ดูเหมือน Mark Zuckerberg จะให้ความสำคัญกับตัวชี้วัด และยอดเอนเกจเมนต์จากที่ผู้คนใช้เวลาบนแพลตฟอร์มมากขึ้นกว่าใครในปีนี้ ทั้งการไถฟีด คลิกเว็บไซต์ คอมเมนต์โพสต์ หรือเพิ่มยอดวิวล้วนเป็นเอนเกจเมนต์ที่ทำให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้น ต่อให้จะต้องแลกกับการ fact-checking ข้อมูล และความถูกต้องลดลง และ Facebook เต็มไปด้วยข่าวปลอม และ Clickbait ก็ตาม
โดยเมื่อไม่นานมานี้ Mark Zuckerberg ได้ประกาศไล่พนักงานที่ทำหน้าที่ fact-checking ข้อมูลออกไป ทำให้ความสามารถในการเช็กข้อมูลที่ถูกต้องลดลงทั้งบน Facebook, Instgram และThreads กลายเป็น policy ใหม่ที่ทำเพื่อเอาใจรัฐบาลทรัมป์ที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคต
เพราะเต็มไปด้วยการบูสต์เอนเกจเมนต์ผ่านข่าวปลอม และโพสต์เรียกยอดมากกว่าเดิม เพราะจากวิจัยพบว่าโพสต์เหล่านั้นช่วยกระตุ้นความสนใจ และส่งผลให้มียอดเอนเกจเมนต์แพร่กระจายบนโซเชียลมากกว่าโพสต์ปกติถึง 20 เท่าเลยทีเดียว
โดยเฉพาะโพสต์ที่เกี่ยวกับการเมือง, ความขัดแย้ง, ทฤษฎีสมคบคิดของรัฐบาล การเหยียดเชื้อชาติ และการเรียกร้องให้ใช้ความรุนแรง จะช่วยเพิ่มเอนเกจมากขึ้นถึง 2000% ไม่ว่าผู้คนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่การที่กดไลก์ แชร์ หรือคอมเมนต์ก็เป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมแล้ว
เนื่องจากยิ่งทำให้โพสต์นั้นมีความแปลกใหม่มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้แยกออกจากความเป็นจริงได้มากขึ้นเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลให้การ fact-checking ข้อมูล ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอีกต่อไป เช่นเดียวกับแพลตฟอร์ม X ของ Elon Musk ที่กลายเป็นดินแดนของข่าวปลอมไปแล้ว ซึ่ง Mark Zuckerberg พูดเอาไว้ว่าเขาทำตามตัวอย่างของ Elon Musk
ซึ่งจะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วอย่างกรณีไฟป่าที่ลอสแองเจลิส ที่แพร่กระจายในโซเชียลอย่างรวดเร็วพอ ๆ กับไฟป่าที่ลุกลามขึ้นอยู่จริง ๆ โดย Meta ก็มีการไล่พนักงาน fact-checking ข้อมูลออก เนื่องจากมีการใส่ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบในโพสต์ทำให้ผู้คนไม่อยากอ่าน และนั่นเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ Mark Zuckerberg ต้องการ
และหลังจากเหตุการณ์นั้นดร.โคดี้ บันเทน ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ผู้ศึกษาวิจัยข้อมูลบิดเบือนบนโซเชียลมีเดียก็ได้กล่าวว่า การที่ Meta ละเลยเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล ผู้ใช้ในโซเชียลก็จะเห็นคอนเทนต์เกี่ยวกับการเมือง และความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากคอนเทนต์เหล่านั้นตอบสนองผู้คนที่มีความหัวรุนแรงอยู่แล้ว
และคอนเทนต์รุนแรง หรือถูกออกแบบมาทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างข่าวปลอม ก็จะกระตุ้นอารมณ์ผู้คนมากขึ้นเช่นกัน หรือต่อให้ไม่ได้หัวรุนแรง แต่การเข้าไปไลก์ คอมเมนต์ หรือแชร์ก็นับว่ามีส่วนร่วมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลกระทบนั้นจะเป็นในเชิงลบ หรือเชิงบวก
ซึ่งอัลกอริทึมของ Meta ไม่ได้คัดกรองความถูกต้อง แต่กลับสนใจในโพสต์ที่ผู้ใช้แต่ละคนเข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุด จากนั้นก็จะเสิร์ฟคอนเทนต์เหล่านั้นมากขึ้น อย่างที่ Mark Zuckerberg ต้องขึ้นศาลเป็นปีในฐานะผู้สร้างแพลตฟอร์ม แต่กลับไม่มีปลอดภัยต่อสภาพจิตใจของเยาวชน และวัยรุ่น
แต่ในยุคที่ทรัมป์ขึ้นเป็นประธานาธิบดี Meta อาจจะสามารถลดเลยในเรื่องจริยธรรมได้มากขึ้น อย่างที่ Mark Zuckerberg และ Adam Mosseri ซีอีโอของทั้ง Facebook และ Instagram
ออกมาบอกว่าจะไม่มีการปิดกั้นคอนเทนต์ข่าว และการเมืองแล้ว ด้วยเหตุผลนี้ก็อาจนำไปสู่โลกโซเชียลมีเดียที่รุนแรงกว่าเดิม เพราะผู้คนจะแสดงออกทางความคิดได้ง่ายขึ้นก็เป็นได้
ที่มา: https://www.theguardian.com/technology/2025/jan/10/mark-zuckerberg-meta-factchecking