ทุกวันนี้ชีวิตออนไลน์การเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณคนแทบจะต้องมีไปแล้วนอกเหนือจากการพบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้าในชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้ Social Network ทำให้เราสามารถสร้างสังคมที่มีการพบปะ พูดคุย ผ่านการไลค์ คอมเม้น และพิมพ์แชทคุยกัน คำถามก็คือ มี Pattern อะไรบางอย่างที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมการนอนที่มีผลต่อ Social Network หรือเปล่า ?
อาจจะฟังดูสมเหตุสมผลที่บอกว่า คนเล่นโซเชียลดึกมักจะมี activity และมี friend มากกว่าคนที่นอนไว แต่การทดลองแบบงานวิจัยจริงจังก็ยังไม่เกิดขึ้น จนมีนักวิจัยจาก Aalto University ในประเทศฟินแลนด์ได้ออก Paper ที่ชื่อว่า Social Network Differences of Chronotypes Identified from Mobile Phone Data พวกเขาลองทำการทดลองแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่นอนไวกับกลุ่มที่นอนดึก แล้วลงโปรแกรมบันทึกพฤติกรรมการเล่นโซเชียลเอาไว้ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้เช่น ระยะเวลาการเล่น จำนวนการ Interact กับคนอื่น การพูดคุยในแชท มาทำเป็น Graph วิเคราะห์ออกมา แล้วก็พบสิ่งที่น่าสนใจ
สิ่งนั้นก็คือ คนที่เล่น Social ดึก ๆ จะมีเพื่อนมากกว่า มีการ Interact กับคนอื่นมากกว่า และที่น่าสนใจก็คือคนที่นอนดึกนั้นจะเชื่อมคนที่นอนดึกกับนอนเร็วเข้าไว้ด้วยกันได้ด้วย (ในงานใช้คำว่าเป็น center หรือตัวกลาง)
งานวิจัยนี้ก็สรุปออกมาได้ง่าย ๆ ว่า คนเล่น Social ดึก ๆ จะมีความ active สูงและยิ่งเล่นดึกจะยิ่งได้พูดคุยกันเยอะกว่า ทางนักวิจัยก็ได้พยายามหาเหตุผลมาอธิบาย ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะว่าช่วงกลางคืนนั้นเป็นช่วงที่ Focus กับอย่างอื่นน้อย ในงานวิจัยใช้คำที่น่าสนใจมาก เรียกว่าพฤติกรรม social gatherings หรือการพบปะพูดคุยกันใน social network
สิ่งที่งานวิจัยนี้บอกเราในฐานะคนทำคอนเทนต์ก็คือ การลงคอนเทนต์ดึก ๆ อาจจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจเหมือนกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ Type ของคอนเทนต์ ก่อนหน้านี้เคยมีข้อมูลเชิงสถิติออกมาว่า คนที่เล่น Instagram (ที่ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงวัยรุ่น) จะมี message สูงสุดในช่วงประมาณ 3-4 ทุ่ม ในขณะที่ Facebook จะอยู่ที่ 3 ทุ่ม ซึ่งก็ค่อนข้างสอดคล้องกับงานด้านบน ทำให้ถ้าเราต้องการจะเข้าไปมี conversation กับคนกลุ่มนี้ เวลาลงคอนเทนต์ที่เหมาะสมก็น่าจะช่วยได้