เพราะผู้คนกว่าพันล้านคนใช้ Facebook และ Instagram ทุก ๆ วันเพื่อแชร์เรื่องราวของตัวเอง และเชื่อมต่อกับผู้อื่น ฉะนั้นการได้เข้าใจหน้าฟีดที่อัลกอกริทึมของ AI เสิร์ฟเรา จะช่วยให้ทำงานกับมันง่ายขึ้น โดยไม่ต้องกดดันตัวเองกับยอดเอ็นเกจเมนต์ที่กำลังลดลงเรื่อย ๆ
ในปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างเรา และอัลกอริทึมของ Facebook คงไปด้วยกันได้ไม่ดีนัก ตั้งแต่มีการดันโพสต์จากกลุ่ม หรือวิดีโอ และโพสต์แนะนำจากผู้ที่เราไม่ได้ติดตามมากขึ้น
แต่ต่อให้ Facebook จะปิดกั้นการมองเห็น หรือลดยอด Reach ยังไง การย้ายบ้านทั้งหลังที่เคยอยู่ก็เป็นเรื่องยากมากสำหรับหลาย ๆ คนที่โตมาจากที่นี่ ทาง Meta จึงมีภาพรวมของอินไซต์ ที่อ้างอิงจากอัลกอริทึมมาแชร์กัน
โพสต์หน้าฟีดมาจากไหน?
นอกจากโพสต์ที่แนะนำแล้ว โพสต์หน้าฟีดก็มาจากโปรไฟล์ หรือแอคเคาท์ที่เราเข้าไปมีส่วนร่วม หรือส่องบ่อย ๆ ทำให้โพสต์ของคน หรือเพจนั้น ๆ ชึ้นหน้าฟีดเรามากขึ้น
ไดร์ฟเอ็นเกจเมนต์ยังไงบ้าง?
ระบบจะเริ่มมีการเรียนรู้จากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโพสต์ที่มีส่วนร่วมด้วยทั้งกดอีโมจิ คอมเมนต์ หรือแชร์ ทำให้ AI เริ่มตรวจจับคอนเทนต์หน้าฟีดมาจากพฤติกรรมเหล่านั้น
ซึ่งสามารถสรุปออกมาเป็นการทำงานขอระบบอัลกอริทึมด้วย AI หลังจากเรามี Interact กับโพสต์บน Facebook ดังนี้
- Feed: คัดมาจากการส่อง หรือมี Interact กับ Facebook เป็นหลัก เพราะเป็นคอนเทนต์ที่เราเลือกที่จะเห็น
- Feed Ranked Comments: มี AI คอยจัดลำดับคอมเมนต์ที่เกี่ยวข้องกับเราให้
- Feed Recommendations: AI จะแนะนำคอนเทนต์ลงหน้าฟีดบนหน้าโฮมของ Facebook
- Reels: AI จะคอยแนะนำ และส่งคลิป Reels ต่าง ๆ ให้เสมอ
- Stories: ยิ่งเอ็นเกจกับเพจ หรือโพสต์ของใครเยอะเท่าไหร่ AI ก็ยิ่งแนะนำให้มากขึ้นเท่านั้น
นอกจากนี้การทำงานของระบบอัลกอริทึม AI บน Facebook จะคำนึงถึง 3 ส่วนหลัก ก่อนจะแนะนำโพสต์ให้คนส่วนใหญ่เห็น คือ
- ดูว่าโพสต์มาจากที่ไหน และผู้คนมีส่วนร่วมบนโปรไฟล์ หรือเพจนั้นมากแค่ไหน
- ดูช่วงเวลาว่าลงโพสต์ไปเมื่อไหร่ และเร่ิมมีคนมา Interact ด้วยการกดไลก์ คอมเมนต์ หรือแชร์ครั้งแรกตอนไหน
กระบวนการคัดคอนเทนต์ส่งหน้าฟีดของอัลกอริทึม AI
- รวบรวมคลังคอนเทนต์: ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ และลิงก์ แต่จะไม่รวมคอนเทนต์ที่ผิดนโยบายของ Facebook
- คัดกรองคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง: หรือมีความคล้ายคลึงกับคอนเทนต์ที่แต่ละคนสนใจ และมีส่วนร่วม Interact ด้วย
- คาดเดาความชอบของผู้ใช้: ระบบอัลกอริทึมของ AI จะมีโมเดลคอยช่วยในหารคาดเดา หรือทำนายความชอบคอนเทนต์ประเภทต่าง ๆ ของผู้ใช้ ทำให้เจอแต่สิ่งที่เราสนใจหน้าฟีดมากขึ้น
- จัดอันดับคอนเทนต์ที่ใช่: หลังจากพอรู้จักความชอบของผู้ใช้แล้ว ระบบอัลกอริทึมของ AI จะจัดลำดับประเภทคอนเทนต์ก่อน และหลัง โดยยิ่งชอบมากก็จะแสดงบนหน้าฟีดมาก พร้อมนำไปใช้เป็นคอนเทนต์แนะนำ (Suggest For You) ด้วย
ซึ่งโมเดลนี้ของ AI เริ่มมีการแจ้งที่มา และที่ไปในการแนะนำคอนเทนต์ที่เห็นหน้าฟีดมากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถกด “Why you’re seeing this post” หรือ “Why you’re seeing this reel” เพื่อดูแหล่งที่มาการแนะนำของระบบได้
โดยส่วนใหญ่จะมาจากการกดไลก์ ติดตาม หรือคอมเมนต์ที่เราไปมีส่วนร่วมด้วย หรือถ้ายังไม่ตรงตามที่ต้องการมากพอ ก็สามารถกด “Manage what you see” เพื่อตั้งค่าให้เห็นโพสต์จากแอคเคาท์ที่แนะนำน้อยลงได้
ส่วนใน Reels ก็มีการเพิ่ม ‘Interested’ หรือ ‘Not Interested’ ให้บอกระบบได้ว่าอยากเห็นคอนเทนต์ประเภทไหนเพิ่มขึ้น หรือน้อยลงก็ได้เช่นกัน
แพลนของ Meta ในอนาคต
- Facebook: ในอีกไม่กี่สัปดาห์จะมีการปล่อยเครื่องมือรีเสิร์ชใหม่อย่าง ‘Meta Content Library’ และ ‘API’ ที่รวมคลังข้อมูลจากโพสต์ เพจ กลุ่ม และอีเวนต์บน Facebook มาอยู่ด้วยกัน เพื่อขยายขอบเขตในการค้นหาให้กว้างมากขึ้น
- Instagram: จะเพิ่ม ‘Programmatic API’ จะเพิ่มข้อมูลจากโพสต์ของทั้งแอคเคาท์ครีเอเตอร์ และแอคเคาท์ธุรกิจ ให้สามารถฟิลเตอร์ และเสิร์ชรวมกันได้ โดยเฉพาะกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจไว้เสิร์ชหัวข้อที่สนใจได้ สำหรับการแชร์ข้อมูลร่วมกันด้วย
อ้างอิง: Meta, SocialMediaToday