สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้จัดงานประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award 2022 ภายใต้แนวคิด“AWAKEN THE NEW POWER OF INSURANCE” เพื่อเฟ้นหาสุดยอด InsurTech ของประเทศไทยที่เสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านประกันภัย พร้อมส่งเสริมแนวคิดจาก “NEW POWER พลังใหม่” จากคนรุ่นใหม่ในไทย!
ซึ่งมีทีมที่ให้ความสนใจสมัครร่วมประกวดเป็นจำนวนมากกว่า 167 ทีม โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทนักเรียน นิสิต/นักศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป โดยมี 10 รางวัล รวมเงินรางวัล 500,000 บาท พร้อมโล่
และการตัดสินรอบชิงชนะเลิศจะให้ทีมที่ได้รับการคัดเลือกประเภทบุคคลทั่วไป 5 ทีมสุดท้าย และประเภทนิสิต/นักศึกษา 5 ทีมสุดท้าย ที่ผ่านการคัดเลือกได้มานำเสนอผลงานที่บูธของสำนักงาน คปภ. ในงาน “Thailand InsurTech Fair 2022” ในวันที่ 8 ตุลาคม 2565 เวลา 12.45 – 14.45 น. ณ อิมแพค เอ็กซิบิชัน ฮออล์ 6 เมืองทองธานี
โดยงานนี้ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ได้มอบหมายให้นายชัยยุทธ มังศรี เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินและมอบรางวัล และมีคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่
- นายทำนุ อมาตยกุล ประธานคณะอนุกรรมการดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย
- คุณกัลยา จุกหอม ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารอาวุโส สายงานวิชาการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย
- คุณอมฤต ฟรานเซน เลขาธิการ สมาคมฟินเทคประเทศไทย
- คุณพรชัย แสนชัยชนะ Brand Director บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) และที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- นางมยุรินทร์ สุทธิรัตนพันธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกลยุทธ์องค์กร สำนักงาน คปภ
- นายชินพงศ์ กระสินธุ์ Head of Center of InsurTech, Thailand (CIT)
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกรวม 100 คะแนน นั้นถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่
- ส่วนที่ 1 คิดเป็น 30 คะแนน ได้แก่ Wow factor & Pitching Presentation โครงการมีความน่าสนใจ มีไอเดียใหม่
ๆ และสามารถนำเสนอผลงาน พร้อมทั้งตอบคำถามคณะกรรมการได้อย่างชัดเจน ในเวลาที่กำหนดได้ - ส่วนที่ 2 คิดเป็น 20 คะแนน ได้แก่ Problem / Pain Point หรือปัญหาที่นำเสนอ ต้องเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง และมี
ผลกระทบรุนแรงต่อคนส่วนมากถึงมากที่สุด - ส่วนที่ 3 คิดเป็น 20 คะแนน ได้แก่ Product / Solution ที่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด เบ็ดเสร็จ ครบทุกมิติ และ
มีความเป็นไปได้ในบริบทประเทศไทย - ส่วนที่ 4 คิดเป็น 10 คะแนน ได้แก่ Market Opportunities หรือโอกาสทางการตลาด และส่วนสุดท้าย ซึ่งคิดเป็น
20 คะแนน - ส่วนที่ 5 คิดเป็น 20 คะนน ได้แก่ Technology ที่สามารถตอบโจทย์ ตรงกับ Solution ที่ต้องการ มีความทันสมัย
และยังไม่มีการใช้งานแพร่หลายในธุรกิจประกันภัยมากนัก
และเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ก็ได้มีการพิจารณาตัดสินรอบชิงชนะเลิศเป็นไปอย่างเข้มข้น ดังนี้
ประเภทนิสิต / นักศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่
- ทีม Schmettering ภายใต้แนวคิด “จากแนวโน้มที่มีผู้ป่วยทางจิตเวช เพิ่มขึ้น และผู้ป่วยบางรายมีความกังวลกับการพูดคุยต่อหน้ากับนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ จึงได้คิดค้น Application สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวช สามารถพบนักนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ทางออนไลน์ เพื่อทำการ วินิจฉัยประเมินวัดความเสี่ยง และคำนวณเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยี AI” ได้รับเงินรางวัล มูลค่า 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Plantpot ภายใต้แนวคิด “Long term health care insurance ประกันภัยสุขภาพรูปแบบใหม่สำหรับสังคมยุคใหม่”
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม METTA ภายใต้แนวคิด “Community สำหรับผู้สูงวัยบน Metaverse เพื่อการเสนอขายประกันภัยที่ใช่ สำหรับไลฟ์สไตล์ที่ชอบ” และรางวัลชมเชยลำดับที่ 1 ได้แก่ ทีม Code Line ภายใต้แนวคิด “Application เพื่อ surveyor ยกระดับการเคลมรถยนต์และการบริการลูกค้า” รางวัลชมเชยลำดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Infinity ภายใต้แนวคิด “เพิ่มประสิทธิภาพการประเมินความเสียหายรถยนต์ในโลกเสมือนจริง ผ่านเทคโนโลยี MR”
ส่วนผลการตัดสินประเภทบุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ได้แก่
- ทีมประกันสุขภาพ ซ่อมอู่ ฟิน ฟิน ภายใต้แนวคิด “Platform สำหรับเชื่อมต่อคลินิกแพทย์เอกชนที่มีระบบการควบคุมต้นทุนค่ารักษา ปริมาณยาที่จ่าย (dosage) และมาตรฐานคิดค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงระบบตรวจจับการฉ้อฉล ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันภัย สามารถออกผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่คุ้มครองด้านการเข้ารักษาที่คลินิกฯ ได้ง่ายขึ้น และส่งผลให้ได้เบี้ยประกัน ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ที่มีสวัสดิการพื้นฐานอยู่แล้ว สามารถเข้าถึงและเลือกใช้การ ประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้ง่ายขึ้น” ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Blue oak ภายใต้แนวคิด “ลดความสูญเสียเมื่อเกิดภัย เพิ่มความอุ่นใจให้ผู้เอาประกัน หั่นค่าเบี้ยให้ถูกลง สำหรับผู้สูงอายุ”
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Meddit ภายใต้แนวคิด “Meddit สรุป พร้อมแนะนำประกัน ของคุณโดย AI” และรางวัลชมเชยลำดับที่ 1 ได้แก่ ทีม Covest Paratex ภายใต้แนวคิด “ระบบประกันรูปแบบใหม่ ด้วยเทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะ บนโครงข่ายบล็อกเชน”
- รางวัลชมเชยลำดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Buddy Survey ภายใต้ แนวคิด “Auto Claim Rider Service”
โดยรางวัลนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ในงาน OIC InsurTech Awards 2022 มีเพื่อจะเฟ้นหา “NEW POWER พลังใหม่” จากคนรุ่นใหม่ที่จะมาช่วยพลิกโฉมโลกประกันภัย ให้สามารถเสริมสร้าง อุตสาหกรรมประกันภัยให้แข็งแกร่ง รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ให้สามารถเข้าถึงบริการ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ตลอดจนช่วยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคด้านการประกันภัยด้วย
ซึ่งโครงการปีนี้สามารถ จัดกิจกรรม Bootcamp เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้าน InsurTech และความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ซึ่งจัดทั้งในรูปแบบ Online และ Offlineเพื่อบ่มเพาะและพัฒนาทักษะในการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) รวมถึงมีทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิคอยเป็น Coach ให้คำปรึกษาแบบ Intensive Coaching เพื่อช่วยกระตุ้นความคิดและบ่มเพาะผลงานให้สามารถตอบโจทย์ Pain Point ต่าง ๆ ได้ตรงจุด และสามารถนำเสนอ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ที่มีความน่าสนใจและมีความเป็นไปได้ในการต่อยอดไปสู่ภาคธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบ
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการปีนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้พื้นฐานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม ประกันภัยให้แก่ กลุ่มนิสิต นักศึกษา บุคลากรในวงการประกันภัย และ Tech Firm ที่มีความสนใจได้นำความรู้ ไปพัฒนานวัตกรรมด้านการประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขอแสดงความยินดีกับทีมที่ได้รับรางวัลทุกทีม ขอให้รักษาคุณภาพและหมั่นพัฒนาศักยภาพให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะได้นำความรู้มาต่อยอดและช่วยกันพัฒนา InsurTech ของประเทศไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
จากการประกวดครั้งนี้ทำให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่และกลุ่ม InsurTech Startup ในประเทศไทยนั้น มีศักยภาพไม่แพ้ ประเทศอื่น ๆ เราได้เห็นถึงพลังของคนรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญของการร่วมกันพลิกโฉมอุตสาหกรรมประกันภัย และมี พลังในการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งศูนย์CIT จะมุ่งสร้างสภาพแวดล้อม และสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรม พร้อมทั้งประสานพลังคนทุก generation โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและ แลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีประกันภัย (InsurTech) ซึ่งจะเป็นประโยชน์เป็นอันมากต่อธุรกิจประกันภัยของไทยในอนาคต