXT Platform : ก้าวต่อไปของแพลตฟอร์มในอนาคต

ถึงแม้แพลตฟอร์มจะเป็นอะไรที่ไม่ได้ผุดขึ้นมาบ่อยมากนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ก็มีแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่เห็นได้ชัดในช่วง 1-2 ปีมานี้คงหนีไม่พ้นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นอย่าง ‘TikTok’ ที่กลายเป็นแพลตฟอร์มใหม่มาแรงแซงโค้ง จนกลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่น่าจับตามองสำหรับแบรนด์และครีเอเตอร์เป็นอย่างมาก

ทำให้หลายคนโดยเฉพาะแบรนด์ คงมีคำถามว่าการที่มีแพลตฟอร์มใหม่เข้ามาแล้วควรจะก้าวลงไปเล่นทันทีเลยหรือไม่? รวมไปถึงเทรนด์การใช้แพลตฟอร์มในปีหน้าจะเป็นอย่างไรต่อไป

วันนี้ RAiNMaker ในฐานะผู้จัดโปรเจ็กต์ iCREATOR NEXT จึงได้มาแชร์มุมมองเกี่ยวกับ ‘ก้าวต่อไปของแพลตฟอร์มในอนาคต’ ที่ได้ไปพูดคุยกับคนในแวดวง เพื่อนำมาเป็นแนวทางให้กับทั้งครีเอเตอร์ แบรนด์ และเอเจนซี ในการเลือกใช้แพลตฟอร์มให้เหมาะสมต่อไปมาฝากทุกคนกันค่ะ

Facebook เก่าไปหรือยังใช้ได้อยู่?

เปิดมาด้วยแพลตฟอร์มที่เรียกได้ว่าเป็น Mass Media เลยก็ว่าได้ ในแง่ของผู้บริโภคคงปฏิเสธไม่ได้ว่า Facebook และ YouTube ยังคงครองตลาดอยู่ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มหลักที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้จนนับเป็น Mass Platform แต่หากมองในแง่ของการผลิตคอนเทนต์เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ อาจต้องลองมองหาแพลตฟอร์มอื่นเป็นตัวเลือกเสริมเพิ่มเติม

ดังนั้นการจะตอบว่า Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ผลอยู่ไหม คงยากที่จะตอบ เพราะท้ายที่สุดแล้วก็ต้องย้อนกลับไปมองที่วัตถุประสงค์อยู่ดี แต่ที่แน่นอนคือ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มเก่า เพื่อไปใช้แพลตฟอร์มใหม่ ๆ ได้ 100% เนื่องจากแพลตฟอร์มเดิมเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้งาน และมักเป็นผลดีต่อการการสร้าง Awareness นั่นเอง

แถมปัจจุบัน Facebook เองก็ได้มีการอัปเดตอัลกอริทึม รวมถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อรองรับการใช้งานสำหรับครีเอเตอร์และแบรนด์มากมาย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าถ้าเปรียบ Facebook เป็นเหมือนสื่อหลักอย่างโทรทัศน์ในสมัยก่อนก็ได้ แต่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องเริ่มจากแพลตฟอร์มหลักเสมอไป เพราะปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มมากมายให้เลือกใช้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

แพลตฟอร์มที่ดีที่สุด

ด้วยแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่เริ่มเข้ามามีตัวตนในพื้นที่โซเชียลมากขึ้น หลายคนคงเกิดคำถามว่าแล้วแพลตฟอร์มไหนที่เป็นที่สุดกันนะ? แน่นอนว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีภาพ Persona ของกลุ่มเป้าหมายโดดเด่นเป็นของตัวเอง รวมถึงแต่ละช่วงอายุก็อาจจะโฟกัสที่แพลตฟอร์มต่างกันไป ซึ่งข้อมูลการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็จะช่วยเสริมให้ทั้งแบรนด์ เอเจนซี และครีเอเตอร์เกิดวิธีใหม่ ๆ ในการทำการตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

นอกจากนี้ จุดเด่นของแต่ละแพลตฟอร์มก็มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการเลือกใช้แพลตฟอร์มคงขึ้นอยู่กับว่าวัตถุประสงค์ หรือแนวทางคอนเทนต์เป็นอย่างไร และกลุ่มเป้าหมายของเราเองอยู่ตรงไหน เพื่อที่จะได้สื่อสารได้อย่างถูกวิธี ถูกช่องทาง

จึงสรุปได้ว่าไม่มีแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดเป็นคำตอบตายตัว มีแต่เพียงแพลตฟอร์มไหนที่ตอบโจทย์เราได้ดีมากที่สุดเท่านั้นเอง ซึ่งเราจะรู้ได้โดยการทดลองอยู่ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ผิดที่โฟกัสเพียงไม่กี่แพลตฟอร์มที่ถนัด แต่ก็ควรศึกษาแพลตฟอร์มอื่น ๆ ไว้บ้างเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ก็ไม่ผิดเช่นกันที่จะก้าวเข้าไปลองแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เพราะยิ่งทดลองเร็ว ผิดพลาดเร็ว ก็อาจสามารถเรียนรู้ และแก้ไขได้เร็วเช่นเดียวกัน

แพลตฟอร์มทางเลือกสำหรับแบรนด์

ถ้าพูดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แบรนด์มักเลือก TikTok เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับทำการตลาด เนื่องจากทั้งตัวแพลตฟอร์ม และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าถึงง่าย รวมถึงช่วยเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี จากข้อดีของการเป็นคลิปวิดีโอสั้นย่อยง่ายที่สามารถใส่ความสร้างสรรค์ได้เต็มที่

แถมยังเป็นแพลตฟอร์มที่รวมเหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์มากมาย ที่เหมาะกับการสร้างความไวรัลนั่นเอง แม้ว่าข้อจำกัดของแพลตฟอร์มใหม่ยังอาจมีอยู่บ้าง ที่ทำให้สู้แพลตฟอร์มเดิม ๆ ไม่ได้เต็มที่ อย่างเช่นในส่วนของข้อมูลหลังบ้านที่อาจไม่ละเอียดเท่าแพลตฟอร์มหลักอย่าง Facebook มาก เป็นต้น

ในด้านของ Twitter เองก็เป็นตลาดที่แบรนด์เริ่มให้ความสนใจไม่น้อยในช่วงหลัง ด้วยความเป็นแพลตฟอร์มที่มีจุดแข็งคือบทสนทนา และความเรียลไทม์ของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเป็นแหล่งรวมตัวของวัยรุ่นยุคใหม่ เพราะฉะนั้นหากกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่แล้วล่ะก็ Twitter ก็เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มทางเลือกที่น่าสนใจ ในการสร้างบทสนทนาเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย

ทั้งนี้จุดสำคัญในการเลือกใช้แพลตฟอร์มก็ขึ้นกับแบรนด์ ที่ต้องทำความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองเหมาะกับแพลตฟอร์มหรือฟอร์แมตไหน รวมถึงในอนาคตแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็เป็นที่น่าจับตามองไม่น้อย จากที่หลายแพลตฟอร์มพยายามพัฒนาให้มีฟีเจอร์และเครื่องมือเพื่อสนับสนุนอีคอมเมิร์ซอยู่เป็นระยะ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าในอนาคตที่ไทยเองจะสามารถสร้างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซออกมาอย่าง Amazon และ Taobao ได้หรือไม่

นอกจากนี้ อีกหนึ่งเทรนด์ที่เห็นได้ชัดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้คือ ทั้งครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์หลายคนมีการขยับขยายไปแพลตฟอร์มอื่น ๆ มากขึ้นในช่วงหลัง จึงทำให้เกิดคอนเทนต์รูปแบบใหม่ต่างแพลตฟอร์มมากขึ้น จึงเป็นทางเลือกสำหรับแบรนด์ในการการเปิดประสบการณ์และโอกาสใหม่นั่นเอง

📣 แบรนด์ เอเจนซี และเหล่าครีเอเตอร์ห้ามพลาด! RAiNMaker แจกฟรีหนังสือ ‘iCREATOR NEXT 2022: จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่โลกออนไลน์ กับอนาคตที่ต้องก้าวตามให้ทัน’

📍 สรุปเทรนด์โลกออนไลน์ 2022

📍 เผยจุดเปลี่ยนของ Content Creator & Influencer, Platform และ Content Marketing

📍 รวม 50 ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ ‘Next Trend’ คลื่นลูกใหม่โลกออนไลน์ในไทย

📔 ลงทะเบียนรับหนังสือ และ E-book ได้แล้วตั้งแต่วันนี้จนกว่าหนังสือจะหมด https://www.facebook.com/rainmakerth/posts/961301321176833

#iCreatorNEXT2022 #rainmakerth

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save