Journalism

Avatar

miss arisa March 20, 2019

24 มี.ค.นี้ กับข้อพึงระวังในรายงานข่าวเลือกตั้งของสื่อมวลชน

สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ออกบทความประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อพึงระวังให้แก่สื่อมวลชนทุกแขนงในการเสนอข่าว เลือกตั้ง ในวันที่ 24 มีนาคมนี้

1. สื่อมวลชนทุกประเภท  อยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการเลือกตั้ง  ตัวอย่างที่พึงระวัง อาทิ

  • ไม่เสนอข่าวในลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหาเสียงทางอ้อมให้กับพรรคการเมือง  ตั้งแต่ 18.00 น. ก่อนวันเลือกตั้ง จนสิ้นสุดเวลาการลงคะแนนเลือกตั้ง
  • สื่อมวลชนทำโพลล์  หรือรายงานผลโพลล์ของสำนักโพลล์ต่าง ๆ ได้ โดยต้องระวังว่าต้องไม่ใช่โพลล์ที่ทำโดยเจตนาไม่บริสุทธิ์  โดยหวังผลชี้นำต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
  • ต้องไม่นำเสนอผลโพลล์ระหว่าง 7 วันสัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงสิ้นสุดการเลือกตั้ง
  • ระมัดระวังในการบันทึกภาพบริเวณหน่วยเลือกตั้ง  จนอาจทำให้การลงคะแนนของผู้มีสิทธิ์ไม่เป็นความลับ
  • สืบเนื่องจากระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรค์ปันส่วนผสม  ทำให้ทุกคะแนนเสียงอาจมีผลต่อพรรคการเมืองได้ทุกพรรค  การอำนวยความสะดวกของพรรคการเมืองในการทำข่าวของสื่อมวลชนในระหว่างมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง  อาจเข้าข่ายการให้ผลประโยชน์ที่อาจคำนวณเป็นตัวเงินแก่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้

2. สื่อมวลชนทุกประเภท  อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  เช่น กฎหมายหมิ่นประมาท  กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3.  สื่อวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์ ห้ามขายพื้นที่โฆษณาทางการเมืองในระหว่างมี พระราชกฤษฎีกาการ เลือกตั้ง

4.  สื่อประเภทอื่น ๆ นอกจากข้อ 3  รับเงินค่าโฆษณาการหาเสียงได้ภายใต้เงื่อนไขไม่เกินค่าใช้จ่ายในการหาเสียง

5.  กฎหมายกำหนดให้สื่อวิทยุกระจายเสียง  และวิทยุโทรทัศน์  ต้องให้ความร่วมมือกับ กกต. ในการจัดสรรเวลาออกอากาศให้กับพรรคการเมือง

ภาพ สำนักประชาสัมพันธ์ กกต.

6.  การทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชนทุกประเภท  ในการรายงานข่าวเลือกตั้ง  สามารถทำได้ตามสิทธิเสรีภาพ หลักวิชาชีพ หลังจรรยาบรรณ  จริยธรรมวิชาชีพ โดยการยึดหลักความเป็นกลาง ความเสมอภาพของผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้น อาจมีส่วนช่วยให้ศาลใช้ดุลยพินิจโดยยกหลักการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน  หากเกิดกรณีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วม

7.  การจัดเวทีอภิปรายของผู้สมัครหรือผู้แทนพรรคการเมืองเพื่อนำเสนอในพื้นที่สื่อ ให้คำนึงถึงการกระจายโอกาสให้กับพรรคการเมืองต่าง ๆ  แต่ไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนทุกพรรคในแต่ละเวที  อาจกระจายเวทีเป็นประเด็นตามนโยบาย หรือขนาดของพรรค

8.  ห้ามสื่อมวลชน พิธีกร  ศิลปิน ใช้ความสามารถของอาชีพเพื่อช่วยหาเสียงแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง เว้นแต่จะเป็นตัวผู้สมัครเอง

9.  ห้ามเผยแพร่ถ้อยคำหาเสียงที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย  หรือปลุกระดม

10.  ห้ามรับเงิน  ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์  เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มุ่งรายงานข่าวด้านดีแก่พรรค หรือผู้สมัคร หรือมุ่งรายงานข่าวแง่ร้ายแก่คู่แข่ง

สำหรับการรายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส. อย่างไม่เป็นทางการในการเลือกตั้งครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายสื่อมวลชน 30 สำนัก ประกอบด้วย สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอล จำนวน 23 สถานี และ 7 พันธมิตร สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และเคเบิ้ลทีวี ประกอบด้วย ททบ.5, สทท.11, ไทยพีบีเอส, ช่อง 3 แฟมิลี่, ทีเอ็นเอ็น 24, นิวทีวี, สปริงนิวส์, ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, เนชั่นทีวี, เวิร์คพอยท์, จีเอ็มเอ็ม 25, สปริง 26, ช่อง 8, ช่อง 3 เอสดี, โมโน,  อสมท,        ช่องวัน, ไทยรัฐทีวี, ช่อง 3 เอชดี, อมรินทร์ทีวี, ช่อง 7 เอชดี, พีพีทีวีเอชดี 36, นสพ.บางกอกโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ, เมเนเจอร์ออนไลน์, กระปุกดอทคอม, สนุกดอทคอม, เดอะสแตนดาร์ด, 77 ข่าวเด็ด และเคเบิ้ลทีวี Five Channel

ที่มา : สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save