เดินทางมาถึง Session ที่ 3 ที่เรียกได้ว่าเป็นการหวนกลับมาเจอกันของระดับตำนานแห่งวงการสื่ออย่างคุณสุทธิชัย หยุ่น และคุณจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ มาพูดถึงทิศทางในวงการสื่อ และเทคนิคต่างๆ จากการสั่งสมประสบการณ์ในวงการสื่อมาอย่างยาวนาน
วันนี้ RAiNMaker ได้ทำการสรุปประเด็นสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งคนในวงการสื่อ ประชาชนที่เสพสื่อ และสังคมแน่นอนค่ะ
ขั้นตอนหรือเทคนิคการทำรายการประเภทสัมภาษณ์?
คุณสุทธิชัย
- ขึ้นกับคนที่สัมภาษณ์ และบรรยากาศถาม ต้องคอยตั้งคำถามแทนคนดู ถามยังไงให้สนุก และต้องทำการบ้าน หาข้อมูลเกี่ยวกับตัวคนที่จะสัมภาษณ์ก่อน ที่เหลือก็เป็นเรื่องการจัดการหน้างาน
- หัวใจสำคัญของการสัมภาษณ์ที่ดี คือ ความอยากรู้อยากเห็น และความสามารถจับประเด็นระหว่างสนทนา
- อย่าสัมภาษณ์แค่ถาม-ตอบ ไม่งั้นเราจะมีหน้าที่เป็นแค่พิธีกร
- แทนที่จะเชิญแต่คนดังที่ทุกคนรู้จักมาสัมภาษณ์ การเชิญคนที่ไม่มีใครรู้จักเลย แล้วมาสัมภาษณ์ยังไงให้คนสนใจ ตรงนั้นคือความท้าทายมากกว่า
- จริงๆ ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นกับคนที่เราสัมภาษณ์ว่าเขามีอะไรน่าสนใจ บางทีแค่โยนคำถามไป 2-3 คำถามก็อาจรู้แนวทางการตอบของเขาแล้ว บางทีคำตอบอาจนอกกรอบไปจากที่เราตั้งไว้ เพราะฉะนั้นต้องดูหน้างาน
- ควรมีความรู้รอบตัวให้เพียงพอที่จะ ดึงให้เขาพูดไปเรื่อยๆ ให้ได้ พยายามถามให้เขาตอบสิ่งที่น่าสนใจเพื่อให้คนสนใจ ทำยังไงให้ดึงสิ่งที่เขาไม่รู้ตอบได้มั้ย
- บางคนเตรียมมากเกินไป Overprepared ลิสต์คำถามไปเยอะเกิน มัวแต่กังวลกับคำถามจนสมองไม่ได้ฟังคำตอบ ท้ายที่สุดกลายเป็นแค่การถามตอบเฉยๆ ไม่ใช่บทสนทนา ทำให้เป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่สนุกและไม่มีคุณภาพ
- ถามอย่างไร้เดียงสาที่สุด หรือเป็นคำถามที่ทำให้คนตอบตั้งตัวไม่ทัน เพื่อที่จะสามารถเจาะหาความลับที่เราต้องการได้ เช่น คุณทำแบบนั้นจริงหรือไม่? ทำไมคุณถึงทำแบบนั้น?
- ยิ่งเขาตอบกลับมากลางๆ จะยิ่งทำให้นำไปสู่คำถามที่สามารถเจาะลึกขึ้นได้
คุณจอมขวัญ
- เสริมจากคุณสุทธิชัย สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่คำถามแต่คือการฟังอย่างตั้งใจ อาจตั้งคำถามมาก่อนได้บ้าง แต่ต้องฟังหน้างาน เพราะคำถามที่ดีเกิดจากการฟังคำตอบ ไม่ใช่สิ่งที่เตรียมมาจากบ้าน
- การวางตัวเองให้ไร้เดียงสา ไม่ใช่ไม่รู้หรือไม่ทำการบ้านมาจริงๆ แต่คือการศึกษามาแล้วทำตัวเหมือนไม่รู้มากกว่า เพราะถ้าเราคิดว่าเรารู้หมดแล้ว เราก็จะไม่อินกับการสัมภาษณ์
- ต้องทำการบ้าน เพราะแต่ละการสัมภาษณ์ไม่เหมือนกัน เช่น สัมภาษณ์คนเกี่ยวกับชีวิต เกี่ยวกับงานที่เขาทำ หรือประเด็นต่างๆ ก็จะมีวิธีการทำการบ้านต่างกัน อาจไม่ม่ีคำว่ามากเกินไป มีแต่เตรียมมาแต่ใช้มันมากเกินไป
ความยากในการทำรายการสัมภาษณ์?
คุณจอมขวัญ
- การให้เกียรติความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะสัมภาษณ์คนสถานะทางสังคมไหน ประเด็นอะไร หรือสภาพแวดล้อมยังไง เพราะความเป็รมนุษย์จะทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างให้เกียรติกัน แม้จะสัมภาษณ์ประเด็นที่ร้อนแรงก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความการสัมภาษณ์จะต้องออกมาละมุน อ่อนโยนขนาดนั้น
- เนื่องจากนักข่าวต้องถามเพื่อตรวจสอบ และมักจะเป็นบริบททางการเมืองซะเยอะ แขกก็จะเข้าใจในท่วงทำนองและคำถามเหล่านี้ ว่าเราต้องถามเพื่อตรวจสอบในฐานะสื่อ ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความรู้สึกส่วนตัว
คุณสุทธิชัย
- ขึ้นอยู่กับอาชีพของคนที่เราสัมภาษณ์ ถ้าเป็นนักการเมืองต้องถามตรงๆ นักธุรกิจก็อีกอารมณ์นึง เพราะเราต้องการรู้ที่มาที่ไป วิธีคิด หลักปฏิบัติ ไปจนถึงความล้มเหลว ส่วนสตาร์ตอัป เราจะต้องถามเขาเกี่ยวกับความท้าทาย เพื่อให้เขาตอบในสิ่งที่ดิ้นรนต่อสู้อยู่ เช่น คำถามว่าถ้าความฝันไม่สำเร็จจะเป็นยังไงต่อ
- กับนักการเมืองจะไม่มีสิทธิ์ถามในสิ่งที่เราอวย หรือถามในสิ่งที่เขาอยากจะตอบ
- เราต้องงัดตัวเองไม่ให้ถามคำถามที่เขาสามารถตอบสั้นๆ ว่าใช่ไม่ใช่แล้วจบ แต่ต้องถามให้คนตอบยาวๆ ให้เขากระตือรือร้นและดีใจที่จะตอบ
- คำถามต้องไม่ยาวมามกเกินไป และต้องไม่ใช้คำถามที่อวดภูมิ ในขณะเดียวกันต้องทำให้เขาอยากตอบ แม้ในใจเขาอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
- หลักๆ อยู่ที่บรรยากาศ ถ้าไม่ได้อยู่ในบรรยากาศที่เขามีเรื่องอื้อฉาวกับไม่มีเรื่องอื้อฉาวก็จะคนละแบบ
- การถามขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการคำตอบอะไร
- การเรียงลำดับคำถามเป็นสิ่งสำคัญ อาจต้องตัดคำถามที่เตรียมไว้ครึ่งนึงไปเลย เพราะคำตอบของเขาจะนำไปสู่คำถามใหม่ๆ ได้เสมอ ซึ่งตรงนี้จะยากสำหรับคนที่เพิ่งทำงานตรงนี้ใหม่ เพราะฉะนั้นต้องเรียนรู้ ฝึกฝน และผิดพลาดบ้าง แต่เมื่อพลาดก็ต้องทบทวนตัวเองทันทีหลังสัมภาษณ์เสร็จว่าพลาดอะไรไป
คนที่ทำรายการสัมภาษณ์ควรมีสกิลอะไรบ้าง?
คุณจอมขวัญ
- อาจไม่ได้มีสูตรสำเร็จ แต่สิ่งที่พอแนะนำได้ คือ ทักษะการฟัง ฟังจริงๆ ไม่ใช่ฟังแบบไม่พยายามเข้าใจหรือปิดใจ มันเป็นสิ่งที่ฝึกได้ ไม่ใช่ทำแค่เพื่อทำอาชีพเท่านั้น แต่ดีกับชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
- ทักษะอื่นๆ อาจต้องแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม ถ้าเป็นสายข่าว ข่าวหนัก พวกสังคมการเมือง ต้องมีวุทิภาวะทางอารมณ์ที่หนักแน่น ฝึกตามประสบการณ์ในชีวิต
- ถ้าเราทำความเข้าใจในงาน เราจะละทิ้งตัวตนได้ จากนั้นไม่ว่าใครจะมาวิจารณ์ เราจะสามารถเลือกรับฟังคำติชมได้อย่างสมเหตุสมผล
- ทักษะอีกอย่าง คือ การศึกษาหาข้อมูลเยอะๆ เพราะเราไม่มีทางรู้ดีไปกว่าคนที่เราสัมภาษณ์แน่นอน เราต้องศึกษาเพื่อตามให้ทันว่าเขาออกทะเลหรือเปล่า
- อีกอย่างฝึกความไม่กลัว ในการเจอแขกที่สถานะทางสังคมสูงกว่า อาวุโสกว่า
- รวมถึงเรื่องท่วงทำนองท่าที สำหรับคนที่ออกสื่อตลอดเวลามันไม่ง่ายเลย ต้องฝึกฝนและเตรียมตัว
คุณสุทธิชัย
- ใช้ความเป็นนักข่าวเข้ามาช่วย ตั้งคำถามเพื่อไปหาคำตอบ มีความอยากรู้อยากเห็น นอกจากนี้ต้องมีความสนใจในเรื่องรอบด้าน ไม่ต้องเชี่ยวชาญด้านใดด้านนึงก็ได้ แต่ต้องรู้พอที่จะมีบทสนทนาได้
- บางคนเป็นพีธีกรพูดเยอะ เพราะกลัวคนดูจะคิดว่าโง่ แต่ถ้าพูดเยอะเกินไปคนดูจะเบื่อ ควรตั้งคำถามให้สั้น กระชับ และตรงประเด็น ที่สำคัญคือเรียงลำดับ ทำให้เป็นบทสนทนามากกว่าการสัมภาษณ์ พยายามตั้งคำถามที่อยู่ในใจคนดู ทำบทสนทนาให้เป็นกันเองมากที่สุด เพื่ือที่จะได้เปิดอกคุยกันได้
- พิธีกรสัมภาษณ์ที่ดีต้องคอยถามตลอดเวลา แล้วฟังคำตอบ
- ต้องกำกับเส้นให้ได้ เพราะจะมีคนสองประเภท คือ คนพูดยาวออกนอกเรื่อง กับคนที่ไม่พูดเลย ผมเลือกคนพูดเยอะเพราะอย่างน้อยผมก็มีเชือกคอยดึงเขากลับมาได้ แต่คนไม่พูดเลย ถามคำตอบคำ จะทำให้การสัมภาษณ์เหนื่อยกว่า
- ต้องใจเย็น มีภาษากายที่สุภาพ เคารพในสิ่งที่เขาพูด มันมีศาสตร์หลายอย่างที่ต้องใช้พร้อมกัน สมองก็ต้องทำงาน สายตาต้องแสดงความเป็นมิตร และท่าทางมือไม้ต้องเป็นธรรมชาติ
บทบาทการนำเสนอข่าวของสื่อดั้งเดิมในปัจจุบัน?
คุณสุทธิชัย
- สื่อดั้งเดิมอยู่ในภาวะที่กำลังจะเปลี่ยนไปแบบไม่หวนกลับ จริงๆ ก็เปลี่ยนมาประมาณ 15-20 ปีก่อนแล้ว เพราะมีสื่อออนไลน์เข้ามา แน่นอนว่าทำให้การทำงาน วิธีคิด วิธีการปฏิบัติก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนวันนี้สื่อหลักกลายเป็นสื่อรอง โดยวัดจากผู้บรีิโภควิ่งไปหาข่าวจากแหล่งใหม่มากกว่า
- เมื่อก่อนทีวีถือว่าเป็น First Screen คอมพิวเตอร์เป็น Second Screen และสมาร์ทโฟนคือ Third Screen แต่ปัจจุบัน First Screen คือ สมาร์ทโฟนและทีวีตามหลังไปแล้ว
- วิธีการนำเสนอของทีวีที่ครั้งนึงเคยเป็นสื่อหลักก็ต้องเปลี่ยนไป เพราะเศรษฐกิจ และรายได้ที่เปลี่ยนไป รวมถึงแรงกดดันตั้งแต่ระดับผู้บริหารลงมาจนถึงคนทำข่าว
- ต้องดูว่าผู้บริโภคแสวงหาข่าวสารจากที่ไหน ซึ่งตอนนี้ First Screen คือสมาร์ทโฟน แต่มันก็แยกประเภทย่อยไปอีก เหมือนกับคลับเฮาส์ตอนนี้ก็เป็นส่วนย่อยจากตรงนั้น
- เพราะฉะนั้นปัจจุบันสื่อหลักจะเป็นแหล่งข่าวน้อยลงเรื่อยๆ และภายในห้าปี อาจกลายเป็นแค่วัตถุโบราณที่เข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์
คุณจอมขวัญ
- ปกติก็เรียกตัวเองว่าสื่อเดิมไม่ใช่สื่อหลัก เพราะมันไม่ใช่สื่อหลักมานานแล้ว
- คนมักจะเกิดคำถามในการทำงานของสื่อ เช่น การเสนอข่าวชมพู่ลุงพล กับข่าวม็อบ ที่เราจะเห็นการตั้งคำถามที่ต่างกันค่อนข้างมาก เป็นเพราะการทำงานของสื่อบนทีวีมันมีกฎมากมายที่ถ่ายลงมาทีละขั้น มันก็ถือเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง ที่มีนโยบายเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่ได้
- ปีที่ผ่านมาค่อนข้างชัดเจนว่าสื่อเดิมมีความกลัวที่จะพูดถึงรายละเอียดของม็อบ สิ่งที่สำคัญคือนิยามของความเป็นสื่อมวลชน แต่ขณะนี้สังคมไทยไม่ได้อยู่ในภาวะที่จะเข้าใจตรงกันในการทำงานของสื่อ ทำให้งานสื่อถูกตีกรอบ และสื่อมวลขชนก็เปลี่ยนไป
- ถ้าให้พยากรณ์ในปี 2021 คิดว่าสื่อเดิมอาจจะอยู่รอดต่อไปได้อีกประมาณ 3-5 ปี
ช่วง Q&A
คุณเทพกิจ ผู้ประกาศข่าว แชร์ประสบการณ์เพิ่มเติม
- ทุกวันนี้สื่อหลักกลายเป็นสื่อรอง แต่ทุกคนยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่กันต่อไปเลยต้องปรับตัว แต่สื่อหลักหลายอย่างอยู่นอกเหนือความควบคุม โดยเฉพาะเรื่องเรตติง ตอนนี้ผมอยู่ช่อง 8 ทางบริษัทก็พยายามควบคุมเรตติงเพื่อหาเนื้อหาข่าวไปนำเสนอให้เหมาะสม
คุณสุทธิชัย
- แทนที่จะคุยเรื่องเนื้อหา แต่ไปคิดเรื่องเรตติ้งมากกว่า ทำให้สิ่งนี้คือยาพิษ กลายเป็นมองข้ามคุณภาพ คิดแต่ว่าจะทำยังไงก็ได้ให้เรตติงดีที่สุด เพราะมันเป็นสิ่งที่กระทบหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการเงิน และความมั่นคง
คุณจอมขวัญ
- เรตติงมีผลมาก ยิ่งถ้าสังกัดอยู่ในระบบทุนก็ยิ่งฝืนยาก จริงๆ ทุกคนที่เป็นนักข่าวมีพื้นฐานรู้ว่าอะไรควรไม่ควร แต่ไม่มีอำนาจการตัดสินใจในตรงนั้นเลยต้องฝืน ด้วยความที่เป็นโครงสร้างการกดทับ และทุกคนเองก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการตัดสินใจโดยใช้เรตติง
อิทธิพลของสื่อสามารถสร้างรูปแบบของสังคมได้ ในอนาคตพอจะฝากความหวังกับสื่อได้มั้ย?
คุณสุทธิชัย
- ต้องเรียกร้องสังคมให้อุ้มชูสื่อที่มีคุณภาพ เพราะสังคมไม่ได้ต้องการสื่อเรตติงสูง แต่ต้องการสื่อคุณภาพที่กล้าที่จะพูดความจริง อย่างแรกสังคมต้องยอมจ่ายสำหรับข่าวหรือเนื้อหาที่ดี
- Social Enterprise Journalism เจ้าของสื่อควรเป็นประชาชน แต่ทุกวันนี้สื่อดีๆ ไม่สามารถทำตามตัวเองที่อยากทำได้ เพราะอยู่ใต้โครงสร้างของทุน
- สื่อเป็นยังไง สังคมก็เป็นแบบนั้น เพราะสื่อมันสะท้อนสังคม สังคมต้องมองว่าเราจะมีส่วนช่วยสื่อยังไงให้ยั่งยืน
จะมีโอกาสเห็นการดีเบตของคุณจอมขวัญอีกมั้ย?
- หลังจากที่ออกจากตำแหน่งผู้ประกาศข่าว มีความคิดอยากจัดเวทีที่จัดประเด็นหนักๆ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นในสื่อที่อยู่ในธุรกิจที่ต้องระวัง อาจไม่ต้องทำหน้าที่อยู่เบื้องหน้าก็ได้แต่เป็นเบื้องหลังคอยสนับสนุน ให้พื้นที่ๆ ทำให้คนมาคุยกันได้ และทำให้สังคมคุ้นชินกับการถกประเด็นกันแบบนี้ มาคุยกันตัวต่อตัวแบบที่มันต่างจากการอ่านผ่านตัวหนังสือหรือคีย์บอร์ด เมื่อคนขัดแย้งกันแล้วเจอกันจะทำยังไง อันนี้คือไอเดียที่อยากจะทำในอนาคต
คุณสุทธิชัย
- จริงๆ คลับเฮาส์ในตอนนี้ก็เหมือนสภากาแฟที่เปิดให้คนเข้ามาถกประเด็นต่างๆ กัน
คุณจอมขวัญ
- คุณสุทธิชัยอยู่มาตั้งแต่สื่อดั้งเดิมยังเป็นสื่อหลัก แต่คุณสุทธิชัยเป็นคนที่ผลักดันให้ทุกคนไปออนไลน์เสมอตั้งแต่สมัยก่อน จุดนี้ทำให้เห็นว่าอายุไม่ได้เป็นอุปสรรคและเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อ ไม่สนใจเมื่อก่อนต้องเป็นสื่อหลักตลอด แต่พอมีอะไรมาใหม่แล้วมันดีก็ให้ไปเรียนรู้ คุณสุทธิชัยถือว่าเป็นคนที่เปิดทางใหม่ และทำให้คนอื่นดู
สรุป
- เริ่มจากการเป็นนักฟังที่ดี อยากรู้อยากเห็น และจับประเด็นให้ได้
- ต้องทำการบ้าน เตรียมตัวให้ดี แต่ตอนสัมภาษณ์ถามคำถามให้เหมือนคนที่ไม่รู้มากที่สุด
- ควรมีความรู้รอบด้าน เพื่อชวนสนทนาได้
- ใช้การสนทนามากกว่าการสัมภาษณ์
- ให้เกียรติแขกรับเชิญที่สัมภาษณ์เสมอ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
- สื่อดั้งเดิมกำลังจะตายในเวลาไม่เกิน 5 ปี
- เพราะข้อจำกัดของสื่อภายใต้ระบบทุน ทำให้สื่อไม่สามารถนำเสนอข่าวสารได้อย่างอิสระ เพราะฉะนั้นสังคมควรสนับสนุนสื่อน้ำดี
- ควรมองข้ามเรตติง เพื่อผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพมากขึ้น