ทุกวันนี้การ Live เป็นหนึ่งในรูปแบบของคอนเทนต์ที่เป็นที่นิยมมาก ๆ หลังจากที่ Facebook ได้เปิดตัวฟีเจอร์ Facebook Live มา ก็กลายเป็นว่าเป็นที่ชื่นชอบของคนไทย ซึ่งเราได้เห็นการ Live อะไรแปลก ๆ แต่กลับเป็นกระแสขึ้นมาเช่น การ Live ขายเสื้อผ้า ขายขนม ขายคอร์ส ขายอาหารทะเล ซึ่งสร้างสรรค์จนไม่พูดถึงไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการ Live อะไรที่ผิดกฏหมาย ดังนั้นคนไทยดูเหมือนจะชืนชอบการ Live มาก ๆ และมี Engagement กับมันเยอะจริง ๆ
แต่ในบทความนี้เราไม่ได้จะมาคุยกันเรื่องว่าจะ Live อะไรดีให้แปลก ๆ และคนชอบ แต่เราจะมาคุยกันเรื่องอุปกรณ์และการ Live ในทางเทคนิคกัน ซึ่งถ้าลองแบ่งแยกการ Live ออกเป็น 2 แบบอย่างง่ายแล้ว เราก็จะแบ่งการ Live ได้เป็น
- Live ผ่านแอพของ Facebook เองด้วยมือถือ, iPad, iPhone ต่าง ๆ
- Live ด้วย Software 3rd Party แล้วใช้การ Stream ขึ้นไปยัง Facebook Live
อย่างไรก็ดี การ Live แบบแรกคือ Live ด้วยมือถือนั้นเป็นอะไรที่ง่ายและสามารถทำได้ทันที ไม่ต้องมีความรู้ด้านเทคนิคมากก็ทำได้ แค่เอามือถือของเรามา เปิดเพจของเรา กด Live พิมแคปชั่นก็สามารถเริ่มต้น Live ได้ทันที ซึ่งการ Live ขายของ หรือ Live พาชมนู่นนี่ทั่ว ๆ ไปก็จะใช้วิธีแบบนี้
แบบที่สองก็คือการใช้ Software ช่วย ซึ่งหนึ่งใน Software ยอดนิยมเลยก็คือ OBS Studio หรือ Open Broadcasting Software Studio ซึ่งตัวนี้จะเพิ่มความสามารถได้ในระดับที่เป็น Studio สามารถเอากล้องมาต่อได้ Capture หน้าจอมาจากจอของเราได้ และ Mix เสียง เล่น ภาพ, วิดีโอจาก Source อื่น ๆ ได้ ฟังดูเหมือนจะอลังแต่จริง ๆ แล้ว OBS ไม่ได้ยากกว่าที่คิด บางคนลงทุนใช้ OBS เพียงเพราะต้องการภาพที่ชัดกว่า (เพราะ OBS สามารถต่อกับกล้องของเราได้) และ Mix เสียงได้ ซึ่งในงานบางงาน การใช้ OBS อาจจะสะดวกกว่า Live ผ่านแอพของ Facebook อีก
แล้วรู้ได้ไงว่าควรใช้แบบไหน
คำถามแนวนี้มาอีกแล้วว่าจะใช้อะไรดี ซึ่งใครที่อ่านบทความของผู้เขียน จะรู้ว่าเราจะไม่มาฟันกันว่าจะทำงานไหนต้องใช้อะไร แต่เราจะมา Guide ไอเดียกันว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แล้วข้อจำกัดมีอะไรบ้าง
ก่อนอื่นสิ่งที่น่าสนใจก็คือต้องบอกว่าแม้ว่าจะเป็นการ Live ผ่านแอพของ Facebook เอง แต่เดี๋ยวนี้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ออกมาเยอะมาก เรามีมือถือเครื่องเดียวก็จริง แต่ถ้าเราไปซื้อไมค์มาต่อ เราก็จะทำการ Live แบบที่ไม่ต้องถือมือถือใกล้ ๆ ให้ได้ยินเสียง หรือ Live ในที่ที่เสียงดังได้ เช่น ในงาน Event, ในสถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งไปซื้อเลนส์มือถือดี ๆ มาก็จะทำให้มุมมองของกล้องมือถือกว้างขึ้น เหมือนใช้เลนส์ wide ของกล้อง DSLR, Mirrorless ได้ ซึ่งบอกเลยว่าการมีอุปกรณ์พวกนี้ติดตัวจะทำให้เราคล่องตัวมาก แม้กระทั่งเพจใหญ่ ๆ หรือช่อง TV ก็ตาม บางครั้งที่ต้อง Live ในสถานการสำคัญ หรือในงาน Event แค่เรามี มือถือกล้องชัด ๆ ไมค์แยก เน็ตดี ๆ ก็สามารถ Live ได้แล้ว
แล้ว OBS มีอะไรที่เพิ่มเติมเข้ามาที่แอพของ Facebook ทำไม่ได้ ต้องบอกได้เลยว่าเยอะมาก! แต่ก็แลกกับ Learning Curve ที่อาจจะต้องแลกมา เป็นไปไม่ได้เลยว่า Live กับ OBS เราจะต้องเจอกับปัญหาเช่น เสียงไม่เข้า, ภาพไม่มา หรืออะไรจุกจิก แต่พอเราลองเล่นมันไปเรื่อย ๆ ประสบการณ์ก็จะสอนเราเอง ซึ่งตอนแรก Software แนว ๆ นี้นั้นจะฮิตสำหรับการนำมา casting หน้าขอขึ้นไป เช่นการ cast video game แต่ภายหลังบรรดา publisher เริ่มเห็นข้อดีของมันและนำมาใช้ในการ stream รายการต่าง ๆ จะเห็นว่า ถ้าเราต้องการ production ขึ้นมาหน่อย ๆ เช่น อยากใส่วิดีโออินโทรรายการ อยากแบ่งเป็น 2 จอ จอภาพ จอหน้าเราอันนึง จอคอมเราอันนึง หรืออยากใส่เสียงประกอบ ใส่ logo ช่อง (ซึ่ง Facebook Live ในแอพทำไม่ได้) การใช้ OBS ก็ช่วยให้เราได้สิ่งที่ต้องการมา
สรุปข้อดีข้อเสียและแนวทางการใช้ของแต่ละแบบ
ประเด็นก็คือ ในแต่ละแบบจะมีสิ่งที่อีกแบบทำไม่ได้ ในขณะที่ Live ผ่านแอพ จะง่าย สะดวก เร็ว เดินถือได้ แต่การใช้ OBS นั้นจำเป็นต้องมีคอม แต่การใช้ ฟีเจอร์ต่าง ๆ เยอะกว่า แต่อาจจะแลกมากับการที่ต้องอยู่กับที่ (แต่ก็พอจะมีวิธีอยู่ ซึ่งเราจะมาสอนกันในบทความตอนต่อไป) คงไม่มีใครเดินถือกล้องแล้วเอา MacBook วิ่งตาม (ฮา) สรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
- Facebook Live ธรรมดาบนแอพ เพียงพอกับการใช้งานทั่วไป และถ้าคิดว่ามีข้อเสีย เช่น เสียงเบา ก็แก้ไปเป็นกรณี เช่น ซื้อไมค์แยกเพิ่ม
- ในการ Live ที่ต้องการ Production ต้องการความเป็นทางการ มีคลิป
- Facebook Live บนแอพคล่องตัวมาก และไม่น่าเกลียดหากจะใช้ เช่นการไป Live ในงาน Event, งานลูกค้า งานพาไปเที่ยว หรือในต่างประเทศ ถ้าเน็ตดี ก็ไม่มีอะไรต้องห่วง เพราะไม่ต้อง setup อะไรมากมาย ไม่มีปัญหาเลย ปัญหาเดียวที่จะเจอคือเน็ตกาก
- OBS นั้นยิ่งใช้จะยิ่งเก่ง ใช้ตอนแรกอาจจะงง ๆ แต่พอทำไปเรื่อย ๆ จะพบว่าเป็นไปได้ทุกอย่าง เพียงแต่อาจจะต้องอาศัยท่ายาก เช่น ผู้เขียนเคยทำ Live แบบ 2 คนไม่อยู่ที่เดียวกัน แต่ใช้ Google Hangout ช่วย โดยในห้องสนทนามี 2 คน แล้วมีบัญชีที่ 3 เป็นตัวจับเสียง เพราะ OBS บน Mac จะไม่อนุญาตให้เรา input เสียงจากคอมเรา กับใน browser พร้อมกัน
- ในการทำ Live นั้นอย่าสนอุปกรณ์หรือ Software มาก ให้ดูที่วัตถุประสงค์ว่าเราต้องการอะไร เพราะใช้ของเยอะไปยิ่งสร้างปัญหา
ดังนั้นถ้าจะถามว่าแบบไหนดีกว่ากันนั้นตอนไม่ได้แน่ ๆ แต่ที่สำคัญก็คือ เราให้เราดูที่วัตถุประสงค์ของงาน และ margin ความเสี่ยงของการพัง เช่น ใช้แอพมือถือ อย่างมากก็เน็ตไม่ดีจะเป็นปัญหา แต่ใช้ OBS ถ้าไม่โปรพอก็อาจจะเป็นปัญหา ต่อให้โปรมาก ๆ ก็ยังมีปัญหาเข้ามาได้ ก็ลอง compensate กันไป ว่าอะไรดีสำหรับกรณีไหน เพราะอย่าลืมว่า คนดูอาจจะไม่ได้คาดหวัง production อะไรขนาดนั้น เพียงแค่เรามอบสิ่งที่เขาต้องการได้ แล้วสิ่งที่เขาต้องการคืออะไร นั่นเป็นหน้าที่ที่คนทำคอนเทนต์ต้องคิดเองนะครับ
อ่านเพิ่มเติม – แชร์ประสบการณ์ทำ Live สองทุ่ม ยันสิบโมงเช้า ครบรอบ 50 ปี Apollo เบื้องหลัง วิธีคิด อุปกรณ์
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Rainmaker