ยืนเดี่ยว คอมมูนิตี้ของเหล่าคอมเมเดียนไทย ที่มีแพสชันสําหรับการเล่นตลกแบบสแตนด์อัปคอมเมดี้มาอยู่ด้วยกัน โดยเริ่มก่อตั้งมาจาก ‘ยู กตัญญู สว่างศรี’ ที่ดูเรื่องการสร้างงาน และหาคอมเมเดียนมาเล่น กับ ‘แก๊ป คณีณัฐ เรืองรุจิระ’ ที่คอยดูแลเรื่องแพลตฟอร์ม และผู้ชมจนกลายมาเป็น ‘ยืนเดี่ยว’ จนถึงทุกวันนี้
หากพูดถึงสแตนด์อัปคอมเมดี้ ชื่อแรกที่ใครหลาย ๆ คนนึกถึงก็คงจะเป็น ‘โน้ต อุดม แต้พานิช’ แต่ความจริงแล้วในยุคนี้เริ่มมีการสร้างคอมมูนิตี้ของสแตนด์อัปคอมเมดี้มากขึ้นแล้ว
ซึ่งยืนเดี่ยวนับเป็นวงการสแตนด์อัปคอมเมดี้แรกของประเทศไทยด้วย ที่สามารถรวมตัวเหล่าคนกล้าพูด ขึ้นมายืนจับไมค์บนเวทีกลางสปอร์ตไลท์ และไม่ได้มีแค่คนดังที่พูดเก่งเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ให้ผู้คนที่มีความฝันอยากเป็นสแตนด์อัปคอมเมดี้ได้มาเฉิดฉายประเดิมเวทีแรกกันด้วย
ผู้ชมของยืนเดี่ยว
หลายคนอาจจะมองว่ากลุ่มเป้าหมายที่ชอบสแตนด์อัปคอมเมดี้คือกลุ่มคนอินดี้ หรือ Niche Market แต่สําหรับคอมมูนิตี้ยืนเดี่ยว กลับเต็มไปด้วยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความแมส และสนใจสังคม รวมถึงเหตุการณ์บ้านเมืองด้วย จึงทําาให้ยืนเดี่ยวเปรียบเสมือนกับเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ไปแล้วดังนั้นการปล่อยการสื่อสารต่าง ๆ จึงสามารถทําาให้เข้ากับกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ง่าย เลยทําให้มีความหลากหลายในการสร้างสรรค์สคริปต์สําหรับสแตนด์อัปคอมเมดี้ด้วย
คอนเทนต์ของยืนเดี่ยว
เดิมทียืนเดี่ยวเริ่มมาจากกันจัดอีเวนต์แบบออนกราวด์ แต่เพราะการระบาดของโควิดเลยต้องปรับตัวมาเป็นการจัดสแตนด์อัปคอมเมดี้แบบออนไลน์แทน แต่ก็ยังคงคอนเซ็ปต์ที่ความหลากหลายในทุก ๆ แพลตฟอร์มให้คนได้ติดตามกันตลอด ไม่ว่าจะเป็น YouTube, Facebook, Instagram, TikTok หรือ Podcast ที่แม้พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายแต่ละแพลตฟอร์มจะต่างกัน แต่ยืนเดี่ยวสามารถดึงดูดให้พวกเขามารวมตัวกันได้เสมอเมื่อมีการปล่อยคอนเทนต์ออกไป
การทํางานร่วมกันกับแบรนด์ และยืนเดี่ยว
แม้ยืนเดี่ยวจะเป็นคอมมูนิตี้ของสแตนด์อัปคอมเมดี้แต่ก็สามารถนํามาเบลนด์กับแบรนด์ได้ไม่ยาก เพราะสแตนด์อัปคอมเมดี้คือการสร้างบรรยาศด้วยเรื่องเล่า และเรื่องเล่าที่ว่านั้นก็พลิกแพลงได้หลายแบบ ซึ่งยืนเดี่ยวก็เคยนําาแบรนด์มาเป็นธีมของอีเวนต์ และมีคอนเทนต์ที่ไทอินให้ได้ แม้จะเคยมีปัญหาจากการปิดการขายแต่ก็ยังเชื่อว่าหากแบรนด์ได้ลองมาสัมผัสบรรยากาศของสแตนด์อัปคอมเมดี้ฉบับ ‘ยืนเดี่ยว’ ก็จะไม่สงสัยเลยว่าทําไม Sense of Humor ถึงมีพลัง และดึงดูดผู้ชมให้คล้อยไปกับแบรนด์ได้ง่ายกว่าที่คิด
สิ่งที่ยืนเดี่ยวอยากบอกกับครีเอเตอร์สาย Stand-up Comedy
เหล่าคอมเมเดียนของยืนเดี่ยวไม่ได้มีแค่การสร้างภาพจําาว่าต้องเป็นแบบโน้ต อุดม แต้พาณิชย์เพียงคนเดียว แต่มีความหลากหลาย และเปิดกว้างในสังคมมาก เพราะเวทียืนเดี่ยวมีอิสระให้คนมาเล่นตลก และพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้กับคนที่มีความฝันอยากเป็นนักเล่าเรื่อง ผ่านการจัด ‘Young Man Can Standup’ สําหรับเฟ้นหาสแตนด์อัปหน้าใหม่ทั่วประเทศ โดยหวังว่าสักวันในประเทศไทยจะมีวัฒนธรรมและพื้นที่สําหรับเป็นเวทีให้เหล่าสแตนด์อัปคอมเมดี้ได้โชว์จนกลายเป็นอาชีพหนึ่งด้วย
แม้ในตอนนี้ยืนเดี่ยวจะเริ่มกลายเป็นคอมมูนิตี้ของสแตนด์อัปคอมเมดี้ เพราะผู้คนได้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นต่อสังคมแบบ ‘Freedom of speech‘ มากขึ้น
แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันไม่ง่ายเลย เพราะต้องเฟ้นหาเหล่าคนกล้าพูดบนเวที หรือเสาะหารสชาติใหม่ ๆ ของเรื่องเล่าที่ทำให้โชว์มีคุณภาพ และทำให้ผู้คนอยากเสียเงินมาดูยังคงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อพัฒนาต่อไป
ซึ่งหากสแตนด์อัปคอมเมดี้สามารถทำตามสิ่งที่ฝัน เปลี่ยนให้คอมมูนิตี้กลายมาเป็นวัฒนธรรมบางอย่างในประเทศไทยได้ ก็คงจะมีพื้นที่ให้กับครีเอเตอร์หรืออาชีพสายนี้มากขึ้นในอนาคต