เมื่อก่อนเมื่อมีเวลาคนก็มักจะเดินดูหนังสือใหม่ๆ แต่เวลาผ่านไปสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เลยทำให้เกิดคำถามว่าการทำหนังสือและนิตยสารยังจำเป็นอยู่มั้ย เพราะหลายคนเองก็ยังมีความฝันอยากที่อยากทำหนังสือหรือมีคอลัมน์เป็นของตัวเอง
วันนี้เราเลยสรุปประเด็นสำคัญจาก iCreator Clubhouse ที่ได้คนในวงการทำหนังสือและนิตยสารมาพูดคุยประเด็น อย่าง คุณเบลล์-จิราเดช โอภาสพันธ์วงศ์ บรรณาธิการนิตยสาร a day, คุณกาย-ปฏิกาล ภาคกาย บรรณาธิการ Salmon Books และคุณเอ๋-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ เจ้าของนามปากกา นิ้วกลม ที่จะบอกแนนวทางพร้อมไกด์การทำหนังสือ ในวันที่แพลตฟอร์มออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
คุณเอ๋ได้พูดถึงภาพรวมของวงการหนังสือไทยไว้ว่า
- ภาพรวมของวงการหนังสือไทยในตอนนี้ตอบยาก เพราะหนังสือมีหลายแบบมองได้หลายมิติ ยิ่งช่วงปีหลังๆ ความหลากหลายของหนังสือไทยมีความน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ หนังสือได้รับความนิยมต่างกัน มีความหลากหลายมีความคึกคัก
- พฤติกรรมคนอ่าน คนซื้อ ยอดขาย เปลี่ยนไป จำนวนยอดลดลงเห็นชัดจากงานหนังสือ ปกติคนจะซื้อประมาณ 5-8 เล่ม แต่ทุกวันนี้ทุกคนมีสติในการซื้อมากขึ้น
- แต่ละแพลตฟอร์มดึงเวลาการอ่านหนังสือไป เช่น E-book หนังสือเสียง และในอนาคตจะมีอย่างอื่นตามมาอีกเยอะพอควร
ในส่วนของคุณกาย Salmon Books มองว่า
- วงการหนังสือยังมีความเคลื่อนไหวอยู่ แต่ลดน้อยลงจากช่วงก่อนโควิดอย่างเห็นได้ชัด
- จำนวนหนังสืออกใหม่มีเรื่อยๆ แต่ปริมาณจะไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน
- เห็นด้วยกับคุณเอ๋ว่าช่วงนี้หนังสือไทยค่อนข้างหลากหลาย ประเภทที่เป็นที่นิยมใน Salmon Books คือ หนังสือแปล และวรรณกรรมต่างๆ
- การจะออกหนังสือเล่มนึงในปัจจุบันต้องมีการระวังในระดับนึง ที่สำคัญคือนอกจากจะดูเรื่องเนื้อหา ต้องดูสภาพบรรยากาศรอบตัวก่อนออกหนังสือแต่ละเล่มด้วย อย่าง Salmon Books เป็นที่รู้จักในเรื่องบันทึกการเดินทางซะส่วนมาก เพราะโควิดเลยต้องชะลอไป ไม่สามารถออกได้ และมีเรื่องการเมืองด้วย เลยคิดว่าหนังสือบางประเภทยังไม่เหมาะสมที่จะปล่อย
คุณเบลล์ a day พูดถึงจุดอิ่มตัวของวงการนิตยสารว่า
- ถ้าพูดถึงคำว่า “วงการสิ่งพิมพ์ตายแล้ว” มองในแง่วงการหนังสือ ผมมองว่าตัวทีได้รับผลที่สุดคือหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เพราะ Pocket Book ไม่ได้เปลี่ยนฟังก์ชันไปจากยุคก่อนที่เทคโนโลยีจะเข้ามา แต่นิตยสารหยุดชะงัก เพราะสื่อออนไลน์เข้ามา เมื่อก่อนมีนิตยสารไว้ใช้อัปเดตข่าวสาร พอมีแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้มาแทนนิตยสารแทบจะ 100% เลย ทำให้นิตยสารแบบเดิมตายไปแล้วจริงๆ ไม่ได้รับใช้ผู้อ่านในสถานะเดิม ไม่ได้อยู่เพื่ออัปเดตข้อมูลข่าวสารเหมือนเดิมแล้ว ซึ่งตอนนี้คนในวงการก็หาคุณค่าใหม่กันอยู่ว่านิตยสารมีอะไรที่สื่ออื่นไม่มีหรือทำไม่ได้
- ธุรกิจบีบเราให้แคบมาก ผมจะไม่ตั้งโจทย์จาก “นิตยสารจะอยู่ต่อไปยังไง” แต่จะตั้งโจทย์ว่า “a day จะอยู่ต่อไปยังไง” เช่น การเอาตัวเองเข้าไปเล่นในแพลตฟอร์มอื่น เช่น พอดแคสต์ คลับเฮาส์ หรือ TikTok
คุณเอ๋เสริมเรื่องพฤติกรรมการอ่านของผู้อ่าน และแนวทางการเขียนหนังสือที่เปลี่ยนไปจากเดิมว่า
- ตัวเองไม่ได้คิดด้านการตลาดขนาดนั้น เพราะคิดว่าสภาพสังคม การเมือง และเศรษฐกิจมีผลต่อการออกหนังสือมากกว่าการเขียนหนังสือ
- ตัวคนอ่านเปลี่ยนไปหลายมิติมาก คนที่เคยอ่านหนังสือโตขึ้น ปกติคนที่เริ่มมีอายุมากขึ้นจะมีเวลาให้หนังสือน้อยลงเพราะภาระงานที่มากขึ้น ทำให้จำนวนการอ่านหนังสือต่อปีลดลง และยิ่งลดลงเมื่อเทียบกับสื่อใหม่
- เริ่มมีวัฒนธรรมสรุปหนังสือผ่านพอดแคสต์ ยูทูบ และบทความต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างนิสัยการอ่านการฟังใหม่
- ความสนใจที่ต่างไปจากเมื่อก่อน ปัจจุบันหนังสือการเมือง และประวัติศาสตร์ ได้รับความนิยมมากขึ้น
- ถ้านักเขียนรวมตัวกันทำเว็บไซต์ หรือคอมมูนิตี้เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงาน อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ถ้ามองในมุมสำนักพิมพ์ต้องมีความแม่นยำมากขึ้น ต้องคาดการณ์ทิศทางผู้อ่านให้ได้ เช่น เมื่อก่อนวางขาย 100 เล่ม คนอาจจะหยิบ 50 เล่ม แต่ตอนนี้วาง 100 คนอาจจะหยิบแค่ 10 เล่ม
คุณกายและคุณเอ๋ได้พูดถึงประเด็นงานสัปดาห์หนังสือว่ายังคงตอบโจทย์ในปัจจุบันอยู่หรือไม่
- คุณกายได้บอกว่ามีหลายปัจจัย ย้อนไปเมื่อปีที่แล้วมีสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น สำนักพิมพ์ก็ได้รับผลกระทบประมาณนึง จากเดิมที่การออกบูธเป็นช่องทางการทำรายได้ ตอนนั้น Salmon Books ก็ต้องหาทางรับมือ หรือเอาสิ่งที่เราผลิตออกมาแล้วไปให้ถึงคนอ่าน เลยต้องเปลี่ยนไปลุยออนไลน์เต็มตัว และต้องทำหลายอย่างที่สำนักพิมพ์ไม่เคยทำ
- โควิดผลักให้สำนักพิมพ์ต้องผลักดันพาตัวเองไปสู่แนวทางใหม่ๆ ทำให้ต้องทำออนไลน์เพื่อเดินเข้าหาผู้อ่านเอง
- ไม่สามารถเอาสิ่งที่เคยทำงานเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วมาใช้ได้เลย เพราะเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น ต้องเรียนรู้ใหม่หมดเลย
- หลายสำนักพิมพ์เริ่มคิดว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องรอไปปล่อยของที่งานหนังสือที่เดียวก็ได้ เลยคิดว่าหลังจากนี้จะทยอยออกหนังสือและหาช่องทางการขายเรื่อยๆ ไม่ยึดติดว่าต้องเปิดตัวที่งานหนังสือเหมือนเมื่อก่อน
- สำนักพิมพ์ต้องคิดว่าทำยังไงให้เอาหนังสือไปอยู่ในสายตาผู้อ่านให้ได้ อาจแบ่งเงินที่ลงทุนหน้าร้านมาใช้ลงทุนผ่านทางออนไลน์ด้วย
- เสน่ห์ของงานหนังสือคือการได้เจอนักเขียนที่ชอบ ถือเป็นการสร้างคอมมูนิตี้อีกทางนึง
คุณเบลล์และคุณเอ๋บอกว่าวิธีคิดจากการที่เปลี่ยนช่องทางการทำหนังสือจากออฟไลน์มาออนไลน์ว่า
- ไม่ได้ตั้งต้นจากทำไงให้นิตยสารอยู่รอด แต่คิดว่าทำไงให้ a day อยู่รอด แล้วมีประโยชน์ต่อสังคม
- นิตยสารมีคน 2 กลุ่มที่ต้องคำนึง คือ 1. กลุ่มผู้อ่าน 2. กลุ่มสปอนเซอร์ ด้วยความที่มีลูกค้า 2 กลุ่ม เลยมีความยากในการคิดมากไปอีก ต้องคิดถึงผู้อ่านและให้ธุรกิจอยู่รอดด้วยในเวลาเดียวกัน ที่ย้ายมาทำออนไลน์ก็เพื่อตอบโจทย์ผู้อ่านและสปอนเซอร์ที่ย้ายมาออนไลน์
- ต้องทำตัวเองให้ชัดเจนว่าสื่อเราให้ความสำคัญกับอะไร มีแท็กไลน์ชัดเจน
- ไม่จำกัดตัวเองอยุ่กับอะไรเดิมๆ
- ออนไลน์เป็นทีส่วนที่เป็นช่องทางซัพพอร์ต เช่น การพรีออเดอร์ ที่ช่วยยอดขายสูงขึ้นก่อนวางแผงจริง ทำให้เห็นว่าออนไลน์ไม่ได้มาฆ่านิตยสารอย่างเดียว
- ทุกวันนี้นิตยสารไม่ได้เป็นช่องทางหลัก แต่แค่ใช้เป็นช่องทางนึง แต่ถ้ามีเรื่องที่เหมาะสมมันก็จะเป็นอาวุธของเราได้อยู่
- เส้นนี้มันจางลงมาก วงการหนังสือจาง นักเขียนไปต่อยอดทำอย่างอื่นมากขึ้น ออนไลน์ก็ซัพพอร์ต ในมุมนักเขียน เราเป็นนักเล่าเรื่อง ทำให้ดัดแปลงตัวเองและไปสนุกกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง
คุณกายได้แนะนำให้กับคนที่อยากเริ่มทำหนังสือด้วยตัวเองในปีนี้ว่า
- การทำหนังสือด้วยตัวเองยังเป็นที่นิยมสำหรับนักเล่าเรื่องอยู่ อย่างแรกหากลุ่มคนอ่านให้เจอก่อน
คุณเอ๋และคุณตุ้มยังเสริมถึงพฤติกรรมการอ่านหนังสือที่ใช้เวลาน้อยลงของผู้อ่านไว้ว่า
- พฤติกรรมของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป คนใช้เวลาอ่านหนังสือสั้นลง หนังสือบางเล่มใช้การร้อยเรียงเรื่องราวเพื่อต้องการจะเล่าแค่ไม่กี่ประโยคเท่านั้น ทำให้คนรู้สึกเหมือนเหมือนยืนอยู่ในทุ่งข้อมูล เลยคิดว่าเก็บเท่าที่อย่างรู้พอ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่น เลยเกิดพฤติกรรมอย่างนั้นขึ้น
- นักเขียนเองก็มีช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางของตัวเอง ที่ทำให้เพื่อให้อยู่รอด คือ ตัวนักเขียนเองก็มีผลที่จะช่วยขายหนังสือตัวเองให้ได้เหมือนกัน ด้านสำนักพิมพ์และบรรณาธิการเองก็เช่นกัน ไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องทำแต่เป็นเหมือนตัวเลือก
- ถ้ามีคอมมูนิตี้ของคนที่มีความสนใจในเรื่องที่เราเขียนอยู่แล้ว ก็จะทำให้งานเขียนไปถึงผู้อ่านได้ง่ายกว่า
หากอยากจะเริ่มทำหนังสือสักเล่มในปีนี้คุณเบลล์ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า
- ตั้งแต่ออนไลน์เริ่มเป็นทีนิยมมีพื้นที่ในการเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น หนังสืออาจเป็นแค่ช่องทางนึง ถ้าอยากเขียนงานทุกวันนี้เริ่มง่ายมาก โดยใช้เฟซบุ๊ก พอดแคสต์ หรือคลับเฮาส์เป็นช่องทางในการเผยแพร่ก็ได้
- แต่ถ้าอยากผลิตรูปเล่มจริงๆ การทำหนังสือด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องลำบาก ลองทำหนังสือทำมือหรือซีนก่อนก็ได้
- อย่างแรกต้องเริ่มจากการเขียน ส่วนขั้นตอนและรูปแบบในการททำฟรีสไตล์มาก
- ถ้าอยากทำกับสำนักพิมพ์ การเริ่มต้นเขียนก่อนแล้วส่งให้ทีมงานพิจารณาก็เป็นวิธีที่เบสิกที่สุด ทำให้ทีมรู้ด้วยว่ายังมีคนอยากเขียนหนังสืออยู่ เพราะปัจจุบันก็หาได้ง่ายและยากในเวลาเดียวกัน
- สื่อก็ยังตามหานักเขียนอยู่ มีพื้นที่ในการให้ทำสิ่งต่างๆ มากกว่ายุคก่อน เช่น มีเทศกาลหนังสือทำมือ ช่องทางออนไลน์ ร้านฝากขาย
- ต้องลงลึกว่าเราจะเขียนเรื่องอะไร ก่อนจะเขียนต้องมีเรื่องเล่าก่อน เพราะการเขียนเป็นเครื่องมือนึงที่รับใช้การเล่าเรื่อง
คุณเอ๋เสริมว่า
- การเขียนต้องใช้ความรอบคอบ ความไตร่ตรอง และมีการเก็บข้อมูลมากกว่า ถ้าอยากเล่ามีช่องทางเยอะจริง แต่ธรรมชาติของสื่อรองรับต่างกัน ต้องถามว่าตัวเองอยากเล่าเรื่องยังไง
- ไม่อยากให้คิดว่าการเขียนหนังสือเป็นแค่ความโดดเดี่ยว ถ้าเราไม่มีสำนักพิมพ์ อาจมองเพื่อนรอบตัวที่สามารถช่วยกันทำหนังสือได้ รวมถึงการสร้างเครือข่าย สร้างคอมมูนิตี้ที่รวมคนที่สนใจแบบเดียวกันเพื่อจัดออนไลน์ที่นำหนังสือมาขายออนไลน์ อาจต้องทำการบ้านมากขึ้น แต่เทคโนโลยีใหม่เปิดมากขึ้นจะทำให้หาทางนำเสนอผลงานได้อย่างไม่โดดเดี่ยว ซึ่งถือเป็นการใช้คอนเนคชันจากเทคโนโลยี ทำให้จัดการเผยแพร่งานเขียนสู่สาธารณชนจากการจับมือเป็นคอมมูนิตี้