Tips

Avatar

doyoumind June 24, 2021

รวมคำทับศัพท์ที่ครีเอเตอร์สายคอนเทนต์ต้องเจอ พร้อมแนะนำทริกเขียนยังไงให้ถูก

เคยเจอปัญหากันบ้างไหมคะ? เวลาเขียนคอนเทนต์ ทำคลิปแล้วต้องเขียนซับไตเติล หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้ทักษะภาษาในการเขียน มักจะเกิดปัญหาว่าคำนี้มันเขียนยังไงกันนะ..? หรือไม่มั่นใจว่าแบบไหนกันแน่ที่ถูกต้อง โดยส่วนมากจะเป็นคำที่ทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศเสียมากกว่า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในแต่ละบทความ หรือตามโพสต์ที่เราเขียนกันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีคำทับศัพท์แทรกเข้ามาเยอะมาก!

และที่สำคัญรูปแบบการเขียนของแต่ละคนก็แตกต่างกันไปมากเช่นเดียวกัน จนไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วต้องเขียนแบบไหนกันแน่ใช่มั้ยล่ะคะ เพราะถ้าเขียนผิดขึ้นมาผู้อ่านบางคนคงตะหงิดใจขึ้นมาไม่น้อย หรืออาจสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการเขียนอีกก็ได้ นอกจากนี้หากเขียนผิดแล้วคำนั้นๆ คนไม่ค่อยใช้กัน ก็ยังอาจส่งผลไปถึงการค้นหาได้อีกด้วย

วันนี้ RAiNMaker เลยรวบรวมคลังคำทับศัพท์สำหรับสายคอนเทนต์ที่ใช้บ่อย และมักจะเขียนผิดกันบ่อยๆ มาให้เซฟไปเก็บไว้เป็นพจนานุกรมส่วนตัวกันค่ะ เพื่อการเขียนอย่างถูกต้องแบบมืออาชีพ จะมีคำไหนบ้างมาเช็กไปพร้อมกันเลย! แอบบอกว่ามีทริกเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับหลักการเขียนคำทับศัพท์มาฝากในตอนท้ายด้วยนะคะ

คำทับศัพท์เกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย

เริ่มกันที่ศัพท์เกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ทั้งชื่อของแอปพลิเคชัน และประเภทแพลตฟอร์มที่หลายคนก็มักจะเขียนผิดกันอยู่ ที่เขียนผิดกันบ่อยๆ ก็คงจะเป็น ยูทูป ที่เป็น ป ซึ่งจริงๆ ต้องเป็นยูทูบ ที่เป็น บ ต่างหากล่ะ! และเฟสบุ๊ค ที่ต้องเขียนว่าเฟซบุ๊ก เป็นต้น

คำทับศัพท์ที่มักเจอในคอนเทนต์

นอกจากนี้ยังมีคำทับศัพท์อื่นๆ ที่ครีเอเตอร์หลายคนต้องใช้กันเป็นประจำแน่นอน เรียกว่าเราคัดมาแบบที่นำไปใช้ได้จริง! มาลองเช็กกันดีกว่าว่าเขียนถูกต้องแล้วหรือยัง

ทริกง่ายๆ สำหรับตรวจสอบคำทับศัพท์เบื้องต้น

หลายคนอาจสงสัยใช่มั้ยล่ะคะ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าคำไหนต้องเขียนแบบไหน? แน่นอนว่ามันมีหลักการในการเขียนคำทับศัพท์อยู่ค่ะ ซึ่งวันนี้เราก็สรุปทริกเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถนำไปใช้งานเบื้องต้นในการเขียนคำทับศัพท์ได้ ดังนี้

  • การเขียนคำทับศัพท์ส่วนมากจะไม่มีวรรณยุกต์ เว้นแต่คำนั้นๆ จะซ้ำกับคำที่มีอยู่ในภาษาไทย
  • ตัวพยัญชนะ t หากเป็นเป็นพยัญชนะต้นจะใช้ ท และเป็นตัวสะกดจะใช้ ต เช่น เทสต์ (Test)
  • ตัวพยัญชนะ p หากเป็นเป็นพยัญชนะต้นจะใช้ พ และเป็นตัวสะกดจะใช้ ป เช่น แอปพลิเคชัน (Application)
  • ตัวพยัญชนะ c, g, k หากเป็นเป็นพยัญชนะต้นจะใช้ ค และเป็นตัวสะกดจะใช้ ก เช่น คลิก (Click)
  • ตัวพยัญชนะต้น ch ใช้ ช เช่น แชนเนล (Channel) แต่บางกรณีก็สามารถใช้ ค ได้ เช่น คิออส (Chios)
  • ยกเว้นคำที่ลงท้ายด้วย -ch, -que จะใช้ ค เช่น เทคนิค (Technique)
  • ตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย -ce ใช้ ซ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook)
  • ตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย -ph ใช้ ฟ เช่น กราฟ (Graph)
  • ตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย -gn ใช้ น และไม่ออกเสียงตัว g เช่น ดีไซน์ (Design)

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทริกเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีคำยกเว้นอีกมากมายที่ต้องพิจารณาไปตามกรณีอีกมากมาย แต่ถ้าหากพอเข้าใจภาพรวมในการเขียนแบบนี้แล้ว ต่อไปการเขียนคำทับศัพท์ก็จะเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นแล้วค่ะ ทั้งนี้ในส่วนของบางคำที่หลายคนอาจไม่คุ้นชิน อาจจะเขียนในรูปแบบเดิมที่คนมักใช้ค้นหาก็ได้เช่นกันค่ะ เนื่องจากเวลาค้นใช้คำนั้นๆ ค้นหาแล้วจะได้มีโอกาสเจอบทความมากกว่านั่นเอง

ที่มา: https://bit.ly/3jiW9i3

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save