จากเดิมที่ครีเอเตอร์ใน Instagram มักจะกังวลเรื่องยอด Reach และยอด Followers ที่มีขึ้นลงไปบ้าง ทางแอปก็ได้ประกาศอัปเดตอัลกอริทึมหลักของตัวเองใหม่ โดยจะโฟกัสไปที่ออริจินัลคอนเทนต์ และทำให้คอนเทนต์ของครีเอเตอร์มีโอกาสถูกมองเห็นเพิ่มมากขึ้น
เช่นเดียวกับ Meta ที่พยายามจะรักษาความสัมพันธ์กับครีเอเตอร์บนแพลตฟอร์มมากขึ้น ส่วน Instagram ก็จะมีการอัปเดต ตามนี้
การลบบัญชีผู้รวมคอนเทนต์คนอื่น
แอกเคานท์ที่มีการรวบรวมคอนเทนต์ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ และ Reels ของคนอื่นมาไว้รวมกัน นับว่าเป็นคอนเทนต์ที่ไม่ได้ลงแรงหรือมีความคิดสร้างสรรค์อะไร Instagram จึงจะมีมาตรการในการลบบัญชีแอกเคานท์ที่ทำแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก 10 ครั้งขึ้นไปในช่วง 30 วันที่ผ่านมา โดยที่ไม่มีการปรับปรุง หรือสร้างออริจินัลคอนเทนต์ของตัวเอง
ยกเว้นแอกเคานท์ที่ได้รับอนุญาตโดยมีข้อตกลง หรือการอนุญาตที่ชัดเจนว่าให้สามารถลงโพสต์รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอจากคนอื่นได้ แต่ถ้าไม่มีการอนุญาตใด ๆ ทาง Instagram ก็จะตรวจพบจากสถานะภาพรวมแอกเคานท์ว่ามีคอนเทนต์ที่ไม่ได้มาจากต้นฉบับ
การเพิ่มป้ายกำกับให้กับเนื้อหาที่รีโพสต์
เพราะ Instagram ต้องการเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ให้กับครีเอเตอร์ที่มีออริจินัลคอนเทนต์มากขึ้น ซึ่งหากมีการตรวจพบว่าแอกเคานท์นั้นเป็นเจ้าของคอนเทนต์ออริจินัลโพสต์ไวรัล และดึงดูดผู้คนให้มามีส่วนร่วมหรือสร้างเอ็นเกจเมนต์เพิ่มได้
ก็จะมีการเพิ่ม Traffic ให้อีก รวมถึงสามารถรีโพสต์คอนเทนต์ไวรัลที่เป็นออริจินัลซ้ำด้วย เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงไดนามิกครั้งใหญ่ของ Instagram เลยก็ว่าได้
การแทนที่รีโพสต์ด้วยออริจินัลคอนเทนต์
หาก Instagram ตรวจพบคอนเทนต์ที่เหมือนกัน 2 ครั้งขึ้นไป ก็จะมีการแนะนำให้เฉพาะที่เป็นออริจินัลคอนเทนต์เท่านั้น ซึ่งหมายความว่ามีแค่ออริจินัลคอนเทนต์จริง ๆ ถึงจะอยู่รอดได้ และจะไม่มีผลหากการโพสต์ซ้ำมีการแก้ไขต้นฉบับ
เช่น ทำให้กลายเป็นมีม พากย์เสียงใหม่ หรือรีมิกซ์เพื่อแสดงรีแอ็กชัน แต่การใช้วิธีนี้ของ Instagram จะใช้เฉพาะเมื่อคอนเทนต์ออริจินัลค่อนข้างใหม่เท่านั้น
ครีเอเตอร์แอกเคานท์เล็กจะได้รับการเผยแพร่มากขึ้น
แทนที่จะให้ความสำคัญกับครีเอเตอร์ที่มียอด Followers เยอะ และโดดเด่นด้วยตัวเองไปแล้ว Instagram ก็จะหันมาโฟกัสแอกเคานท์ครีเอเตอร์ตัวเล็กมากขึ้นด้วย เพราะจากเดิมแอกเคานท์ที่รวมคอนเทนต์รีโพสต์ หรือมียอด Followers เยอะมักจะได้รับการแนะนำหน้าฟีดมากกว่า
แต่เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับครีเอเตอร์แอกเคานท์ใหม่ ๆ ได้มีโอกาสถูกมองเห็นมากขึ้น Instagram ก็จะสร้างแนวทางใหม่ให้ผู้คนเข้าถึงคอนเทนต์เหล่านั้นได้ด้วยวิธีการ
- Content understanding: อัลกอริทึมบน Instagram จะคัดกรองประเภทคอนเทนต์
- Audience matching: จับคู่เพื่อแมทช์หากลุ่มเป้าหมายที่ชอบคอนเทนต์
- Multistage exposure: หากลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนร่วมสร้างเอ็นเกจเมนต์กับคอนเทนต์มากที่สุด
- Content you see: เสิร์ฟคอนเทนต์ประเภทนี้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ และชอบคอนเทนต์อีกเรื่อย ๆ
แต่แน่นอนว่ายังไม่มีใครรู้หาก Instagram อัปเดตอัลกอริทึมแล้วผลลัพธ์จะช่วยให้ครีเอเตอร์ตัวเล็ก ๆ ถูกมองเห็นมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งคงจะได้รู้กันอีกที่ก็ต่อเมื่ออัลกอรอิทึมใหม่นี้ได้อัปเดตอย่างเป็นทางการแล้ว