สรุปภาพรวม Influencer Marketing Trends 2024

ในยุคที่ Creator Economy กำลังเติบโต และกลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่มาแรงแห่งยุค ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าใคร ๆ ก็เป็นครีเอเตอร์ได้ และผู้บริโภคก็มีความเชื่อในครีเอเตอร์มากกว่าแบรนด์ด้วย เช่นเดียวกับ Influencer Marketing ที่เริ่มขยายไปสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น RAiNMaker เลยจะมาแชร์ให้อ่านกันว่า เทรนด์ชาวเหล่าอินฟลูแต่ละแพลตฟอร์มจะเป็นยังไงในปี 2024!

ไม่ว่าคุณจะเป็นครีเอเตอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เป็นบทบาทที่เปรียบเสมือนนักครีเอทีฟ และนักสร้างสรรค์ทั้งคู่ ซึ่งต่างกันที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของการทำงานกับแบรนด์ เพราะอินฟลูเอนเซอร์จะโฟกัสไปกับงานที่ได้จากแบรนด์เป็นหลักมากกว่า

แต่สำหรับครีเอเตอร์เมื่อมีช่องของตัวเองแล้ว ก็สามารถทำอะไรกับคอนเทนต์ หรือสิ่งที่อยากทำได้ เว้นแค่มีสปอนเซอร์เข้าก็อาจมีพลิกแพลงให้เข้ากับความเป็นตัวเองบ้าง แต่ก็มีบางคนที่เรียกบทบาทของตัวเองได้ทั้งครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์เช่นกัน ซึ่งอุตสาหกรรมนี้ในปี 2024 จะเติบโตไปทางไหน และแพลตฟอร์มไหนบ้างที่ดีต่อโลกอินฟลูเอนเซอร์ มาเช็กกัน!

เทรนด์ Influencer Marketing 2024 

หากเทียบ 10 ปีก่อนการเป็นครีเอเตอร์ก็เขียนบล็อก สร้างเว็บ หรือบน Facebook และย่อยคอนเทนต์ลง Twitter หรือโพสต์ลง Instagram แต่ในตอนนี้เทรนด์คอนเทนต์มันไปไกลมากว่านั้น แม้จะอยู่ในหมวดหมู่เดิม แต่ก็แตกย่อยออกเป็น Niche Market มากขึ้น

ซึ่งแน่นอนว่าในปีหน้าก็น่าจะมีแพลตฟอร์มใหม่ ๆ หรือวิธีการสร้างรายได้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีก อย่างที่ TikTok เปลี่ยนให้ทุกแพลตฟอร์มต้องมีฟังก์ชันสร้างวิดีโอสั้นเป็นของตัวเอง ซึ่งเทรนด์ในปีหน้าก็พอจะทำให้มองภาพรวมออก ไม่ว่าจะเป็น

AI-Generated Content 

ปีหน้าคอนเทนต์ และความครีเอทีฟที่มีตัวช่วยอย่าง Generative AI จะมีมากขึ้น โดยเฉพาะ AI-Generated Content ที่จะมีบทบาทมากขึ้น อย่างที่เราเห็นว่าความสามารถของ AI นั้นไปไกล และเริ่มพัฒนาให้มีความมืออาชีพมากขึ้นตลอด

ทั้งเขียนสคริปต์ หรือเจนภาพ และส้รางสตอรีบอร์ดพร้อม Mock-up คลิปก็ทำได้ ซึ่งก็คงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ได้ประหยัดเวลา และใช้เวลาไปกับอะไรที่จำเป็นมากขึ้น แต่อย่างแรกที่ต้องมีก่อน ก็คือการรู้จักเครื่องมือ AI ให้มากที่สุด และทดลองใช้จนเจอเครื่องมือที่เหมาะกับตัวเอง

YouTube Investment 

วิดีโอสั้นอย่าง TikTok มาแรงก็จริง แต่วิดีโอยาวแบบ YouTube ก็ยังไม่ได้หายไปไหน และยังคงเป็นตัวเลือกที่เปิดไว้ดูตอนกินข้าว หรือฟังเสียงระหว่างขับรถของทุกคนในชีวิตประจำวันอยู่ ซึ่งในปีหน้าสนาม YouTube จะเดือด และมีการลงทุนมากขึ้น

ใครที่คิดว่าการทำวิดีโอสั้นนั้นยากเกินไป ส่วนใหญ่ก็จะมาเริ่มที่ YouTube แทน เพื่ออยากบอกเล่าอะไรที่ยาวกว่านี้ ทำให้ YouTube เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่น่าจับตามองไม่น้อยสำหรับตลาดอินฟลูเอนเซอร์

TikTok 

ไม่ว่าจะปีที่แล้ว ปีนี้ หรือปีต่อไป TikTok ก็กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลต่อหลาย ๆ อุตสาหกรรมมากขึ้น และแบรนด์ก็เริ่มหันมาเปิดช่อง TikTok ของตัวเองกันแล้ว ทำให้ปีนี้ที่ว่าแข่งขันกันดุเดือดอยู่แล้ว ปีหน้าก็จะเดือดขึ้นไปอีก

แม้หมวดหมู่คอนเทนต์ที่อยากทำจะดูเป็น Red Ocean และมีเกลื่อนไปหมด แต่ปฏิเสะไม่ได้เลยว่าความสม่ำเสมอ และคาแรกเตอร์ที่ต้องสร้าง เป็นสิ่งที่ต้องมีบน TikTok จริง ๆ

Affiliate Marketing 

การป้ายยาเริ่มแมสมากขึ้นในทุกวันนี้ เพราะไม่ว่าใครก็ทำได้ และสร้างรายได้จากการทำ Affiliate Marketing ได้มากขึ้น แต่! ในปีหน้าจะไม่ได้มีแค่แปะลิงก์เพราะผู้บริโภคเริ่มรู้ทัน ซึ่งต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายของเราให้ดีกว่าว่าชอบขายแบบโต้ง ๆ หรือขายแบบมีเรื่องราวให้น่าซื้อก่อนค่อยกดซื้อ

นอกจากนี้การทำ Affiliate ก็ทำให้ติด SEO ถ้ารู้จักระบบการทำมากพอ รวมถึงราคา สินค้า และคุณสมบัติก็ควรขายให้ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ด้วย ซึ่งหากคอยหาสินค้าใหม่ ๆ ตามเทรนด์ตลอด แค่ทำ Affiliate Marketing ก็สามารถสร้างคอมมูนิตี้ได้นะ

ประเภทคอนเทนต์ของ Influencer Marketing 

  • 76% User-generated content (UGC) 
  • 66% Gifting/seeding 
  • 60% Affiliate marketing 
  • 60% Sponsor Digital Ads feat. creators

ในโลกของโฆษณายุคเดิม (Traditional Ads) การแข่งขันเพื่อดึงดูดความสนใจไม่ได้มีมากเท่าในยุคนี้ เพราะแค่ขายสินค้า โปรยคุณสมบัติของสินค้าที่น่าสนใจก็จบ แต่โลกที่มีทั้งโซเชียล ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์มาผนวกด้วย ก็ยิ่งทำให้ยอด Impressions และ Reach ที่ต้องแข่งกันพุ่งไปอีก

ซึ่งประเภทคอนเทนต์ของ Influencer Marketing ส่วนใหญ่ก็มักจะมาจาก User-Generated Content เยอะที่สุด เพราะใคร ๆ ก็เป็นอินฟลูเอนเซอร์ และรีวิวของได้ รองลงมาก็คือการมีให้ของขวัญ หรือไอเท็มต่าง ๆ ไปจนถึงการทำ Affiliate Marketing จากการแปะลิงก์ และมีสปอนเซอร์มาคอลแลปให้ทำโฆษณาด้วย

คอนเทนต์ที่สร้างอิมแพคที่สุด 

  • #1 Sponsor Digital Ads feat. Creators 
  • #2  Affiliate Marketing 
  • #3 UGC on Owned media

หลังจากส่องประเภทของคอนเทนต์ Influencer Marketing ไป แน่นอนว่าก็ต้องมีจัดอันดับคอนเทนต์ที่สร้างอิมแพคต่อผู้บริโภคมากที่สุด ซึ่งอันดับหนึ่งก็คือการมีสปอนเซอร์มาคอลแลป อาจจะเพราะมีสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ก็การบูสต์โพสต์ที่ทำให้เห็นผลได้

ตามมาด้วย Affiliate Marketing ที่เน้นการสร้าง Conversion ผ่าน Affiliate Links และได้ค่าตอบแทนมาเป็นค่า Commission ซึ่งไม่ต้องมีต้นทุนสูงมากก็ทำได้

และอันดับสุดท้ายอย่าง UGC Content ที่สร้างคอนเทนต์ในช่องทางของตัวเอง ในแบบของตัวเองอย่างที่ใครหลาย ๆ คนทำ ก็ทำให้เห็นตัวตน และสไตล์ช่องชัดว่าจะมีคอนเทนต์แบบไหน พอสร้างภาพจำได้ระยะหนึ่ง ผู้บริโภคก็จะรู้แล้วว่าอยากรู้เรื่องนี้ ต้องไปหาดูคอนเทนต์ที่ช่องไหนนั่นเอง

Top #3 Marketing Metric ใช้วัดคอนเทนต์อินฟลู 

  • #1 Conversion 

หรือยอดขาย (Sales) หรือยอดซื้อสินค้า (Purchase)  ที่ทำได้จริง ซึ่งการวัดจะมี Conversion Rate ช่วยวัดการทำโฆษณาได้ และกลุ่มคนที่สำคัญที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ เท่านั้น โดยสามารถเพิ่ม Conversion Rate ได้จากการกระทำอื่น ๆ ได้ด้วย

เช่น วัดจากยอดคนสมัครสมาชิก ยอดคนลงทะเบียน ยอดเข้าเข้าชม ยอดการดาวน์โหลด หรือจำนวนข้อความที่ติดต่อเข้ามา เป็นต้น

  • #2 Impressions 

คือ ยอดที่คำนวณมาจากจำนวนการแสดงคอนเทนต์ หรือโพสต์ต่าง ๆ ที่จะนับจำนวนการเข้าชม หรือดูซ้ำด้วย ซึ่งจะมาจากทั้งจำนวนคนเห็นคอนเทนต์หน้าฟีดด้วยตัวเอง กลุ่มเป้าหมายที่ถูกกำหนดให้เห็น หรือจำนวนคนที่เห็นคอนเทนต์เพราะเพื่อนตอบสนองผ่านหน้าฟีดก็ได้

  • #3 ROAS (Return-on-Ads)

หรือเรียกว่า ผลตอบแทนจากการจ่ายค่าโฆษณา ที่ใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของโฆษณาโดยตรง ซึ่งใช้วัดจากรายได้เทียบกับรายจ่ายโฆษณา

ปัจจัยการเลือกอินฟลูเอนเซอร์เป็นพาร์ตเนอร์ 

  • 37% Campaign fit 
  • 32% Engagement Rate

การที่แบรนด์จะเลือกอินฟลูเอนเซอร์มาเป็นพาร์ตเนอร์ หรือสร้างแคมเปญ และโฆษณาร่วมกัน มักจะคำนึงถึงความเหมาะสมของช่อง และคาแรกเตอร์ของอินฟลูเอนเซอร์ก่อน ตามมาด้วยยอดเอ็นเกจเมนต์ที่จะได้รับจากการทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์คนนั้น ๆ

ปัจจัยการเลือกแบรนด์เป็นพาร์ตเนอร์ 

  • 56% Product Quality  
  • 26% Compensation  
  • 12% Brand Values

การที่อินฟลูเอนเซอร์จะเลือกทำงานกับแบรนด์นั้น ๆ เพื่อคอลแลปกันก็มักจะคำนึงเรื่องคุณภาพของสินค้าก่อน เพราะต้องเป็นสินค้าที่ขาย และพูดคุณสมบัติออกไป ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครอยากจะโกหก หรือสร้างคอนเทนต์ที่ไม่โปร่งใสกับผู้บริโภค

ตามมาด้วยค่าตอบแทนที่เหมาะสม และคุ้มค่ากับค่าแรง รวมถึงทุนที่ต้องเสียไปในการถ่ายทำ หรือสร้างโฆษณาชิ้นหนึ่งเพื่อลงโปรโมตในช่องของตัวเอง

ตามมาด้วยคุณค่าของแบรนด์ ซึ่งมักจะพิจารณาก่อนว่าแบรนด์นั้น ๆ สร้าางคุณค่า หรือมีภาพจำกับผู้บริโภคอย่างไร เพราะหากไปคอลแลปด้วยก็ต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ที่จะตามมาในอนาคตเป็นธรรมดา

อันดับแพลตฟอร์มสร้างคอนเทนต์ยอดนิยม 

  • 94% Instagram 
  • 62% TikTok 
  • 53% Meta (Facebook) 
  • 38% YouTube 
  • 26% Blog/Website 
  • 21% Twitter

แม้ฝั่งคอนเทนต์กลุ่มคอนเทนต์ครีเอเตอร์จะเป็นปีของ TikTok แต่สำหรับนักการตลาด อินฟลูเอนเซอร์ และแบรนด์แล้ว Instagram กลับมีอิทธิพลมากกว่า และฟังก์ชันในการขายที่หลากหลายกว่า เพราะมีทั้งโพสต์รูป และวิดีโอ ไปจนถึงสตอรี และ Reels ไว้สร้างเอ็นเกจเมนต์กับคนรุ่นใหม่สายไลฟ์สไตล์ได้มากกว่า แถมคุมโทนแอคเคานท์ของตัวเองให้น่าจดจำได้ด้วย

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ Instagram จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่นักการตลาด และแบรนด์เลือกใช้ถึง 94% ตามมาด้วย TikTok อีก 62% ที่กำลังไล่เลี่ยตามมาติด ๆ และ Facebook ที่ยังคงรักษาตำแหน่งแพลตฟอร์มยุคโซเชียลมีเดียสมัยบุกเบิกได้อยู่

อันดับแพลตฟอร์มที่ ROI ดี (Industry Leader) 

  • 46% Instagram
  • 23% TikTok  
  • 23% YouTube 
  • 8% X (Twitter)

ROI คือ Return on Investment ที่มีการวัดผลตอบแทนจากการลงทุน และประเมินความคุ้มค่าเพื่อวางแผนในอนาคตได้ ซึ่งแพลตฟอร์มที่ดูจะได้รับค่าตอบแทนได้ดีที่สุดก็เป็น Instagram ที่คุ้มค่ากับค่าตอบแทนมากที่สุดภึง 46% และ TikTok กับ YouTube อีก 23% ปิดท้ายด้วย X ที่ 8%

ซึ่งสังเกตได้ว่า 3 อันดับแรกของแพลตฟอร์มที่ให้ ROI ดีนั้นล้วนเป็นแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือ และฟังก์ชันวิดีโอเด่น ทั้ง Instagram ที่มี Instagram Reels และ TikTok ที่โตได้ด้วยการเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นอยู่แล้ว และ YouTube ที่มีทั้งวิดีสั้น และวิดีโอยาว เรียกได้ว่าอยากเพิ่มค่าตอบแทนจากการลงทุนต้องลองสร้างคอนเทนต์วิดีโอกันแล้ว

ฟีเจอร์ยอดนิยมบน Instagram 

  • 59% Reels 
  • 19% Stories 
  • 11% Static Polls 
  • 10% Collab Post 
  • <1% Live 

จากที่เห็นว่า Instagram กลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่ปังด้านการทำยอดขาย และให้ ROI ที่คุ้มที่สุด อันดับแรกก็เป็นผลมาจากคลิปวิดีโอบน Instagram Reels ตามมาด้วยสตอรี และโพลที่ให้โหวตเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์กับกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย ๆ นั่นเอง

 ประเภทคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์ 

  • Lifestyle 
  • Fashion 
  • Cosmetic 
  • Skincare 
  • Travel 
  • Haircut 
  • Fitness, Health & Wellness 
  • Food & Drink 
  • Art, Entertainment & Media

ปัจจัยที่ทำให้แบรนด์ได้รับเอ็นเกจเมนต์ 

  • 91% ของขวัญจากแบรนด์ 
  • 82% ส่วนลด หรือลิงก์ Affiliate 
  • 56% สินค้าที่มีการคอลแลป 

โดยสรุปแล้วภาพรวมวงการ Influencer Marketing ก็ต้องยกให้ Instagram ไปจริง ๆ เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นไลฟ์สไตล์ ง่ายต่อการเข้าถึงคน Gen Z และสร้างยอดขายให้ ROI ที่คุ้มค่าได้ โดยมี TikTok ตามมาติด ๆ ซึ่งจะเน้นไปทางครีเอทีฟ และความสม่ำเสมอในการทำคลิปมากกว่า แต่ Instagram ไม่ต้องทำคลิปทุกวันก็สามารถลงโพสต์ปกติได้ เรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อไม่น้อยเลยทีเดียว

📌 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่:

https://www.creatoriq.com/hubfs/2024%20Influencer%20Marketing%20Trends%20Report/2024%20Influencer%20Marketing%20Trends%20Report.pdf

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save