แจกทริก Marketing to Gen Z 2023 ทำการตลาดอย่างไรให้ทันคนเจนใหม่

Gen Z ในตอนนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ทุกอุตสาหกรรมต้องโฟกัสเท่านั้น แต่พวกเขายังเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อ เทรนด์ และแนวโน้มของโลกในปี 2023 อีกด้วย แล้วเราจะวางแผนการตลาดต่อไปอย่างไรให้ตามทันพวกเขา? วันนี้ RAiNMaker มีคำตอบให้ครบ จบ ในคอนเทนต์เดียวแล้ว!

แต่ก่อนที่จะเริ่มวางแผน หรือมีแนวคิดการตลาดใหม่ ๆ มัดใจชาว Gen Z เราอยากจะพามาทำความรู้จัก Gen Z พร้อมที่มาที่ไปถึงพฤติกรรมของพวกเขาก่อน

เพราะยิ่งเราเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถเจาะลึกไปถึงอินไซต์ และกลายเป็นแบรนด์ที่พวกเขาอยากเข้าหาได้ไม่ยาก

ซึ่งเทรนด์ที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดแล้ว การวางกลยุทธ์อย่างรู้ใจกับกลุ่มคน Gen Z ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมในช่วงนั้นด้วย และแบรนด์ควรทำการตลาดอย่างไรให้ใช่ทั้งกับกลุ่มเป้าหมาย และเหมาะกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ ตามไปดูกันเลย!

รู้จักกลุ่ม Gen Z เวอร์ชัน 2023

โดยพื้นฐานแล้วหลายคนจะมีความเข้าใจกลุ่มคน Gen Z แตกต่างกันไป ทั้งการหันมาสนใจเรื่องสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเห็นคุณค่าของสิทธิ และเสียงของตัวเองมากขึ้น

แต่ในปี 2023 พวกเขาจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีอิทธิพลมากขึ้นไปอีก เพราะนอกจากพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียจะทำให้เกิดเทรนด์ต่าง ๆ ตามมาแล้ว หลาย ๆ แบรนด์ ไปจนถึงกลุ่มคนรุ่นก่อนก็ต้องเริ่มมีการปรับตัวเพื่อตามโลกให้ทันด้วย

เห็นคุณค่าของความหลากหลายทางเชื้อชาติ

คนยุคใหม่มองความหลากหลายเท่ากับความเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ หรือศาสนา ทุกคนมีสิทธิมนุษยชนเหมือนกัน และไม่มีใครด้อยไปกว่าใคร และทุกคนควรได้รับการยอมรับ แม้จะแตกต่างด้วย

แบรนด์ไหนที่ไม่ให้คุณค่าเรื่องของความแตกต่าง มีกำแพง มีชนชั้น หรือมีการแบ่งแยก แบรนด์นั้นจะถูกปิดกั้นจากโซเชียลของพวกเขาทันที

เชื่อมั่นในเสรีนิยม และอิสระทางความคิด

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสนิยม หรือความคิดอิสระแบบเสรีนิยม กลุ่มคน Gen Z มองว่าทุกคนมีเหตุผลของตัวเองที่จะแสดงออกทางความคิด หรือแสดงออกทางตัวตนแบบใดแบบหนึ่ง

ฉะนั้นพวกเขาจะเชื่อมั่นในความคิดเห็นของตัวเองสูง รวมถึงโดนโน้มน้าวจากความคิดส่วนใหญ่ในสังคมโซเชียลมีเดียได้ง่ายเช่นกัน

ไม่มีกรอบเรื่องเพศ และวัฒนธรรม

ในปัจจุบันทุกเพศต่างก็มีชื่อเรียก และมีความหลากหลายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้ LGBTQIA+ ขึ้นมา รวมถึงด้านวัฒนธรรมก็มีให้เห็นมากขึ้นทั่วโลกด้วย

และการที่แบรนด์พร้อมจะเปิดรับ และทำความเข้าใจความแตกต่างในทุก ๆ กลุ่ม และมีสินค้าสำหรับพวกเขา โดยที่ไม่แบ่งแยกเพศ หรือสนับสนุนความหลากหลายนี้ ก็จะยิ่งได้รับการยอมรับ เพียงแค่ต้องเกิดมาจากความเข้าใจจริง ๆ ไม่ใช่เพราะอยากโปรโมตการขายเท่านั้น

ตั้งคำถามกับความคุ้มค่าเสมอ

โปรโมชัน ส่วนลด และการเปรียบเทียบราคา คือปัจจัยหลักที่สามารถดึงดูดความสนใจกลุ่มคน Gen Z ได้มากที่สุดว่าคุ้มค่ากับการได้เป็นเจ้าของสิ่งนั้นหรือไม่

นี่จึงเป็นเหตุผลให้แบรนด์ควรเริ่มมีการคอลแลปกับส่วนลด และโปรโมชันบนแอป E-Commerce ต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อที่จะกลายเป็น Top of Mind ที่คนกลุ่มนี้นึกถึงได้

ซื้อขายบนสมาร์ตโฟนเป็นหลัก

ในยุคที่สมาร์ตโฟนเป็นทุกอย่าง โดยเฉพาะสถานะการเป็นธนาคาร และกระเป๋าตังค์เคลื่อนที่ ทำให้กลุ่มคน Gen Z ยกทั้งชีวิตไปไว้ในสมาร์ตโฟนแล้ว

ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบ วิชวล หรือฟังก์ชันในการขายสินค้า ก็ควรนำไปลงในแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายของตัวเองให้มากที่สุด

ไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube, Instgram,Twitter หรือ TikTok ทุกแพลตฟอร์มต่างก็มีเครื่องมือ และฟังก์ชันที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายคนละแบบ และหน้าที่ของแบรนด์ก็มีหน้าที่ทำความเข้าใจธรรมชาติของแพลตฟอร์มด้วย

โพสต์ในโซเชียลมีอิทธิพลในการตัดสินใจ

ทุกวันนี้โลกของการตลาด และแบรนด์ขับเคลื่อนด้วย Micro Influencers เพราะการรีวิวสินค้าที่มีความเป็นกันเอง มีความเข้าถึงง่าย และน่าเชื่อถือมากกว่าใช้ดาราที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว

และสิ่งที่ฮิตที่สุดในการตลาดเพื่อโปรโมตสินค้า ก็คงไม่พ้นการได้เห็นบน TikTok หรือเธรดขายของใน Twitter เพราะเป็นโลกที่กลุ่มคน Gen Z ใช้ชีวิตประจำวันด้วยทุกวันกับ 2 แพลตฟอร์มนี้ เป็นเหตุให้ Social Commerce เริ่มเติบโตไล่เลี่ยกับ E-Commerce มากขึ้น

กลยุทธ์การตลาดมัดใจ Gen Z

 

หลังจากได้รู้จักกลุ่มคน Gen Z กันไปแล้ว เราจะพามาสรุปกลยุทธ์การตลาดเตรียมมัดใจชาว Gen Z 2023 กันบ้าง เรียกได้ว่าใครรู้ก่อน เตรียมตัวก่อน ได้เปรียบในสนามแข่งขันนี้แน่นอน

Value First, Discount Second 

หากต้องการได้ยอดเอ็นเกจเมนต์จากชาว Gen Z อันดับแรกที่แบรนด์ต้องมีคือการลดราคา โดยใช้โปรโมชันเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้พวกเขาต้องการสินค้า

และพอกระตุ้นด้วยราคา และส่วนลดแล้ว หากอยากให้ชาว Gen Z จดจำแบรนด์ได้ โดยไม่ใช่แค่ซื้อสินค้าแล้วก็จบ แบรนด์ควรสร้างเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ และเล่าถึงตัวแบรนด์ได้ ตั้งแต่ที่มาของแบรนด์ไปจนถึงกระบวนการผลิตจนออกมาเป็นสินค้าเลยยิ่งได้เปรียบในการตลาด

  • แบรนด์ขายอย่างเดียวอยู่ไม่ได้ 
  • การสร้างความเชื่อใจคือสิ่งสำคัญ 
  • ทุกการขายต้องมีเรื่องเล่า  
  • ให้ความสนใจแนวคิด และกระบวนการผลิต 
  • มีส่วนลด และโปรโมชันเป็นแรงจูงใจต่อแบรนด์

Speak same language 

ในยุคที่หลาย ๆ อย่างเริ่มมีความแฟนตาซีมากขึ้น แม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในทุกวันนี้ก็เริ่มมีการใช้คำย่อ และคำเฉพาะกลุ่มขึ้นมาในโลกโซเชียล ซึ่งหน้าที่แบรนด์ก็คือการตามให้ทันเทรนด์ภาษาเหล่านั้น เพราะเราจะได้คุยภาษาเดียวกันกับพวกเขา

นอกจากภาษาแล้ว เทรนด์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันจนเป็นเรียลไทม์ก็สำคัญ และแบรนด์ก็ควรหาช่องให้ตัวเองได้ก้าวเข้าไปในกระแสสังคมบ้าง

ซึ่งการเล่นเรียลไทม์คอนเทนต์ต้องอาศัยความครีเอทีฟผสมเข้าไปด้วย ฉะนั้นจึงควรระมัดระวังในการฝืนเล่นจนเกินไป อาจจะทำให้ชาว Gen Z รู้สึกว่ากลายเป็นแบรนด์ที่ตามแต่กระแสได้

  • ตามภาษายุคใหม่ให้ทัน 
  • ให้ความสำคัญกับศัพท์ย่อ และมีม 
  • เทรนด์เปลี่ยน เราก็ต้องเปลี่ยน 
  • ต้องลงสนามเรียลไทม์คอนเทนต์บ้าง 
  • ถ้าไม่เข้าใจกระแสไหน อย่าฝืนเด็ดขาด

No performative 

แม้การเป็นแบรนด์ที่ได้ขึ้นชื่อว่าใส่ใจ และให้คุณค่ากับประเก็นสังคมเป็นเรื่องที่ดี แต่การที่ให้ความสำคัญกับสังคมเพราะต้องการกระแสจากชาว Gen Z จึงไม่ควรทำอย่างยิ่ง

เพราะหากมีแบรนด์ไหนที่ก้าวเข้ามาทำสินค้าเพื่อชูประเด็นสังคม หรือสร้างแคมเปญขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว ชาว Gen Z จะศึกษาแบรนด์เหล่านั้นอย่างละเอียด แม้กระทั่งผลลัพธ์ของแคมเปญที่ถูกปล่อยออกไปก็ตาม

ฉะนั้นจึงพยายามเป็นแบรนด์ที่ตระหนักเรื่องในสังคมจริง ๆ หรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจริง ๆ อย่างที่ควรจะเป็นดีที่สุด

  • อย่าทำการตลาดเพื่อสังคมแบบผักชีโรยหน้า 
  • พร้อมบล็อก และเลิกสนับสนุนแบรนด์ได้ทุกเมื่อ 
  • แบรนด์ต้องสนใจเรื่องสังคม  
  • ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 
  • แคมเปญที่ดีควรขับเคลื่อนประเด็นสังคมได้

Build trust from Creators & Influencers 

เพราะความเชื่อใจในสินค้าของกลุ่มคน Gen Z มักจะเริ่มมาจากอินฟลูเอนเซอร์ กลุ่มเพื่อนสนิท ครอบครัว และผู้คนที่ติดตามในโลกโซเชียลเป็นหลัก

การที่แบรนด์รู้จักคอลแลป และกระจายการโปรโมตให้กับเหล่า Micro Influencers จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในกลยุทธ์การตลาดยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรีวิวสินค้า หรือไลฟ์ขายสินค้าก็ตาม ควรเน้นให้มีความเข้าถึงง่าย และจับต้องได้เข้าไว้

พร้อมมีโปรโมชันในวัน Double Day อย่าง 11.11 อยู่เสมอ เพื่อเป็นการโน้มน้าวให้ชาว Gen Z สนใจในแบรดน์ของเรามากขึ้น

  • เชื่อการรีวิวจากครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ที่ติดตาม 
  • ชอบอินฟลูเอนเซอร์ที่ตลก และพูดคุยเป็นกันเอง 
  • ถูกโน้มน้าวใจได้ง่ายจากเพื่อน และคนในโซเชียล 
  • ก่อนซื้อต้องอ่านรีวิว และความคิดเห็น 
  • ตั้งตารอคอยโปรโมชัน Double Day เสมอ

Right Places, Right Platforms 

การมีกลยุทธ์การตลาดที่ดี เข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคน Gen Z และเรียนรู้คู่แข่งกับตำแหน่งในตลาดของแบรนด์นับเป็นเรื่องดี แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าแบรนด์มีความเข้าใจธรรมชาติของแพลตฟอร์มควบคู่กันไปด้วย

เพราะในทุก ๆ ปี แต่ละแพลตฟอร์มจะมีการประกาศจุดยืน และเป้าหมายใหม่ของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งเทรนด์ปีนี้ก็คงไม่พ้นการปรับอัลกอริทึมให้สนับสนุนคอนเทนต์ประเภทวิดีโอสั้นมากขึ้นอย่างแน่นอน

และแบรนด์ก็ควรสร้างสรรค์คอนเทนต์ในรูปแบบนั้นมาเสิร์ฟให้ตรงทั้งเป้าหมายของแพลตฟอร์ม และความสนใจของกลุ่มเป้าหมายของตัวเองในแต่ละแพลตฟอร์มด้วย

  • TikTok – ส่องเทรนด์โลกทั้งกิน เที่ยว และไลฟ์สไตล์ 
  • Instagram – พื้นที่สร้างตัวตนสู่อินฟลูเอนเซอร์ท่านหนึ่ง 
  • YouTube – เสพ Vlog, การรีวิว และเล่าเรื่อง แถมปั่นวิวเพลง 
  • Twitter – รวมเธรดขายของ และช่องทางเช็กข่าวเรียลไทม์ 
  • Facebook – คลังแชร์คอนเทนต์หน้าโปรไฟล์ และแหล่งรวมคอมมูนิตี้

ที่มา: Hootsuite 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save