NFT (Non-Fungible Token) โลกใหม่ที่ใครก็อยากทำความเข้าใจ เพราะยุคสมัยใหม่ที่งานศิลปะ และผลงานนั้นไม่มีขอบเขตในการซื้อขาย ซึ่งงาน NFT 101 by SC ASSET: เปิดชั้นเรียนกับเซียน NFT ก็ได้นำเสนอทั้งมุมมองของนักลงทุน นักสะสม นักสร้างสรรค์ และแบรนด์ให้เข้าใจว่า NFT สำคัญอย่างไร และจะเข้ามามีบทบาทอะไรกับโลกของเราบ้าง แต่ใครที่ไม่ได้ชมไลฟ์ครั้งนี้ก็ไม่เป็นไร เพราะ RAiNMaker มาสรุปประเด็นสำคัญที่ควรรู้ให้ถึงที่แล้ว!
NFT 101 by SC ASSET: เปิดชั้นเรียนกับเซียน NFT
เรียนรู้โอกาสในอนาคตของ NFT จากทุกมุมมองทั้งนักลงทุน นักสะสม นักสร้างสรรค์ และแบรนด์ เป็นงานที่ร่วมมือกันระหว่าง บริษัท SC Asset และ Bangkok Design Week โดยมี ‘หนุ่ย – พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์’ จาก beartai คอยดำเนินการสนทนา พร้อมด้วย ‘เอ็ดดี้ – ภราดร ไชยวรศิลป์’ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม NFT and Crypto Art Thailand, ‘พราว – ลิ่มพงศ์พันธุ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด Zipmex และ ‘ติ๊ก – ชิโร่’ ศิลปินดังที่ขายผลงาน NFT ‘รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง’
และด้วยความเชี่ยวชาญ กับประสบการณ์ด้าน NFT จากทั้ง 3 ท่าน จะช่วยให้นักการตลาด และแบรนด์ได้มองเห็นโอกาสในโลกของ NFT ชัดขึ้น โดยเฉพาะเซกชันที่ 3 ที่บรรยายเกี่ยวกับ ‘Meet the Investor ทำอย่างไรถึงขายงานได้’ เป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจโลก NFT ให้กับผู้คนที่สนใจได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้ก่อนเข้าวงการนี้จะมีอะไรบ้าง? เข้ามาเช็กกันเลยจ้า!
NFT 101 ถอดบทเรียนกลไกซื้อขายสำหรับผู้เริ่มต้น
NFT (Non-Fungible Token) แปลว่า เหรียญหรือโทเคนที่ทดแทนไม่ได้ เพราะโทเคนแต่ละชิ้นจะมี DNA Digital เป็นของตัวเอง ซึ่งถูกกำหนดให้มีเพียงชิ้นเดียวแม้จะถูกทำซ้ำก็ตาม เพราะเทคโนโลยี Blockchain ไม่สามารถทำให้การ Double Copy เกิดขึ้นได้ และไม่สามารถ Copy ส่งต่อหรือทำซ้ำได้อีก ซึ่งศิลปินก็จะถูกจำกัดสิทธิ์ในการ Copy ซ้ำ ๆ เช่นกันโดยเราเรียกวิธีการทำสำเนาผลงานว่า ‘Mint NFT’
โดยเมื่อส่งผลงานเข้าตลาด NFT ไป คนที่ซื้องานจะได้ไฟล์ของเราไปแล้ว และทำให้เราไม่มีไฟล์ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ของตัวเองได้ เพราะสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์จะอยู่กับคนที่ซื้อไป เนื่องจากเหรียญที่มีการเข้ารหัสจะไม่สามารถทดแทน ทำซ้ำได้ โดยเวลาจะโอนก็ต้องโอนไปทั้งชิ้นเลย ฉะนั้นการ Mint หรือการทำสำเนาแบ่งย่อยแต่ละชิ้นมี DNA Digital หรือหมายเลขกำกับต่างกัน เพราะยิ่งทำซ้ำก็ยิ่งไม่เหมือนเดิม เช่น รูปที่มีลายเซ็นแม้จะส่งต่อก็มีลายเซ็นแค่รูปเดียวเท่านั้น
ซึ่งตลาดคริปโตคึกคักได้ เพราะการยอมรับสูง เนื่องจาก ART NFT ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในตลาด NFT เพราะมีการสวนทางกันระหว่างสินค้า และความต้องการนั่นเอง พอสินค้ามีจำกัด ราคาก็จะแพงขึ้นเนื่องจากมีคนอยากได้เยอะ แต่ขึ้นอยู่กับการกำหนดจำนวนของ Limited Edition ของศิลปิน จึงกลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผลงานใน NFT เกิดความแมสขึ้นมาเพราะคนต้องแย่งกัน โดยศิลปินเพลงคนแรกที่ทำงาน NFT และนำเพลงมามิ้นต์เป็น NFT เพราะการนำไปขายต่อหรือส่งต่อ ศิลปินต้นทางก็จะสามารถได้เงินด้วย เลยทำให้ศิลปินหลาย ๆ คนสนใจที่จะเข้าวงการนี้
-
บทบาทของ NFT ในโลกของ Metaverse
โดยปกติแล้วไอเท็มต่าง ๆ ที่ซื้อมาในเกมก็จะสามารถเล่นได้แค่ภายในเกมนั้นเกมเดียว หรือหากเกมปิดตัวลงไปก็ไม่สามารถนำไอเท็มนั้นกลับคืนมาได้ แต่หากเป็นในโลก Metaverse การเทรดไอเท็มเหล่านั้นมาเป็น NFT ก็จะสามารถเก็บและส่งมอบได้ หรือเอาไปเล่นกับเกมอื่นก็ทำได้เช่นกัน เพราะถึงแม้ผู้สร้างเกมจะปิดตัวเกมไปแล้ว ไอเท็มต่าง ๆ จะไม่ได้ซื้อมาแล้วหายไปอีกนั่นเอง
อนาคตในเรื่องของแบบบ้าน หากสักวันหนึ่งสามารถ Mint ออกมาเป็นไฟล์ และแยกเป็นแบบบ้านละโฉนดได้เลย ในอนาคตอาจจะมีโฉนดคอนโดซื้อขายบ้านแบบ NFT ได้ ซึ่งหากมันเกิดขึ้นจริง สำนักงานกรมที่ดินอาจถูก Disrupt ได้ หรือไม่ก็ต้องเกิดการปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้
-
นักร้อง นักแต่งเพลง นักเต้น จะทำอะไรได้ในโลก NFT
ไม่ว่าจะนักร้อง นักแต่งเพลง หรือนักเต้น ทุกอย่างล้วนนับเป็นการแสดงความสามารถของคุณทั้งนั้น นักร้องก็มีเพลงที่ไม่เคยร้องให้ใครฟัง หรือเสียงที่แรร์มากจนถึงขั้นคนต้องซื้อเก็บ สำหรับนักแต่งเพลง็มีโน้ตเพลงที่แต่งเอาไว้แต่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหน หรือแม้แต่นักเต้นที่มีไลน์ และท่าเต้นคูลแบบที่ไม่เคยโชว์ที่ไหนมาก่อน
ในโลกของ NF สิ่งที่เคยเป็นดราฟแรกในการออกแบบหรือทำงาน แม้เราอาจจะมองมันเป็นเรื่องปกติของขั้นตอนในการออกแบบ หรือสร้างสรรค์ต่าง ๆ แต่ NFT จะทำให้ความคิดแบบรูปธรรมของคุณกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าขึ้นมาได้ ขอแค่คุณกล้าที่จะลองถ้าคิดว่าคนอื่นจะว้าวได้เมื่อได้ค้นพบตัวตนในแบบของคุณ เพราะทุกคนสร้างผลงานและเป็นศิลปินได้ โดยไม่ต้องผ่านการเข้าค่ายเพลงแล้ว
-
อะไรคือปัจจัยสำคัญในการบิวต์ NFT ในไทย โดยไม่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ
เพราะสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยังไม่มีใบอนุญาตให้กับแพลตฟอร์ม NFT ซึ่งก็มีหลายคนมองว่าจะเป็นข้อดีหากมีแพลตฟอร์มซื้อ – ขาย ที่รวมกำลังกันเกิดเป็นพลังของ South-East Asia ได้ ซึ่งประเทศไทยต้องมีการโปรโมตการตลาดที่ดีกว่าต่างชาติเสียก่อน จึงจะทำให้เกิดแบรนด์ดิงมากขึ้น เพราะการจะทำ NFT ต้องประกอบไปด้วยศาสตร์การเล่าเรื่อง และทำให้คนอยากซื้อเพราะการสร้างมูลค่าให้สิ่งของหรือการออกแบบนั้น ๆ นั่นเอง
โดยความรู้ที่ดีที่สุดคือการลองเอง แต่ต้องลองในแบบที่ไม่เกินขอบเขตของตัวเองมากเกินไป รู้ว่าทำการซื้อ – ขายควรทำอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ หรือศิลปินก็ตามหากมองเห็นโอกาสในการลงทุนนี้ ก็ต้องกระจายความเสี่ยงในการลงทุนหลาย ๆ เหรียญเผื่อเอาไว้เช่นกัน
โลกของแบรนด์ และ NFT
เหล่า Creator ในตลาด NFT
- One on One – ผลงานศิลปะที่มีแค่ชิ้นเดียวแบบลิมิเต็ด โดยการเน้นขายงานแค่ชิ้นเดียวเท่านั้น สามารถเช็กตัวอย่างงานได้ที่ foundation.app
- Collection – ผลงานศิลปะดิจิทัลอาร์ตวาดด้วยมือ เช่นผลงานของ 3LAND WORLD, GANGSTER ALL STAR
- Generative ART – ผลงานศิลปะที่ใช้เทคโนโลยีในการทำ
- Performance ART – ผลงานศิลปะที่ใช้ร่างกายสื่อสารกับผู้คน เช่นผลงานของ Diana Sinclair ที่โชว์ความสามารถด้านการแต่งหน้า
- NFT PHOTO – ผลงานสายอุตสาหกรรมถ่ายรูป เช่นผลงานของ ‘The Green Symphony’ ที่ไล่ถ่ายแสงเหนือ หรือ ‘Beautiful Cities of the world’ ถ่ายแสงสีในตามเมืองต่าง ๆ
- Experiment And Conceptual Crypto Art – ศิลปะที่ใช้แนวคิดมากกว่าความงาม เช่นผลงาน ‘The Merge’ โดยศิลปิน ‘Pak’ สร้างรูปวงกลมให้คนซื้อ ซึ่งมีจำนวนจำกัด และหากใครมีวงกลมใหญ่ที่สุดก็แปลว่ากำลังซื้อสูง หรือนักแสดงฮอลลีวูดกับผลงาน ‘Robert De Niro Lit Project’ ได้ Airdrop รูปหน้าที่ไม่ซ้ำกัน พร้อมค่าอีทอเรียมขึ้นสูงก็จะยิ้มแย้ม แต่ถ้ามันร่วงหน้าจะเปลี่ยนเป็นช็อกหรือตกใจนั่นเอง
- NFT MUSIC – รวมคนมีความสามารถด้านดนตรีมาแปลงไฟล์เสียงเป็น NFT แล้วก็ขาย ซึ่งเป็นอีกอุตสาหกรรมที่กำลังก่อตัว และจะเห็นการเปลี่ยนแปลงภายใน 1-2 ปีนี้ ซึ่งมีขึ้นมีลงต่อวันเสมอบนกระดานหรือ 1 ไฟล์เหมือนหุ้นเหมือนบิตคอยน์ เช่น ‘King of Leon: NFT Yourself’ มีไฟล์ NFT, แผ่นไวนิล และดิจิทัลอัลบั้ม ให้ซื้อขาย โดยคนที่ซื้อทันจะได้สิทธิ์เข้าไปโหลดไฟล์เสียงคุณภาพสูงด้วย หรือ ‘LATASHA ‘ ขาย Music Video แบบ NFT จนปังได้ ซึ่งเธอเป็นคนธรรมดาสร้างที่สามารถมูลค่าและหาคนสนับสนุนผลงานของเธอได้
แพลตฟอร์มในตลาด NFT ที่แนะนำ
- OpenSea
- LooksRare
- Rarible
- crypto.com
- foundation.app
- JNFT
- Paras
“Meet the Investor ทำอย่างไรถึงขายงานได้”
ทริกก้าวเข้าสู่โลก NFT และศิลปินหน้าใหม่
- สร้างงานให้น่าสนใจ, เข้าร่วมปฏิสัมพันธ์กับ Event หรือ Space กับคอลเล็กเตอร์กันเองด้วย
- เข้าไปจอยกับ Top Trend ของ Twitter ช่วงชิงพื้นที่โฆษณาแต่ก็ต้องทำอย่างเหมาะสม
- รีพิน และใส่ข้อมูล BIO
- คอลแลปงานแบบข้ามสาย เช่น Graphic x Music = GUMPOONG x BOX
อุตสาหกรรมบันเทิงไทย และ NFT
- JNFT เปิดตัว NFT Marketplace หนุนผลงานนักแสดง และศิลปินไทย เช่น โน้ต-อุดม แต้พานิช, บอย ท่าพระจันทร์ – อรรถวัติ ศิริสิทธิธงไชย, ปาล์มมี่ – อีฟ ปานเจริญ, ปั๊ป โปเตโต้, ก๊อต – จิรายุ ตันตระกูล, มัดหมี่ – พิมดาว พานิชสมัย, Suntur – ยศนันท์ วุฒิกรสมบัติกุล, Rockkhound – ชนิพล กุศลชาติธรรม และ Yak (ยักษ์) คาแรกเตอร์ จากภาพยนตร์ The Giant King
- Kubix เตรียมเปิดตัว “DESTINY Token” โทเคนดิจิทัล “บุพเพสันนิวาส 2”
- GMM Grammy” จับมือ “Bitkub” ผลักดัน MUSIC NFT ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากคริปโตเคอร์เรนซี
- JNFT x UDOM เตรียมพบกับ NFT ชิ้นแรกของ โน้ส อุดม แต้พานิช ‘UDOM Taephanit’
- ติ๊ก – ชิโร่ นำงานวาด 3 ชิ้นในคอลเล็กชันส่วนตัว ด้วยเทคนิค Ink on paper, และ Acrylic on canvas ในชื่อชิ้นงาน “Swim In Tsunami001” “Fossil002” และ “LifeStory003” แปลงเป็น NFT พร้อมทั้งเปิดประมูลเนื้อเพลงรักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ NFT ด้วย
ตัวอย่างแบรนด์ดังที่เข้าสู่โลก NFT
ในปัจจุบันมีหลากหลายแบรนด์มากทั้งในไทยและต่างประเทศที่ได้เข้าสู่ NFT แล้ว ซึ่งเราได้หยิบมาเล่าเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น อย่างเช่น
- YouTube ที่แพลนว่าจะเปลี่ยนวิดีโอที่ถูกอัพโหลดลงแพลตฟอร์ม และ Mint ให้เป็น NFT เพื่อช่วยครีเอเตอร์สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
- TikTok เตรียมสร้างโลก NFT กับดาว TikTok เช่น Bella Poarch, Gary Vaynerchuk, Lil Nas X สำหรับทำ Mint ท่าเต้นบนโลก NFT เพื่อให้แฟน ๆ ได้เก็บไว้
- Twitter Blue ที่ผู้เล่น NFT สามารถโชว์รูปโปร์ไฟล์ของพวกเขาได้ (เพราะจะผูกกับกระเป๋า MetaMask เป็นกระเป๋าเงิน Ethereum ที่รองรับโทเค็นที่อยู่บน Ethereum ทุกชนิด) ซึ่งจากรูป Twitter ทั่วไปที่เป็นวงกลม ฟีเจอร์นี้จะเป็นรูป 6 เหลี่ยม (เป็นการการันตีอย่างหนึ่งว่ารูปโปร์ไฟล์ที่ใช้มาจากการซื้อกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง)
- LOUIS VUITTON ที่นำ NFT มาเชื่อมกับโลกความจริง
- Burberry ที่ร่วมสร้างเกม NFT (Blankos Block Party) ซึ่งของประดับต่างๆ ในเกมจะเป็นลายลิขสิทธิ์ของ Burberry
- SCB10X ที่ซื้อที่ดินเสมือนจริงใน The Sandbox เพื่อตั้งสำนักงานใหญ่
- SC Asset ที่เพิ่งประกาศสดๆ ร้อนๆ เกี่ยวกับ ‘SC Morning Coin’ เป็น utility token ที่ให้พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และนักลงทุนมาใช้ได้ โดยใช้กับสินค้าในเครือ เหมือนกับบัตรเครดิตที่มีคะแนน สร้าง ‘Living Solutions’
How to ลงทุน NFT อย่างปลอดภัย
- เช็ก Verify เครื่องหมายถูกสีฟ้าหลังชื่อบนโปรไฟล์เท่านั้น เพียงแต่บางโปรเจกต์ยังไม่ได้ Verify เพราะต้องรอ Process ก็มีนะ
- เช็กกิจกรรมการซื้อ – ขายของแพลตฟอร์ม โดยครีเอเตอร์จะต้องมีข้อมูลซื้อขายให้อ่าน มีลิงก์ไปโซเชียล หรือมีราคาเท่าไหร่เช็กได้หมด เพราะตลาด NFT จะมีการซื้อขายได้ตลอดเวลา หากไม่มั่นใจว่าใช่โปรไฟล์จริงหรือไม่ ให้เข้าไปเช็กใน Twitter ว่ามีผู้ติดตามเท่าไหร่ รวมทั้งอ่านคอมเมนต์เหมือนการซื้อของออนไลน์ก็ย่อมได้
- เช็ก ID ที่ Smart Contact (เลขกระเป๋าที่ปลอมแปลงไม่ได้) ซึ่งสามารถเช็กตาม Token ได้เลย
สำหรับโลกของ NFT อาจจะเป็นโลกใหม่ของใครหลาย ๆ คนที่รู้สึกว่าไกลตัว หรืออาจะเป็นโลกที่ใกล้ตัว และคุ้นเคยสำหรับบางคน ซึ่งข้อดีก็คือเป็นโลกอีกใบที่สามารถสร้างโอกาส และมูลค่ากับคนที่ไม่เคยมีพื้นที่ของตัวเองได้แสดงความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่ โดยผลงาน NFT เป็นผลงานที่สดใหม่ และไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนแน่นอน
แต่ในขณะเดียวกันโลกของ NFT แม้จะดูโปร่งใสและตรวจสอบได้เพราะว่าโลกคริปโตไม่มีความลับ และมีความประชาธิปไตย แต่หากไม่ได้ทำการศึกษามันอย่างดีพอ ก็อาจจะพลั้งพลาดจากการ Rug Pull หรืออาชญากรรมในวงการคริปโตได้ง่าย ๆ ฉะนั้นโลกนี้เป็นการสร้างโอกาสที่ตามมากับการบริหารความเสี่ยงไปด้วย และทุกครั้งที่ขายงานก็มีค่าแก๊สที่ต้องจ่ายเช่นกัน ไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ หรือได้อะไรมาฟรี ๆ เพราะการจะก้าวเข้าไปสู่โลกนี้ได้ต้องทำใจยอมรับในบางเรื่อง และเอาตัวรอดได้ด้วยความเข้าใจนั่นเอง
ที่มา: NFT 101 presented by SC Asset เปิดชั้นเรียนกับเซียน NFT