รวมเครื่องมือ MarTech ที่คนไทยนิยมใช้ จาก Thailand’s Martech Report 2024

ถ้าพูดถึง MarTech หรือ Marketing Technology เครื่องมือสำหรับการทำการตลาดในปัจจุบันนั้นมีเกิดขึ้นมาใหม่ทุกวัน และหลาย ๆ ประเทศก็เริ่มมีการใช้ MarTech มาช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้นแล้ว แต่เครื่องมือ MarTech ที่คนไทยจะนิยมใช้จะมีอะไรกันบ้าง RAiNMaker มีข้อมูลจาก Thailand’s Martech Report 2024 ของ Content shifu มาให้ดูกัน!

ทุกวันนี้เป็นยุคที่ข้อมูลเริ่มมีขนาดมหาศาล แต่เวลาในการตามเทรนด์ และวิเคราะห์ข้อมูลของเรามีเท่าเดิม การมีเทคโนโลยี ฟีเจอร์ หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ และทำให้การทำงานของเราประหยัดเวลาขึ้น เป็นความสำคัญของเครื่องมือ MarTech เลยก็ว่าได้

เพราะ MarTech ไม่ได้เป็นแค่ตัวช่วยที่ทำให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยรักษาความสัมพันธ์ของเรากับลูกค้า และผลักดันยอดขาย ไปจนถึงยอดเอ็นเกจเมนต์ได้เร็วขึ้นด้วย เพราะอินไซต์ของลูกค้าแต่ละยุคเปลี่ยนไปทุกวัน แต่เครื่องมือเหล่านี้จะคอยตามเก็บ และวิเคราะห์ผลออกมาให้เรานำไปสร้างกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ต่อได้

Advertising & Promotion: การโฆษณา และการโปรโมต 

[ Social | Search Ads | Programmatic Advertising ] 

  • Google Ads – โปรโมต และโฆษณาให้คนมองเห็นผ่าน Google
  • Meta Ads Manager – ตัวจัดการบัญชีที่ยิงโฆษณาโปรโมตผ่าน Facebook 
  • LINE Ads – ฟีเจอร์สำหรับยิงโฆษณา และโปรโมตในไลน์

การใช้เครื่องมือ MarTech สำหรับโปรโมต และโฆษณามีไว้เพื่อให้ผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์สามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย และตรงจุดมากขึ้น ส่งผลให้ทั้งแบรนด์ และองค์กรสร้างการรับรู้ (Awareness) ต่อสินค้า และบริการกับกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย

เพราะแต่ละแพลตฟอร์มหรือช่องทางต่าง ๆ มักจะมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไป การมีเครื่องมือ MarTech ในหมวดนี้เข้ามาช่วย จะทำให้ปรับตัว และคาดการณ์ข้อมูลสำคัญทางการตลาดได้ แต่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องของอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม และเทรนด์ที่เปลี่ยนไปอยู่ รวมถึงการติดต่อผู้ให้บริการก็จะยากด้วย เนื่องจากผู้ให้บริการของทั้ง 3 อันดับนี้อยู่ต่างประเทศ

Content & Experience: คอนเทนต์ และประสบการณ์ 

[ CMS | Email Marketing | Marketing Automation] 

  • ChatGPT – แชตบอทถามตอบ และหาทางออกจากคำถาม 
  • Google Form – เครื่องมือวิเคราะห์ลูกค้าแบบ Marketing Automation 
  • Canva – การสร้างประสบการณ์จากมีเดีย และการนำเสนอ 

คอนเทนต์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง การทำให้คอนเทนต์สร้างความสนใจ และองค์กร หรือแบรนด์น่าดึงดูดมากขึ้นก็จะเสริมให้คอนเทนต์ถูกมองเห็น รวมถึงยกระดับประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดด้วย เพราะคอนเทนต์คือส่วนสำคัญที่ทำสร้างการรับรู้ให้แบรนด์ หรือองค์กรเป็นที่รู้จัก เป็นที่น่าประทับใจต่อผู้บริโภค

โดยตัวช่วยสร้างเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยเก็บข้อมูล และนำไปประเมินต่อ รวมถึงเพิ่มรายได้ให้กับทั้งแบรนด์ และองค์กรด้วย แต่เครื่องมือเหล่านี้มีความท้าทายคืออาจจะหยุดพัฒนากลางคัน หรือไม่มีอัปเดตให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงระบบความปลอดภัยของระบบอาจจะแข็งแรงไม่เพียงพอด้วย

Social & Relationships: โซเชียล และความสัมพันธ์ 

[ Social Media Management | CRM | Event | Webinar] 

  • Zoom – บริการสำหรับสื่อสาร วิดีโอคอล และประชุมทางไกล 
  • Hootsuite – เครื่องมือจัดการโซเชียลมีเดียในแดชบอร์ดเดียว 
  • Eventpop – แพลตฟอร์มจัดกิจกรรม และสร้างประสบการณ์อีเวนต์ 
  • Tellscore – แพลตฟอร์มหาอินฟลูเอนเซอร์สัญชาติไทยให้กับแบรนด์ และเอเจนซี 

การที่แบรนด์ และองค์กรมีโซเชียลมีเดียก็เพื่อลดช่องว่าง และเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคให้แบรนด์ และองค์กรดูเข้าถึงง่ายมากขึ้นในระยะยาว รวมถึงยังสร้าง Customer Lifetime Value ต่อผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เพราะแบรนด์ และองค์กรสามารถรับรู้พฤติกรรม และความชอบที่เปลี่ยนไปของกลุ่มเป้าหมายได้

แต่ในเชิงการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียก็ยังมีความท้าทายอยู่บ้างที่คนไทยนิยมใช้ LINE กันเป็นหลัก การเข้าถึงคนไทยให้ครอบคลุมก็อาจจะขาดตกไปบ้าง อีกทั้งโมเดลในการใช้จ่ายเพื่อรักษาความสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งที่ต้องแลกด้วย และบางแพลตฟอร์มอาจจะต้องใช้ความร่วมมือของคนในองค์กรเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น

Commerce & Sales: การพาณิชย์ และการขาย 

[eCommerce & Shopping Card Platform | Multichannel Management] 

  • LINE My Shop – เครื่องมือช่วยจัดการร้านค้าออนไลน์ของผู้ประกอบการ 
  • Lazada Affiliate – โปรแกรมนายหน้าช่วยขายผ่าน ความเป็นออนไลน์ Shopping Mall 
  • 2C2P – บริการระบบการชำระเงินออนไลน์หลายช่องทาง 

 สำหรับการพาณิชย์ และการขายสิ่งที่แบรนด์ และองค์กรต้องทำก็คือต้องทำให้เข้าถึงง่าย สะดวก และรวดเร็วเอาไว้ก่อน เพราะความเร็วคือสิ่งที่ทำให้แบรนด์ และองค์กรต่าง ๆ ได้เปรียบในการทำการตลาดที่สุด และผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ชอบอะไรที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนด้วย

ฉะนั้นหากมีแพลตฟอร์ม หรือเครื่องมือที่ช่วยให้ปิดการขายง่ายในที่เดียว รวมถึงเอื้อต่อการทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการได้ก็จะได้เปรียบมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อมาถึงจุดที่ต้องจ่ายเงินแบบ Revenue Sharing ก็อาจจะต้องเลิกใช้เครื่องมือนั้น ๆ ไป รวมถึง UI ของบางเครื่องมือที่มีอายุเปลี่ยนไปตามยุคสมัยก็อาจทำให้ดูล้าสมัยด้วย ซึ่งคงต้องเลือกใช้เครื่องมือด้านอีคอมเมิร์ซที่ดีต่อภาพลักษณ์ และข้อจำกัดในการเชื่อมต่อน้อยไว้ก่อน

Data: ข้อมูล 

[Analytics | Social Listening | Marketing / Business Dashboard] 

  • Google Analytics – เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ และเก็บข้อมูลสถิติของเว็บไซต์ 
  • Google Search Console – เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ และข้อผิดพลาดเว็บไซต์ 
  • Microsoft Power BI – เครื่องมือวิเคราะห์ และสร้างรายงานข้อมูลธุรกิจ 

 เครื่องมือที่เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้เข้าใจผู้บริโภค และกลุ่มเป้าหมายของตัวเองในเชิงลึกมากขึ้น และเมื่อเข้าใจมากขึ้น ก็จะนำไปประยุกต์ และสร้างกลยุทธ์ต่อได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งการพัฒนาแคมเปญ หรือสร้าง Customer Journey ให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้บริโภค

ซึ่งคอนเทนต์ หรือข้อมูลแบบไหนที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจเป็นพิเศษก็จะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถช่วยให้รักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายแบบ Loyalty Customer ได้ด้วย เพียงแต่การนำข้อมูลมานั้นต้องตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว พร้อม PDPA และความเต็มใจในการให้ข้อมูลของผู้บริโภคเป็นสำคัญด้วย

Collaboration & Management: การทำงานร่วมกัน และการจัดการ 

[ Project Management | Business Operation] 

  • LINE – แอปการสื่อสาร ทำการตลาด และจัดการธุรกิจ 
  • Google Workspace – บริการจัดการองค์กรให้ทำงานร่วมกันเต็มรูปแบบ 
  • Microsoft 365 – ซอฟต์แวร์โปรแกรมการทำงานสำหรับองค์กร 

เครื่องมือ MarTech ที่ช่วยให้แบรนด์​ และองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่ต้องพะวงถึงระยะทาง ก็จะช่วยให้ตามงานง่าย และทำงานเป็นระบบมากขึ้นทุกที่ทุกเวลา ส่งเสริมให้ทั้งแบรนด์ และองค์กรมีเส้นแบ่งของเวลาการทำงานที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีผู้ช่วยส่วนตัว หรือตัวช่วยในการประเมินผลการทำงาน (Performance) แม่นยำทั้งการทำงานแบบส่วนตัว และการทำงานแบบเป็นทีม

เพียงแต่ต้องหาเครื่องมือที่ช่วยจัดระบบให้พอดี และเหมาะกับการใช้งานของคนในองค์กรด้วย เพื่อไม่ให้การใช้เครื่องมือ MarTech มีความหลากหลายเกินไปจนเกิดความสับสน หรืองานเกิดการตกหล่นเนื่องจากขาดการสื่อสาร และแต่ละทีมอาจจะใช้เครื่องมือจัดระบบการทำงานไม่เหมือนกัน

โดยสรุปแล้วจากเครื่องมือ MarTech ทั้ง 6 ก็อาจจะมีทั้งเครื่องมือที่หลายคนใช้อยู่เป็นประจำ และเครื่องมือที่หลายอาจไม่เคยใช้ หรือไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนด้วย แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้การใช้ MarTech เข้ามาช่วยจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น แต่เครื่องมือ MarTech ที่ดีที่สุด ก็คือการรู้จักเครื่องมือที่ใช่ และเหมาะสมกับการใช้งานในบริษัทของตัวเอง

ที่มา: Thailand’s Martech Report 2024

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save