อย่างที่รู้กันดีว่าหลายปีมานี้ Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Meta (Facebook และ Instagram) มักจะออกมาขอโทษต่อหน้าสื่อ หรือสาธารณะชนหลายครั้ง หรือแม้กระทั่งการขึ้นศาลเพื่อรับผิดชอบในฐานะที่เขาเป็นผู้สร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่รวมหลายพันล้านคนอยู่ในนั้น
ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Mark Zuckerberg ได้ให้สัมภาษณ์กับ Acquired podcast ว่า วันที่เขาเอาแต่พูดขอโทษนั้นต้องจบลงได้แล้ว พร้อมกับใส่เสื้อตัวอักษรภาษกรีกที่แปลว่า “learning through suffering” ขึ้นเวทีเพื่อโชว์ตัวครั้งนี้ด้วย
เพราะในฐานะซีอีโอผู้ก่อตั้ง Meta นั้นเขาไช้เวลาไปกับการขอโทษอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้คนคิดว่าการที่เขามาปรากฏตัววันนี้อาจจะมีการพูดขอโทษต่อสาธารณะมากกว่าจะมากล่าวอะไรไปแล้ว ซึ่งบางปัญหา Mark Zuckerberg ก็คิดว่ามันอยู่เหนือการควบคุม แต่แค่ต้องหาคนมารับผิดเรื่องนี้เท่านั้น และคน ๆ นั้นก็มักจะเป็นเขาเสมอ
โดยเฉพาะในเรื่องการเมืองที่หลายคนคิดว่าทางแพลตฟอร์มเป็นคนทำ หรือควรจะรับผิดชอบ ก็มีคนจำนวนมากที่อยากใหเแพลตฟอร์มเป็นผู้แก้ไขปัญหา หรือแค่อาจจะต้องการให้ใครสักคนมารับผิด และถูกตำหนิแทนเท่านั้น
อย่างกรณีที่คลุมเครือกับช่วงที่ Facebook โดนวิจารณ์ว่ามีส่วนทำให้ Donald Trump ชนะการเลือกตั้งปี 2016 โดยบริษัทที่ชื่อว่า Cambridge Analytica ได้นำข้อมูลของผู้ใช้ Facebook ไปใช้เพื่อโน้มน้าวผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เลือกทรัมป์
นอกจากนี้ยังมีผู้มีอิทธิพลจากต่างประเทศใช้แพลตฟอร์มนี้ เพื่อโน้มน้าวการเลือกตั้งและสร้างความแตกแยกทางการเมืองด้วย ข่าวเหล่านี้ก็เลยทำให้ Facebook ต้องตกอยู่ในการวิจารณ์ในแง่ลบมาเป็นเวลานาน จน Mark Zuckerberg ต้องไปให้การเป็นพยานต่อรัฐสภา
แต่ในตอนนี้ Mark Zuckerberg ก็ได้หาจุดสมดุลที่เหมาะสมระหว่างประเด็นทางการเมืองได้แล้ว พร้อมส่งจดหมายถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกันเพื่อขอโทษที่เซ็นเซอร์ และลบข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19ในปี 2020 เนื่องจากถูกรัฐบาลกดดัน
โดยมองว่าความผิดพลาดครั้งใหญ่ในช่วง 20 ปีของตัวเอง คือการประเมินสถานการณ์เรื่องการเมืองผิดไป และแบกรับอยู่คนเดียวมาโดยตลอด
ซึ่งเขาเองก็เสียใจที่ไม่ได้พูด หรือแสดงออกมาอย่างชัดเจนตั้งแต่แรกเกี่ยวกับแรงกดดันจากเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงเวลานั้น และในอนาคตก็คาดว่าเราจะได้เห็น Mark Zuckerberg เวอร์ชันใหม่ที่ตอบโต้กับเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมได้ดีขึ้น และลดบทบาท
พร้อมโฟกัสกับการให้ Meta เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ และต้องการจะสร้างโปรดัก AR / VR หรือพัฒนาด้าน AI Open Source ของตัวเองต่อไป