กลายเป็นกระแสฮิตข้ามวัน และกลายเป็นดราม่าในข้ามคืน สำหรับแอปสร้างภาพจาก AI ชื่อดัง Loopsie ที่เปลี่ยนภาพปกติให้กลายเป็นภาพการ์ตูนญี่ปุ่นสุดน่ารัก
ซึ่งกระแสเริ่มมาจากที่ดาราและครีเอเตอร์หลายคนลองใช้แอป Loopsie แปลงภาพของตัวเองกลายเป็นภาพการ์ตูนญี่ปุ่น จนได้รับความสนใจมาก ทำให้แบรนด์ต่างๆ ที่กลัวตกกระแส เริ่มนำภาพมาเล่นด้วยเช่นกัน แต่ภายในไม่กี่วันหลังความฮิต ก็เริ่มมีกระแสโต้กลับจากโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเรื่องของลิขสิทธิ์ในการใช้ภาพจาก AI มากมาย
ต้องอธิบายว่า การที่ AI สามารถสร้างภาพให้สวยงามได้ จำเป็นต้องมีการนำภาพของศิลปินท่านอื่นๆ มาป้อนเป็นตัวอย่างก่อน จน AI เก่งพอ ถึงค่อยสร้างภาพออกมาได้
นั่นหมายความว่า ภาพที่เราเห็น เส้นผมอาจจะมาจากภาพศิลปิน A, หน้าอาจจะมาจากศิลปิน B, ฉากอาจจะมาจากศิลปิน C
แต่ปัญหาคือ ศิลปินที่เป็นต้นฉบับภาพเหล่านี้ กลับไม่ได้ค่าลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้แต่อย่างใด ซึ่งแอป Loopsie ใช้โมเดลจาก Stable Diffusion ที่กำลังโดนฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์กันอยู่ด้วย
คนเจนนี่เข้าใจได้นะว่าเจนกันเล่น แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเพจใหญ่ เพจแบรนด์สินค้าต่างๆ ถึงกล้าเจนเอไอมาใช้ในการทำคอนเทนต์โปรโมตร้านตัวเอง
— 🌑🌕 (@aeshlynn) August 17, 2023
Loopsie ใช้ stable diffusion เป็นโมเดล AI ที่เทรนจากฐานข้อมูล LAION เต็มไปด้วยรูปลิขสิทธิ์ที่ได้มาโดยไม่ได้รับการยินยอม https://t.co/QFzLZ6hN35 pic.twitter.com/ykHIUgKyEL
— A of Spear (@aofspear) August 17, 2023
📢 เสียงจากโลกออนไลน์
“Loopsie ใช้ stable diffusion เป็นโมเดล AI ที่เทรนจากฐานข้อมูล LAION เต็มไปด้วยรูปลิขสิทธิ์ที่ได้มาโดยไม่ได้รับการยินยอม” – @aofspear
“ขออนุญาตนะคะ เห็นว่าใช้ AI Generated Image คือช่วยเปลี่ยนไปใช้รูปอื่นที่ไม่ได้มาจาก AI ได้ไหมคะ รูปที่ generated by AI มันดูง่าย&เร็วจริง แต่ประเด็นมันทำออกมาได้จากการถูกป้อนข้อมูลด้วยผลงานที่ศิลปินวาดด้วยตัวเอง ซึ่งไม่ต่างจากการขโมยผลงาน เป็นปัญหาที่แรงงานนักวาดเจออยู่ค่ะ” – @TiaraMagica
หรือจากโพสต์ที่มาจากคณะศิลปะมหาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง ก็ได้รับคอมเม้นที่ผิดหวังมากมาย
“Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts
หวังว่านี่ไม่ใช่ทิศทางของ มหาลัย และ คณะ จริงๆนะครับ แต่ถ้าใช่ก็น่าเสียดาย และน่าอับอายพอสมควร”
“รู้แหละว่าอยากตามเทรนด์ แต่เกรงใจชื่อคณะนิดนึงก็ดี”
ทีมงาน Rainmaker ตรวจสอบพบว่า หลายแบรนด์ที่เล่นกระแสภาพจาก Loopsie AI เริ่มได้รับคอมเม้นแนวลบมากขึ้นเรื่อยๆ
รวมถึงบางกิจกรรม บางแคมเปญที่สร้างภาพจาก AI ตามกระแส ต่างเริ่มลบโพสต์ที่สร้างจาก AI ออกไป เพราะกลัวกระแสตีกลับที่ออกมา
พระเจ้า กุถามจริงๆเลยนะ ไม่มีงานนักศึกษามาใช้โปรโมทหรอ pic.twitter.com/a2LRFVnmVw
— DD โปรดจ้างคอมมิชฉัน (@Dujdao_ori) August 17, 2023
:: คำแนะนำสำหรับการใช้ภาพจาก AI ที่ถูกลิขสิทธิ์ ::
เชื่อว่าการสร้างภาพจาก AI จะกลายเป็นเทรนด์ที่ถูกหยิบมาใช้อย่างต่อเนื่องหลังจากนี้
แต่ในเรื่องของลิขสิทธิ์ ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง โดยเฉพาะกับแบรนด์สินค้า หรือกิจการต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือสร้างภาพจาก AI ที่ได้รับรองว่านำภาพทั้งหมดมาอย่างถูกต้อง ถูกลิขสิทธิ์ก็มีหลายค่าย เช่น
– Adobe Firefly
– Shutterstock AI
– Getty Image AI
ส่วนเครื่องมือที่ยังไม่มีการพิสูจน์เรื่องลิขสิทธิ์ของภาพนั้น RAiNMaker ขอแนะนำให้แบรนด์หรือครีเอเตอร์อาจจะต้องระวัง หรือตรวจสอบให้ดีก่อนใช้งาน
ขออนุญาตนะคะ เห็นว่าใช้ AI Generated Image คือช่วยเปลี่ยนไปใช้รูปอื่นที่ไม่ได้มาจาก AI ได้ไหมคะ รูปที่ generated by AI มันดูง่าย&เร็วจริง แต่ประเด็นมันทำออกมาได้จากการถูกป้อนข้อมูลด้วยผลงานที่ศิลปินวาดด้วยตัวเอง ซึ่งไม่ต่างจากการขโมยผลงาน เป็นปัญหาที่แรงงานนักวาดเจออยู่ค่ะ
— tiara 🫐 (@TiaraMagica) August 18, 2023