รวม Insight Trends 2022 จาก TikTok ชี้ทางแบรนด์และนักการตลาด

TikTok ได้ปล่อยรายงานใหม่ ผลงานโดยทีมกลยุทธ์แบรนด์จากทั่วโลกและในระดับภูมิภาคของ TikTok For Business เพื่อเป็นตัวช่วยชี้แนะแนวทางให้กับแบรนด์และนักการตลาดได้เรียนรู้อินไซต์ใหม่ ๆ และสามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ของตัวเอง ในการเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์บนแพลตฟอร์มได้ดีมากยิ่งขึ้น

โดยในรายงาน TikTok ได้เจาะลึกถึงอินไซต์ของ Community Commerce, Evolution of Sound, Creator Community และ Brand Safety รวมถึงพาไปดูข้อมูลอินไซต์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาเมื่อปี 2021 อีกด้วย

ส่องข้อมูลอินไซต์จากปี 2021

  • เสียงก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญมากขึ้น ทำให้อัตราการชมวิดีโอในหน้า For You สูงขึ้นถึง 47% เมื่อเทียบกับแฮชแท็ก
  • 88% ของผู้ใช้งานบอกว่าเสียงมีผลต่อประสบการณ์การใช้งาน
  • 96.96% ของการดูวิดีโอมากจากหน้า For You
  • เปิดตัว TikTok Shopping ส่งเสริมให้แบรนด์ได้เชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมาย
  • เปิดตัว TikTok World เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์แบบเสมือนจริง ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์กว่า 28 รายการ พร้อมผู้เข้าร่วม 40,000 คน

การเติบโตของคอนเทนต์แต่ละหมวด

สายท่องเที่ยว

เนื่องจาก TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอแนวตั้งแบบเต็มจอ ทำให้คอนเทนต์ท่องเที่ยวแบบเดิมต้องเปลี่ยนแปลงมาอยู่ในรูปแบบวิดีโอสั้นแนวตั้ง แต่ผลที่ได้คือทำให้วิดีโอดูมีความสมจริงมากขึ้น

ในส่วนของการเติบโตในภาพรวม จากปี 2020 ถึงปี 2021 คอนเทนต์สายท่องเที่ยวเติบโตมากขึ้นถึง 82% เลยทีเดียว และมีจำนวนการเผยแพร่วิดีโอเพิ่มขึ้น 146%

นอกจากนี้ เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คอนเทนต์ท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย พบว่าแท็กยอดนิยมเป็นการท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่น #เที่ยวไทย #ทริปไทยแลนด์ #ตกหมึกฟรี #diving และ ​#ชีวิตติดเกาะ เป็นแฮชแท็กท็อป 5 อันดับแรก

และแฮชแท็กที่กำลังมาแรง 5 อันดับคือ #เขาสก #เกาะขาม #รีวิวเชียงใหม่ #รีวิวโรงแรม และ #ฟินเวอร์

สำหรับเคล็ดลับที่ TikTok แนะนำสำหรับแบรนด์คือ

  • ใช้เทคนิคการตัดต่อวิดีโอเข้าช่วย เพื่อสร้างเอกลักษณ์ในการเล่าเรื่อง
  • จับมือกับครีเอเตอร์เพื่อช่วยกระตุ้นความสนในจกลุ่มเป้าหมาย และถือเป็นการโปรโมตแบรนด์ไปในตัว
  • นำเรื่องท่องเที่ยวไปผูกกับเรื่องอื่น ๆ เช่น บันเทิง อาหาร เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

สายแฟชั่น

ด้วยความเป็นแพลตฟอร์มแห่งความคิดสร้างสรรค์ เหมาะกับการเป็นพื้นที่แจ้งเกิดให้กับเหล่าครีเอเตอร์สายแฟชั่นเป็นอย่างดี แถมยังถือเป็นพื้นที่ ๆ คนมักใช้ในการอัปเดตเทรนด์ ไปจนถึงการเสพป๊อปคัลเจอร์อีกด้วย

ในส่วนของการเติบโตในภาพรวม จากปี 2020 ถึงปี 2021 คอนเทนต์สายแฟชั่นเติบโตมากขึ้นถึง 144% และมีจำนวนการเผยแพร่วิดีโอเพิ่มขึ้น 172%

นอกจากนี้ พบว่าแฮชแท็กยอดนิยมในหมวดสายแฟชั่น 5 อันดับแรกคือ #คลาสแฟชั่น #fashion #transformation #แต่งตัว และ #foryourpride

และแฮชแท็กที่กำลังมาแรง 5 อันดับคือ #แปลงร่างแป๊ป #แต่งตัวไปเที่ยว #เครื่องประดับ #แฟชั่นคนอ้วน และ #pose

สำหรับเคล็ดลับที่ TikTok แนะนำสำหรับแบรนด์คือ

  • ควรเริ่มสำรวจเทรนด์แฟชั่นจากแฮชแท็ก เพลง และการใช้ Transition ต่าง ๆ ในวิดีโอ เพื่อทำความเข้าใจ และหาแรงบันดาลใจ
  • ค้นหาวิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ ๆ เสมอ เพื่อใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะผู้ใช้ TikTok ส่วนมากชอบเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ
  • คิดนอกกรอบ ไม่เล่นมุกเดิมซ้ำ ๆ เพราะจะทำให้กลุ่มเป้าหมายจับทางได้ และเกิดอาการอิ่มตัวในคอนเทนต์ของแบรนด์ในที่สุด อาจเพิ่มคอนเทนต์ในรูปแบบเอ็กซ์คลูซีฟมากขึ้น เช่น เบื้องหลังการผลิตสินค้า หรือการถ่ายทำ เป็นต้น เพื่อช่วยดึงความสนใจมากขึ้น
  • นำเสนอผลิตภัณฑ์โดยพยายามเข้าถึงอารมณ์ของกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด เพื่อทำให้พวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับแบรนด์ได้ลึกซึ้งมากขึ้น จะได้เป็นการเพิ่มความภักดีต่อแบรนด์ได้เป็นอย่างดีมากขึ้นตามไปด้วย

สายการเงิน

เมื่อก่อนเรื่องการเงินมักถูกมองเป็นเรื่องจริงจัง และยากที่จะทำความเข้าใจ แต่ในปัจจุบัน ผู้คนกลับหันมาสนใจเรื่องเงินและการลงทุนมากขึ้น ทำให้เกิดครีเอเตอร์ในสายนี้มากขึ้นตามไปด้วย จนเกิดเป็นตคอนเทนต์สายการเงินที่ย่อยง่ายและสร้างสรรค์มากขึ้น

รวมถึงผู้ใช้ TikTok เองก็เปิดกว้างมากขึ้นในการทดลองใช้พอร์ตการลงทุนทางการเงินใหม่ ๆ โดยเฉพาะการเติบโตในด้านคริปโต ประกัน และเงินกู้ เป็นต้น

ในส่วนของการเติบโตในภาพรวม จากปี 2020 ถึงปี 2021 คอนเทนต์สายการเงินเติบโตมากขึ้นถึง 123% และมีจำนวนการเผยแพร่วิดีโอเพิ่มขึ้น 187%

นอกจากนี้ พบว่าแฮชแท็กยอดนิยมในหมวดสายแฟชั่น 5 อันดับแรกคือ #tiktokแนะแนว #รอบรู้เรื่องธุรกิจ #tiktokสายความรู้ #ลงทุน และ #การเงิน

และแฮชแท็กที่กำลังมาแรง 5 อันดับคือ #ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้ #เศรษฐกิจไทย #เทรดเดอร์ #เก็บออม และ #อสังหา

สำหรับเคล็ดลับที่ TikTok แนะนำสำหรับแบรนด์คือ

  • ส่วนมากในสายการเงินที่ประสบความสำเร็จมักเป็นโค้ชมากกว่าสอนให้ความรู้ ผ่านการนำข้อมูลเชิงลึกมาย่อยให้เข้าใจง่าย และใช้ภาษารวมถึงรูปแบบในสไตล์ TikTok ในการเล่าเรื่อง
  • นำเรื่องการเงินผูกเข้ากับเรื่องในชีวิตประจำวัน เพื่อทำให้คนดูรู้สึกว่าเรื่องการเงินเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน อาจเพิ่มความสนุกเข้าไปในคอนเทนต์ เพื่อให้ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
  • ใช้วิธีการเล่าเรื่องในรูปแบบใหม่ ๆ ด้วยฟีเจอร์และเครื่องมือบนแพลตฟอร์ม เพื่อให้คนดูสนุก และสร้างเอกลักษณ์ให้กับคอนเทนต์มากขึ้น

เจาะลึกอินไซต์ปี 2022

Community Commerce

เป็นตลาดที่ให้ความบันเทิง โดยครีเอเตอร์บน TikTok ผ่านแฮชแท็ก #TikTokMadeMeBuyIt ที่มาพร้อมกับการรีวิวผลิตภัณฑ์อย่างตรงไปตรงมา ทำให้สามารถสร้างความแตกต่าง และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

โดยสามารถแบ่งช่วงระยะเวลาในการทำ Community Commerce ได้ ดังนี้

  • ระยะจุดประกาย (Spark Phase): โพสต์วิดีโอนำเสนอผลิตภัณฑ์
  • ระยะแชร์ (Share Phase): คอมมูนิตี้มีส่วนร่วมสนทนาเกียวกับผลิตภัณฑ์
  • ระยะพุ่ง (Spike Phase): โพสต์วิดีโอนำเสนอผลิตภัณฑ์ซ้ำอีกครั้ง
  • ระยะสร้างความยั่งยืน (Sustain Phase): ดำเนินการใช้กลยุทธ์กับทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายสนใจอย่างต่อเนื่อง

ในด้านของผู้บริโภคพบสถิติความพึงพอใจในการซื้อสินค้าจาก TikTok ดังนี้

  • 73% ของผู้ใช้รู้สึกเชื่อมต่อกับแบรนด์มากขึ้น
  • 78% ของผู้ใช้พบว่า แบรนด์ที่ดีที่สุดคือแบรนด์ที่ทำงานร่วมกับผู้ใช้งานจริง
  • 70% ของผู้ใช้งานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้
  • 67% ของผู้ใช้งานบอกว่า TikTok กระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้น

Evolution of Sound

เสียงนับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่แบรนด์นำมาใช้ในการโปรโมตมากขึ้น โดยสถิติพบว่า

  • 66% ของผู้ใช้งานบอกว่า TikTok มีอิทธิพลต่อวงการเพลง
  • 73% ของผู้ใช้เชื่อมโยงเพลงบางเพลงเข้ากับ TikTok
  • วิดีโอที่ติดแฮชแท็ก #VoiceEffects มียอดชมกว่า 160 พันล้านครั้ง (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2021)
  • 57% ของผู้ใช้จดจำแบรนด์ได้มากขึ้น จากโฆษณาที่ใช้เสียงตรงไปยังกล้อง

Creator Community

แน่นอนว่าแพลตฟอร์มย่อมขับเคลื่อนได้ด้วยเหล่าครีเอเตอร์ หากจะให้ผลลัพธ์ออกมาดีทั้งกับกลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ แพลตฟอร์ม หรือแม้กระทั่งตัวครีเอเตอร์เอง TikTok เลยฝาก 5 เคล็ดลับในการร่วมงานกับครีเอเตอร์ ดังนี้

  • ค้นหาครีเอเตอร์ที่เหมาะกับแบรนด์
  • ทดลองทำงานร่วมกับครีเอเตอร์หลากหลายประเภท
  • ใช้เครื่องมือที่มีให้บน TikTok เพื่อประหยัดงบ
  • วางกลยุทธ์แบบ Always On สำหรับครีเอเตอร์
  • ไม่ปล่อยให้ครีเอเตอร์ทำงานฝ่ายเดียวหลังบรีฟเสร็จ

Brand Safety

เมื่อคอมมูนิตี้ใหญ่ขึ้น ก็จำเป็นต้องดูแลความปลอดภัยมากขึ้น พร้อมทั้งแพลตฟอร์มเองต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าเชื่อถือบนพื้นฐานความปลอดภัย ความโปร่งใส และความรับผิดชอบให้กับแบรนด์ เช่นกัน

โดย TikTok ได้ใช้ 4 เสาหลักเชิงกลยุทธ์ ที่เป็นแนวทางเพื่อความปลอดภัยของแบรนด์ ดังนี้

  • ทำคอมมูนิตี้ให้ปลอดภัย
  • สร้างโซลูชันที่ปลอดภัยต่อแบรนด์
  • ส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบ
  • ร่วมมือกัน สู่ความก้าวหน้า

 

สำหรับใครที่สนใจอยากศึกษารายละเอียดในรายงานฉบับนี้เพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://sf16-sg.tiktokcdn.com/obj/eden-sg/nultubfnuhd/WhatsNext_TH.pdf

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save