การคิดคอนเทนต์มักจะเป็นปัญหาใหญ่ของชาวครีเอเตอร์ และนักการตลาดอยู่เสมอ เพราะต้องคิดให้สดใหม่ แตกต่าง และคงความเป็นตัวของตัวเองไปด้วยในเวลาเดียวกัน วันนี้ RAiNMaker เลยจะพาไปทำความรู้จักกับ The Periodic Table of Content Marketing ตัวช่วยคิดคีย์คอนเทนต์กัน!
The Periodic Table of Content Marketing หรือ Period Table Content Marketing คือภาพองค์รวมคีย์หลัก ๆ ในการสร้างคอนเทนต์ขึ้นมา โดยจะคำนึงถึงแกนหลักในการสร้างคอนเทนต์ เช่น กลยุทธ์ ฟอร์แมต ประเภทของคอนเทนต์ และเป้าหมายในการทำคอนเทนต์ เป็นต้น
ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้ตารางนี้ควรทำก็คือการเช็กลิสต์ไปตามแกนต่าง ๆ ทั้ง 8 สีให้ครบ แล้วพอดูภาพรวมก็จะมองเห็นภาพของคอนเทนต์ที่จะทำมากขึ้น โดยมีรายละเอียดแต่ละแกน ดังนี้
Format – ฟอร์แมตในการสร้างคอนเทนต์
เป็นประเภทฟอร์แมตต่าง ๆ เช่น บทความ วิดีโอ อีเวนต์ โซเชียล อีเมล อีบุ๊ก เป็นต้น
Content Type – ประเภทของคอนเทนต์
ประเภททั้งหมดในการสร้างคอนเทนต์ เช่น รีวิว สัมภาษณ์ ดารทดลอง ควิซ วิเคราะห์ สถิติ เป็นต้น
Platform – แพลตฟอร์มในการลงคอนเทนต์
เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ลงคอนเทนต์ เช่น เว็บไซต์ บล็อก โซเชียลมีเดียต่าง ๆ อย่าง Facebook, YouTube, TikTok, Instagram เป็นต้น
Metrics – หน่วยวัดคอนเทนต์
เป็นหน่วยวัดที่จะใช้วัดคอนเทนต์ เช่น ยอดวิว ยอดจากกลุ่มเป้าหมาย ยอดเสิร์ช ยอดสมัครสมาชิก และยอดเอ็นเกจเมนต์ เป็นต้น
Goals – เป้าหมายในการสร้างคอนเทนต์
เป้าหมายในการสร้างคอนเทนต์ เช่น เพื่อเพิ่มทราฟฟิกในการเข้าชมคอนเทนต์ เพื่อยอดขาย เพื่อสร้างการรับรู้ และแบรนดิ้ง หรือเพื่อยอดแชร์ เป็นต้น
Sharing Triggers – จุดประสงค์ในการปล่อยคอนเทนต์
เป็นจุดประสงค์ในการปล่อยคอนเทนต์ เพื่อสร้างความรู้สึก หรืออิมแพคอะไรบางอย่างกับช่องทางที่ปล่อยไป เช่น ความสนุก ขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม เป็นต้น
Checklist – เช็กลิสต์ก่อนลงคอนเทนต์
เป็นตัวช่วยในการเช็กลิสต์รายละเอียดของคอนเทนต์ก่อนจะปล่องลงในช่องทางต่าง ๆ เช่น การเสิร์ช SEO แบรนด์ไกด์ไลน์ ไปจนถึง Facet Checking และ CTA (Call-to-Action) ในคอนเทนต์ เป็นต้น
ส่วนวิธีการใช้ตารางการสร้างคอนเทนต์ และประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเองมากที่สุด มี 7 วิธี คือ
- นำคอนเทนต์ที่จะทำ มาวิเคราะห์ตามหัวข้อสีต่าง ๆ ในตาราง
- โดยเริ่มวิเคราะห์จากฟอร์แมตที่จะลง
- เลือกประเภทของคอนเทนต์ที่จะสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายของเราได้
- เลือกช่องทางที่จะลงคอนเทนต์
- แทร็กคีย์หลักของหน่วยวัด และเป้าหมาของคอนเทนต์ ว่าลงไปแล้วควรมีการสร้างอิมแพคอย่างไร และนำมาวัดผลจากอเไรได้บ้างถึงจะนับว่าเป็นคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ
- เช็กจุดประสงค์ในการปล่อยคอนเทนต์ หรือ Sharing Trigger ให้ดี ว่าคอนเทนต์ที่สร้างจะส่งผลด้านอารมณ์ของกลุ่มเป้าหมาย หรือให้อะไรกับสังคมบ้างนอกจากเรื่องความรู้สึกในคอนเทนต์
- มีการดับเบิ้ลเช็กคอนเทนต์ก่อนลงเสมอ โดยเช็กตาม Checklist เพื่อให้คอนเทนต์ได้รับผลลัพธ์ที่ครบถ้วนมากขึ้น
ซึ่งหากคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นมา มีคุณสมบัติครบตามตารางคอนเทนต์ ก็สามารถลงในช่องทางต่าง ๆ ได้เลย
แต่อาจจะต้องอาศัยการวิเคราะห์ และมีกระบวนการคิดคอนเทนต์ให้ชินในช่วงแรกก่อน เพียงแค่นี้เราก็จะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่สร้าง Value ให้ทั้งกับตัวเรา ผู้คนและสังคมได้
อ้างอิง: Econsultancy