แม้การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์อาจจะยังไม่ได้ถูกนิยามเสมือนกับอาชีพอื่น ๆ แต่ก็กลายเป็นอาชีพเสริมที่คนมีงานประจำทำเป็นงานอดิเรก หรือไม่ก็ลายเป็นอาชีพหลัก แต่ Pain Point ในการเป็นครีเอเตอร์ที่เจออยู่ก็ยังต้องการถูกเติมเต็ม ซึ่งวันนี้ RAiNMaker จะมาแชร์ให้รู้กันว่าอุปสรรคในการเป็นครีเอเตอร์ยุคนี้ต้องเจอกับอะไรบ้าง!?
จากผลการสำรวจเหล่าครีเอเตอร์ใน iCreator Camp 2024 ของ Thai Media Lab นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ RAiNMaker พบว่าลักษณะของการเป็นครีเอเตอร์กว่า 43% มีงานประจำทำอยู่แล้ว และทำครีเอเตอร์เป็นงานอดิเรก ซึ่งยังไม่สามารถหารายได้ได้อย่างจริงจัง แต่ชอบทำคอนเทนต์
และ 21% ที่ทำครีเอเตอร์เป็นอาชีพหลัก หารายได้จากการเป็นครีเอเตอร์เพียงอย่างเดียว โดยกลุ่มครีเอเตอร์ที่ต้องการพัฒนาทักษะก็มักจะทำคอนเทนต์มาประมาณ 1-3 ปีกว่า 50% แล้ว พร้อมกับมีแนวโน้มว่ากลุ่มคนเหล่านี้หากมีรายได้ที่สม่พเสมอก็จะทำครีเอเตอร์ให้กลายเป็นอาชีพหลักมากขึ้น
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้แสดงให้ว่า การเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์นั้นเริ่มต้นง่าย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเริ่มแล้วยืนระยะในวงการนี้ รวมถึงเป็นที่จดจำได้ เพราะต้องเจอกับอุปสรรค (Pain Point) ดังนี้
PAIN POINT: อุปสรรคที่สุดในการเป็นครีเอเตอร์
- การสร้างจุดยืนให้แตกต่าง และแข่งขันได้
ยิ่งผู้คนหันมาเป็นครีเอเตอร์ ก็ยิ่งทำให้สร้างความแตกต่างได้ยากขึ้น แม้บุคลิก และการหาจุดเด่นในคอนเทนต์จะตแตกต่างไปตามตัวตนของแต่ละคนก็ตาม แต่ความเป็นตัวเองนั้นก็ไม่ได้แปลว่าจะถูกจริตเหล่าผู้ชมไปเสียทั้งหมด ทำให้การสร้างจุดยืนให้แตกต่าง และสามารถแข่งขันกับครีเอเตอร์คนอื่น ๆ ในวงการได้เป็นอุปสรรคอันดับ 1
- การหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่มเติม
ด้วยจำนวนครีเอเตอร์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้แบรนด์ และเอเจนซีมีตัวเลือกที่เยอะขึ้นเช่นกัน ฉะนั้นการสร้างรายได้จากครีเอเตอร์จะต้องมีตัวตน และเอกลักษณ์ของช่องที่ชัดเจน รวมถึงเป็นที่รู้จัก และยอดเอ็นเกจเมนต์มากพอ ถึงจะทำครีเอเตอร์เป็นอาชีพหลักได้ แต่ในตอนนี้อาจจะยังไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ทำให้การสร้างรายได้เพิ่มเติมเป็นอุปสรรคอันดับ 2 เช่นกัน
- แพลตฟอร์ม และอัลกอริทึม
เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และครีเอเตอร์มีบทบาทมากขึ้น ฝั่งแพลตฟอร์มก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอัลกอริทึมที่โฟกัสคอนเทนต์วิดีโอมากขึ้น รวมถึงตอนนี้ยังหันไปโฟกัสการแชร์ไปในแชตเพื่อให้เกิดบทสนทนา และการพูดคุยเป็นคอมมูนิตี้ หรือแม้กระทั่งมีการแนะนำด้วย AI มากขึ้น เรียกได้ว่านอกจากเทรนด์แล้ว อัลกอริทึมก็ต้องตามให้ทันเช่นกัน
- การสร้าง Storytelling
การสร้างตัวตนบางครั้งอาจไม่เพียงพอ ก็เลยต้องสร้างตัวตนมาพร้อมกับเรื่องราว หรือเรื่องเล่าที่มี Storytelling ทำให้ผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ได้โดยการหาจุดร่วมด้วย เพราะเรื่องเล่าที่น่าสนใจจะทำให้ผู้ชมหยุดฟัง และติดตามต่อไปได้
- จริยธรรม และความรับผิดชอบ
เมื่อการสร้างหรือผลิตคอนเทนต์เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย และมีออกมาเรื่อย ๆ แต่การผลิตคอนเทนต์พร้อมกับรับผิดชอบ และตระหนักในมุมมองของสังคมเพิ่มขึ้นนั้นไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ ทำให้การสร้างคอนเทนต์ที่ต้องคำนึงถึงสังคมไปด้วยกลายเป็นอุปสรรคที่ยังคงซ่อนเร้นอยู่สำหรับการเป็นครีเอเตอร์
- แรงกดดันจากความคิดเห็นในโลกโซเชียล
ไม่ว่าจะเป็นดราม่า หรือคอมเมนต์ในเชิงลบ ครีเอเตอร์หลาย ๆ คนก็ยังต้องรับแรงกดดันจากสิ่งเหล่านี้อยู่ทุกวันในโลกโซเชียมีเดียที่มีทั้งคนชอบ และไม่ชอบ เพราะเป็นพื้นที่ที่ให้ผู้คนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และขาดการยั้งคิดมากที่สุด อุปสรรคนี้จึงยังไม่เคยได้รับการแก้ไข และมีการรับมือแตกต่างกันไปตามสภาพจิตใจของเหล่าครีเอเตอร์
อุปสรรคตามระยะเวลาการเป็นครีเอเตอร์
5 ปีขึ้นไป
- การสร้างตัวตนให้แตกต่าง
- การหารายได้เพิ่มเติม
- แพลตฟอร์ม และอัลกอริทึม
ยิ่งระยะเวลาในการเป็นครีเอเตอร์นานเท่าไหร่ ก็ยิ่งตองสร้างความแตกต่างให้มากที่สุด เพื่อแข่งขันกับครีเอเตอร์หน้าใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์ม และอัลกอริทึมที่คาดเดาไม่ได้ ซึ่งมาถึงจุดนี้ก็อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกอิ่มตัว จนต้องหารายได้เพิ่มเติมจากทั้งการรีวิวสินค้า, Sponsorship จากแบรนด์ และ Affiliate Marketing ด้วย
3-5 ปี
- การหารายได้เพิ่มเติม
- แพลตฟอร์ม และอัลกอริทึม
- การสร้างตัวตนให้แตกต่าง
แม้ระยะเวลาการเป็นครีเอเตอร์จะไม่ได้นานเท่ากับ 5 ปีขึ้นไป แต่ในระยะเวลา 3-5 ปีก็มีกังวลถึงเรื่องรูปแบบรายได้จากการเป็นครีเอเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม และสร้างตัวตนให้แตกต่าง เนื่องจากมีระยะเวลาทำมานานพอสมควรแล้ว
1-3 ปี
- การสร้างตัวตนให้แตกต่าง
- การหารายได้เพิ่มเติม
- แพลตฟอร์ม และอัลกอริทึม
ในระยะเวลาการเป็นครีเอเตอร์ 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่พอจะจับจุดได้ว่ากลุ่มผู้ชมต้องการอะไร และบางคนก็อาจจะอยู่ในช่วงค้นหาตัวเอง เพื่อให้ช่อง และคอนเทนต์มีความชัดเจนมากขึ้นด้วย แต่เรื่องรายได้เสริมจากทั้งการรับ Sponsorship หรือคอลแลปกับแบรนด์ไปจนถึงอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มก็ยังเป็นอุปสรรคอยู่
น้อยกว่า 1 ปี
- การสร้างตัวตนให้แตกต่าง
- การหารายได้เพิ่มเติม
- การสร้าง Storytelling
สำหรับการเป็นครีเอเตอร์หน้าใหม่แน่นอนว่าการสร้างตัวตนให้ต่าง และมีจุดยืนเป็นอันดับบแรกที่ต้องทำ รองลงมาก็อาจมองหาโอกาสในการสร้างรายได้ รวมถึงการมีเรื่องราว และเรื่องเล่าที่มี Storytelling ไว้ดึงดูดความน่าสนใจได้ เพื่อต่อยอดให้ยืนระยะในวงการครีเอเตอร์ได้นานถึงปี โดยไม่ได้ทำเพราะมีเวลาว่างเพียงอย่างเดียว
ทักษะที่ครีเอเตอร์อยากพัฒนา
ช่วงหน้าใหม่
- Storytelling
- Creativity
- Ethics
ระยะแรกเริ่มในการเป็นครีเอเตอร์หน้าใหม่ หรือก่อนเริ่มไม่เกิน 1 ปี จะให้ความสำคัญกับทักษะในการสร้างเรื่องราว เพื่อเล่าให้มี Storytelling มากที่สุด รองลงมาจะเป็นเรื่องความครีเอทีฟ และจริยธรรม รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในการทำคอนเทนต์
ช่วงทำมาระยะหนึ่ง
- Design & Visual
- Monetization
- Content Marketing
ระยะเวลาช่วงกลางในการเป็นครีเอเตอร์ที่ผลิตคอนเทนต์มาสม่ำเสมอ แต่ยังไม่มีรายได้ที่ชัดเจนจะให้ความสำคัญกับทักษะในการดีไซน์ Visual ในคอนเทนต์ให้น่าสนใจมากขึ้น รองลงมาก็คือการหารายได้หลายรูปแบบ และการสร้าง Branding ของตัวเองให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
ช่วง Scale up
- Entrepreneurship
- Production & Platform
- Issues-based
ระยะเวลาที่ครีเอเตอร์อยากทำได้มากขึ้น โดยเฉพาะด้านรายได้ที่ทำให้สเกลการรับงานขยาย มักจะมีการคำนึงถึงทักษะในการทำธุรกิจเพิ่มนอกจากการผลิตคอนเทนต์ แต่จะมีมุมมองด้าน Entrepreneur ด้วย นอกจากนี้ยังอยากเพิ่มเรื่องคุณภาพของ Production และความรู้เฉพาะทางเพื่อทำให้คอนเทนต์มีความลึกมากขึ้นด้วย
เป้าหมายของครีเอเตอร์
- โอกาสในการทำงานกับแบรนด์
- ร่วมมือกับ Partner และ Collab กัน
- สร้าง Creator Community
การเป็นครีเอเตอร์นอกจากทักษะที่ต้องการพัฒนาแล้ว ก็มีความคาดหวังในเรื่องโอกาสในการทำงานกับแบรนด์ หรือมีพาร์ตเนอร์ที่คอลแลปกันได้ รวมถึงต่อยอดในการเริ่มเข้าสู่เครือข่าย Content Creator Community ด้วย
iCreator Conference Presented by SUPALAI: THE ICONIC
“งานที่จะพาไปตามหาความไอคอนิกของตัวเอง”
นอกจากพลังของความครีเอทีฟแล้ว พลังของการสร้างตัวตน (Identity) ให้โดดเด่น และเป็นที่จดจำก็สำคัญ เพื่อทำให้สามารถยืนระยะในทุกวงการได้อย่างยาวนาน และอยู่รอดไม่ว่าเทรนด์ในวงการนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
iCreator Conference จึงกลับมาพร้อมกับธีม “THE ICONIC” เวทีรวมตัวเหล่าไอคอนิกแห่งวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์, อินฟลูเอนเซอร์, แบรนด์ และเอเจนซีที่เป็นที่สุดของแต่ละอุตสาหกรรม มาแชร์ประสบการณ์ เติมแรงบันดาลใจสู่เส้นทางการสร้างไอคอนิกของตัวเอง เตรียมพบกับ iCreator Conference 2024: THE ICONIC และมาสร้างตัวตนให้แตกต่างไปด้วยกัน
งานนี้เหมาะกับ
- ทุกคนที่อยากเป็นครีเอเตอร์
- ครีเอเตอร์หน้าใหม่
- ครีเอเตอร์ที่ทำมานาน
- ครีเอเตอร์ที่อยากยืนระยะ
TICKET ON SALE
- SUPER EARLY BIRD 1,200.-
- 5x Super Early Bird Group (5% Discount) 5,700.-
- Date: 27 Jul. – 15 Aug. 67
#iCreator2024 #THEICONIC #iCreatorConference