เป็นปีของ Podcast จริงๆ เพราะใครๆก็พูดถึง ใครๆก็อยากเป็น Podcaster หรือผู้จัดพอดแคสต์นั่นเอง อาจจะดูเหมือน Podcast เป็นเรื่องใหม่กว่าสื่อโซเชียลอื่นๆ แต่จริงๆมันเริ่มมาพร้อมกับ iPod ในปี 2001 จะว่าไปพอดแคสต์ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนการเกิดขึ้นของ YouTube ด้วยซ้ำไป แต่ทำไมเพิ่งจะได้รับความสนใจ เราลองมาดูที่มาที่ไป และทิศไทยต่อไปของคอนเทนต์เสียงที่ชื่อว่า Podcast นี้กัน
ก่อนหน้าคำว่า Podcast จะกำเนิด การที่เราโหลดเสียง MP3 ที่ไม่ใช่เพลงมาฟัง เราจะเรียกสิ่งนั้นว่า Downloadbale Radio บ้าง Audio Blogging ถ้ายกตัวอย่างให้คนไทยเห็นภาพชัดสุดก็เสียงบันทึกพระธรรมเทศนาก็นับเป็น Audio Content ประเภทหนึ่งและอาจเป็นประเภทแรกๆที่เกิดขึ้นมาเสียงด้วยซ้ำ กลับมาที่ Podcast อย่างที่เล่าไปว่ามันเกิดมาพร้อมๆกับการเปิดตัว iPod จึงเกิดการรวมคำระหว่าง iPod + Broadcasting = Podcast คนที่จัดการพอดแคสต์ก็เป็น Poscaster เหมือนที่เราเรียกคนเขียนบล็อกว่า Blogger ซึ่งในอเมริกาใช้พอดแคสต์สำหรับฟังเพื่อความบันเทิง เสพย์ข่าวสาร ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน และรวมไปถึงใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง
ในช่วง 10 ปีแรก ผู้ฟังจะฟังจาก iPod เป็นหลัก Podcaster ส่วนมากก็จะเป็นบล็อกเกอร์ หรือมีเดียที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ที่ขยายการทำคอนเทนต์มายังพอดแคสต์ อีกทั้งการมาของ YouTube ที่สามารถดูภาพได้ ฟังเสียงได้ ทำให้พอดแคสต์ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จนกระทั่ง Podcast ได้รับความสนใจอีกครั้งในแวดวง Startup ในปี 2014 โดย อเล็กซ์ บลัมเบิร์ก ได้จัดรายการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำ Startup ของเขา ซึ่งในปีนั้นก็เป็นปีทองของ Startup ด้วยเช่นกัน ทำให้มีผู้ฟังจากทั่วโลกให้ความสนใจ และความโด่งดังของรายการยังช่วยระดมทุนบริษัท กิมเล็ต มีเดีย ของเขาได้ถึง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้น Podcast ก็กลับมาบูมอีกครั้ง ยอดโฆษณาก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา Spotiy ก็เข้าซื้อ Gimlet Media และ Anchor โดยปิดดีลไปที่ 337 ล้านเหรียญ
ในสหรัฐอเมริกานั้นรายการ Podcast มีได้รับความนิยมและมีผู้ฟังมากพอที่จะดึงดูดเม็ดเงินจากการโฆษณาได้ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยตัวเลขประมาณรายจ่ายในการซื้อโฆษณาบนพอดแคสต์ในปีนี้คาดว่าจะทะลุ 500 ลัานเหรียญได้ไม่ยาก เพราะ Research ของ IAB ฉบับเก่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้ว่าในปี 2017 อุตสาหกรรมพอดแคสต์นั้นน่าจะมีเม็ดเงินในการโฆษณาอยู่ที่ประมาณ 220 ล้านเหรียญ แต่เอาเข้าจริงยอดโฆษณาในปีนั้นกลับสูงกว่าที่คาดไว้ถึงเกือบ 100 ล้านเหรียญ และการประมาณการในฉบับใหม่ปี 2019 จะเห็นได้ว่าตัวเลขสูงสุดที่คาดการณ์ไว้คือ 659 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตถึง 111%
ส่วนสัดส่วนรูปแบบโฆษณาที่ซื้อก็มีความน่าสนใจ เผื่อ Podcaster บ้านเราจะได้ผลิตคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์การซื้อโฆษณาแต่ละประเภท ลำดับแรกที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายมากสุดก็จะเป็น Direct Respond Ads การขายของแบบตรงๆ มีการพูดถึงโปรดักส์ในรายการแบบชัดเจนไปเลย รองลงมาก็เป็นแบบ Brand Awareness เพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ อาจจะมาในรูปแบบ Sponsor by ซึ่งรูปแบบนี้เริ่มเห็นในไทยมากขึ้นแล้ว ส่วนอีกแบบที่อาจจะน้อยหน่อยแต่ก็มีให้เห็นคือ Branded Content คือแบรนด์ กับ Podcaster ลงทำงานด้วยกัน จากชาร์ตเปรียบเทียบของปี 2016 กับ 2017 ก็จะเห็นได้ว่า การทำ Brand Awareness ผ่านพอดแคสนั้นเพิ่มขึ้นอยู่ไม่น้อยทีเดียว
ดูเรื่องของตลาดการทำโฆษณาไปแล้วลองกลับมาดูว่าจริงๆแล้วสิ่งที่ทำให้ Podcast เติบโตขึ้นมาขนาดนี้ก็คือผู้ฟัง ซึ่งก็มีการสำรวจพฤติกรรมการฟังพอดแคสต์ว่ามักจะเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง
1. ฟังตอนอยู่บ้าน อาบน้ำ ทำครัว ทำงานบ้าน
2 . ขณะขับรถ
3. ขณะเดินไปนู้นนี่
4. ขณะออกกำลังกาย จ็อกกิ้งต่างๆ
5. ขณะทำงาน
6. ขณะอยู่บนรถไฟฟ้ารถเมล์
ผลสำรวจ สถาบันวิจัยในเครือของรอยเตอร์ สำรวจใน 22 ประเทศ โดยสุ่มกลุ่มเป้าหมายมาประเทศละ 2 พันคน จะเห็นว่าประเทศในแถบเอเชีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน มีเปอร์เซ็นเป็นครึ่งนึงของผลสำรวจที่ฟังพอดแคสเป็นประจำ แสดงให้เห็นว่าการมาของพอดแคสไม่ใช่แค่ไทยที่เริ่มตื่นตัว แต่ประเทศที่มีอยู่ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนสูงๆอย่าง 3 ประเทศนี้ก็มีอัตราการฟังพอดแคสสูงตามมาด้วย
สำหรับในไทยเชื่อว่าหลายคงได้ยินชื่อของ พอดแคสบ่อยๆก็ในช่วง 5 – 6 ปี ที่ผ่านมานี้ แต่จริงๆแล้วพอดแคสที่เก่าแก่ที่สุดของไทยมีมาถึง 12 ปี Changkhui ในช่วงแรกต้องยอมรับว่าคนที่ฟัง Podcast จริงๆ จะเป็นสาย Geek ไปเลย เป็นกลุ่มคนที่ใช้ทุกแอปที่ไอโฟนมีมาหา แต่ก็ยังติดอยู่ที่ว่า เมื่อเข้าไปฟังแล้วยังไม่ได้ช่องพอดแคสไทยที่มากพอ จนในช่วงหลังมานี้เมื่อมี Podcaster เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนก็ไหลเข้ามาฟังเยอะขึ้น บวกกับการมาของ Spotify เมื่อ 2 ปีก่อน ผู้ฟังพอดแคสจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้ใช้ ไอโฟนอีกต่อไป
ทำให้ Podcast ต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆตรงที่ จากเดิมที่ครีเอเตอร์วิ่งไปหาคนอ่านหรือผู้ฟัง ผู้ชม ตามแพลตฟอร์มที่มีคนใช้เยอะ แต่กับพอดแคสแล้วตัวครีเอเตอร์ Podcaster ทั้งหลายเป็นผู้หลีดให้คนมาฟังบนแพลตฟอร์มใหม่ๆได้ ตรงนี้ต้องขอเสียงปรมมือให้กับเหล่า Podcaster Thai ด้วย ซึ่งเท่าที่เราลองลิสต์มาได้ช่อง Podcast ในไทยนั้นมีมากกว่า 60 ช่อง และแต่ละช่องก็แตกรายการไปอีกหลายๆรายการซึ่งคาดว่าน่าจะมีกว่า 200 รายการ โดยแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมสำหรับคนฟังพอดแคสต์ในไทยก็จะมี Apple Podcasts, Anchor, Spotify, Overcast, Soundclound และ Castbox
อย่างที่เราเล่าไปว่าในอเมริกามีรูปแบบรายการที่หลากหลายมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นสื่อเจ้าใหญ่ บริษัทชั้นนำ หรือกระทั่งพรรคการเมืองเองก็มีช่อง Podcast ทั้งสิ้น แต่ในไทยนั้นช่อง Podcast มักเริ่มมาจากการจัดเป็นงานอดิเรก ทำให้รูปแบบรายการส่วนใหญ่จะเป็นการสนทนาระหว่างผู้จัด โดยมีสัดส่วนสูงถึง 42.31% หรือเกือบครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ส่วนรูปแบบที่ได้รับความนิยมรองลงมาก็คือการ การสัมภาษณ์ , ผู้ดำเนินรายการเดี่ยว, รายการบรรยาย และรายการอภิปรายสัดส่วนลดลั่นกันไป
อีกคุณลักษณะสำคัญที่ทำใหั Podcast แตกต่างจากสื่อโซเชียล อย่าง Facebook Twitter Instagram อย่างชัดเจนก็คือเรื่องของความเป็นส่วนตัว จากที่ปกติเราจะเสพต์คอนเทนจากการที่เพื่อนแชร์มา จากพับบลิชเชอร์ที่เราติดตามบนแพลตฟอร์มต่างๆ แต่กับ Podcast เราได้เป็นผู้เลือกจะคอนเทนต์ด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
บทความเกี่ยวกับ Podcast
4 เหตุผลที่ Publisher ควรมา เริ่มทำ Podcast และวิธีเริ่มต้น
เขียนสคริปต์ Podcast ยังไงไม่ให้ออกทะเล
Mark Zuckerburg เปิดตัวพอดคาสต์ Tech and Society with Mark Zuckerberg