ในยุคที่ประเทศไทยมีอินฟลูเอนเซอร์เป็นบทบาทหลักในการขับเคลื่อนโลกอีคอมเมิร์ซ จนเกิดการแข่งขันด้านการผลิตคอนเทนต์ และให้ความสำคัญกับยอดเอ็นเกจเมนต์ มากกว่าจะสร้างคอนเทนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเป็นการชักจูง และชวนเชื่อมากกว่า นี่จึงเป็นเหตุผลที่สภาพัฒน์ออกมาเตือนถึงการให้ค่านิยมสังคมอินฟลูเอนเซอร์ที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ในตอนนี้
“เพราะเสียงของอินฟลูเอนเซอร์ดัง และมีความน่าเขื่อถือมากกว่าแบรนด์พูดเอง” ค่านนิยมในำทยตอนนี้จึงเลือกที่จะเชื่อในอิทธิพลของกลุ่มคนที่การันตีว่าใช้เอง ใช้จริง และรีวิวด้วยความจริงมากกว่า ทำให้อุตสาหกรรมอินฟลูเอนเซอร์ไทยในตอนนี้สามารถสร้างรายได้ได้ค่อนข้างสูงเฉลี่ยตั้งแต่ 800 – 700,000 บาทขึ้นไปต่อโพสต์เลยทีเดียว
โดยข้อมูลจาก Nielsen ในปี 2565 เผยว่า ประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีจ านวน Influencer รวมกันมากถึง 13.5 ล้านคน โดยประเทศไทยมีจ านวนกว่า 2 ล้านคน ซึ่งเป็นอันดับสองรองจาก อินโดนีเซียเท่านั้น
แต่การเผยแพร่ค่านิมของกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ทั่วแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเอง ก็มักจะมาจากช่องทางการสร้างรายได้อย่างโฆษณา หรือการรีวิวสินค้าที่ถูกจ้างมาเพื่อพูดแทนแบรนด์เป็นหลัก และเพราะการพูดจากปากกันเองที่ไม่ใช่ในนามแบรนด์พูดนั้นก็อาจเสี่ยงนำไปสู่การสร้างค่านิยมผิด ๆ ไม่ว่าจะเป็น
การนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
จากรายงานผลการดำเนินงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบจำนวนยอดสะสมผู้โพสต์ที่เข้าข่ายเป็นข่าวปลอม 7,394 บัญชี โดยเป็นจำนวนข่าวปลอมและข่าวบิดเบือนรวมกันกว่า 5,061 เรื่อง
ซึ่งเป็นข่าวปลอมที่มาขจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ และอาจนำไปสู่ความเชื่อผิด ๆ เพราะไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง หรือแหล่งที่มาของข้อมูลก่อน
การชักจูงหรือ ชวนเชื่อที่ผิดกฎหมาย
ข้อมูลจากผลการสำรวจพฤติกรรม การเล่นพนันออนไลน์ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ของศูนย์ศึกษาปัญหาการพนันในปี 2566 พบว่าคนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์ประมาณ 3 ล้านคน โดย 1 ใน 4 เป็นนักพนันฯ หน้าใหม่ หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 7.4 แสนคน
โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 87.7 พบเห็นการโฆษณาหรือได้รับการชักชวนทางออนไลน์ ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 1 ล้านคน และกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ก็มักจะมีการรับโฆษณาเว็บพนันออนไลน์ด้วย
การละเมิดสิทธิ
เพราะอินฟลูเอนเซอร์มักจะต้องโพสต์คอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างยอดเอ็นเดจเมนต์ แต่บางครั้งในคอนเทนต์ก็มีการเสนอข่าวอาชญากรรมราวกับละคร เพื่อสร้างความตื่นเต้นเร้าใจ และไม่ได้ คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้เสียหาย ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด
นอกจากนี้ยังพบการทำข่าวโดยใช้ภาพผู้คนหรือวิดีโอของผู้อื่นมาตัดต่อลงคอนเทนต์ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และยังมีเนื้อหาบางประเภทที่อาจกระทำผิดกฎหมาย และสร้างค่านิยมที่ผิดต่อสังคมด้วย
การสร้างค่านิยมที่ผิดต่อสังคม
จากการศึกษาของวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ากลุ่ม Gen Z ร้อยละ 74.8 เป็นผู้ที่ชอบแสดงตัวตนในรูปแบบนี้มากที่สุด หรือการนำเสนอภาพบุคคลที่ได้รับการปรับแต่งให้ดูดี จนกลายเป็นมาตรฐานความงามที่ไม่แท้จริง ซึ่งอาจสร้างค่านิยมที่ผิดให้กับเด็กและเยาวชนในสังคม และอาจกระทบต่อการก่อหนี้เพื่อนำมาซื้อสินค้าและบริการต่อ อย่างเช่น คอนเทนต์การอวดความรวย
จากตัวอย่างทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลเชิงลบของอินฟลูเอนเซอร์ต่อสังคมหลาย ๆ แง่มุม ซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีการออกกฎหมายเฉพาะอินฟลูเอนเซอร์อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น
- สาธารณรัฐประชาชนจีน: ออกระเบียบห้ามเผยแพร่ เนื้อหาในลักษณะอวดความร่ำรวย และการใช้ชีวิตแบบกินหรูอยู่สบายเกินจริง
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์: กำหนดให้อินฟลูเอนเซอร์ต้องจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาสื่อแห่งชาติ (NMC) เพื่อป้องกันการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย
- นอร์เวย์และสหราชอาณาจักร: กำหนดให้อินฟลูเอนเซอร์แจ้งรายละเอียดภาพบุคคลที่ใช้สำหรับการขายและโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย พร้อมแสดงเครื่องหมายกำกับ เพื่อลดปัญหาความกดดันทางสังคมต่อ มาตรฐานความงามที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน
- ประเทศไทย: มีความพยายามปรับปรุงการกำกับดูแลการนำสนอข้อมูลให้เท่าทันสื่อปัจจุบัน แต่ยังไม่มีกฎระเบียบสำหรับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์อย่างชัดเจน โดยมีกฎหมายควบคุม อาทิ พ.ร.บ. ว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รวมทั้ง อยู่ระหว่างพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน
ซึ่งหากประเทศไทยอยากจะมีกฎหมายที่ควบคุมอินฟลูเอนเซอร์ให้ชัดเจนก็ต้องเริ่มขยายการก ากับดูแลให้ครอบคลุมกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ และรก าหนดนิยามของสื่อออนไลน์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงแนวทางการก ากับดูแลที่สอดคล้องกับ การผลิตเนื้อหาของสื่อกลุ่มต่าง ๆ โดยอาจศึกษาจากกรณีตัวอย่างของกฎหมายและมาตรการของต่างประเทศ เพื่อน ามาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทสังคมต่อไป
ที่มา: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13634&filename=socialoutlook_report