วงการที่เริ่มมาแรง และมีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ อีกวงการนึงก็คือ การทำ “Stand-up Comedy” หรือการทำ “ยืนเดี่ยว” ที่หลายคนอาจคิดว่าการจับไมค์ขึ้นไปเล่าเรื่องตลกบทเวที ใครๆ ก็ทำได้ แต่จริงๆ แล้ววงการนี้มีอะไรที่มากกว่านั้น มาร่วมเจาะลึกกับการทำยืนเดี่ยวไปกับ ยู-กตัญญู สว่างศรี ผู้ก่อตั้ง Stand Up Comedy, แซม-พลสัน นกน่วม ผู้ก่อตั้ง Gettalks และ Stand-up Comedian พร้อมกับ ปิปโป้ จาก Storylog และ แฟกซ์ จากทีมยืนเดี่ยว
สรุปภาพรวมวงการ Stand-up Comedy ในไทย
- แวดวง Stand-up Comedy คึกคักมากตั้งแต่ปี 2020 มีคนเข้ามาร่วมแสดงกับยืนเดี่ยวไม่ต่ำกว่า 100 คน ทุกๆ เดือน มีทั้งคอมเมเดียนหน้าใหม่และหน้าเก่า รวมถึงเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ แต่ในแง่ของอาชีพและรายได้ยังไม่เติบโตเยอะขนาดนั้น
- ในมุมมองของคุณยูมองว่าตั้งแต่ทำ Stand-up Comedy มา 5-6 ปี คิดว่าตอนนี้ยังไม่มีคำว่าวงการ มีแต่คนที่ดังเป็นซุปตาร์ของวงการไปเลย เช่น น้าเน็ก เหมือนวงการเทนนิสที่ยังไม่มีภราดร เลยต้องการคนนึงที่จะเป็นตัวพีคในยุคใหม่ให้คนฮือฮาและฉุดวงการให้ไปต่อ เลยคิดว่าควรจัดงานเริ่มจากเล็กๆ ให้คนคิดว่ามันสามารถเข้ามาลองเล่นได้ วงการเลยคึกคักมากขึ้น
- วงการนี้ยังต้องการคนอีกมาก เพื่อหาคอมเมเดียนและโชว์ที่มีคุณภาพ ถ้าจะให้วงการนี้อยู่ได้ต้องมีคลับที่เป็นพื้นที่ให้แสดงประจำ ตอนนี้เหมือนเพิ่งเริ่มตั้งไข่เลยพยายามทำยืนเดี่ยว Underground เพื่อเป็นที่ให้คนเข้ามาเล่น และตอนนี้เริ่มเห็นความหวังมากขึ้น แต่ยังต้องใช้เวลาและการลงทุนเพื่อให้วงการเติบโต
- เนื่องจากการเล่นมุกตลกมีหลายแนวเลยพยายามสร้างช่องทางให้ผู้คนมีทางเลือกมากขึ้นในการเล่นมุกตลก เปิดกว้างในเรื่องตลกและทำให้มันเป็นเรื่องธรรมชาติในชีวิตประจำวันมากขึ้น เพื่อคนจะได้เข้าถึง
- การทำ Stand-up Comedy ก็ต้องมีการศึกษาจากฝั่งต่างประเทศเพื่อนำเทคนิคมาใช้บ้าง
- ในส่วนของสปอนเซอร์ก็มีบ้าง ขึ้นอยู่กับแต่โปรเจ็กต์ แต่ในแง่ของสปอนเซอร์ที่พอจะทำให้วงการเติบโตอย่างต่อเนื่องยังไม่มี เพราะตอนนี้ก็ถือว่าเป็นวงการที่มีความ Niche ในระดับนึง
ในด้านของหลักการและเทคนิคในการทำ Stand-up Comedy
- การจะเริ่มเล่น Stand-up Comedy ไม่ใช่แค่การพูดเรื่องตลกอย่างเดียว แต่มันคือรูปแบบโชว์ที่อาศัยทั้งบรรยากาศและคนดู 3 สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ
- คนเล่น
- คนดู
- สถานที่ – ต้องมีสถานที่ๆ ถูกจัดวางให้คุณไปแสดงโชว์ได้อย่างเหมาะสมค่อนข้างปิด เพื่อให้คนโฟกัสกับโชว์ได้ดีกว่า ทำให้คนดูรู้สึกบรรยากาศในการฟัง
- แต่ถ้าต้องไปในสถานที่ๆ ไม่ได้จัดมาเพื่อ Stand-up Comedy โดยเฉพาะ ต้องมีการทำการบ้านเยอะในระดับนึง เช่น ไปก่อนเวลางานเพื่อศึกษาพฤติกรรม สภาพแวดล้อม หรือข้อมูลของงานว่ามันเป็นยังไง
- วิธีการในการเล่าเรื่องค่อนข้างมีความอิสระ สามารถเลือกออกแบบวิธีการเล่าเรื่องในแบบของตัวเอง อย่างแต่ละอาชีพก็มีความขบขันที่ต่างกันไป แต่ต้องทำความเข้าใจตัวเองก่อน เริ่มจากหามุกตลกจากสิ่งที่ตัวเองเป็น ผสมกับการใช้ร่างกาย วิธีการพูด ไอเดียของตัวเองได้ทั้งหมด
- เมื่อลองเล่นไปเรื่อยๆ จะรู้แนวการเล่นตลกของตัวเอง เช่น บางคนชอบเล่าจากประสบการณ์ส่วนตัว บางคนชอบเล่าเรื่องตลกแนวน่ารัก
- หาวิธีการเล่าเรื่องที่มันเข้าปากเรา เป็นจริตของเรา เพราะการทำ Stand-up Comedy แล้วเล่าด้วยเรื่องที่เกิดขึ้นจริงมันจะอิมแพ็กและทำให้ลงดีเทลได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งดีเทลก็เป็นหนึ่งองค์ประกอบที่ทำให้คนสนใจฟัง
- การเล่าในเรื่องที่คนอาจไม่รู้อินไซต์ ก็เป็นเรื่องที่ทำให้คนสนใจมากขึ้นได้
- การเตรียมตัวก่อนขึ้นเวทีขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางคนมีประสบการณ์ แต่บางคนก็ไม่มี ขั้นตอนแรกที่ต้องทำคือ
- เขียนบท – สำคัญมาก แล้วแต่สไตล์คนว่าจะเขียนละเอียดแค่ไหน แต่แทบทุกโชว์จะมีสคริปต์หลักอยู่แล้ว ค่อยนำไปปรับให้เข้ากับบรรยากาศและสถานที่อีกที
- การแสดง – ต้องทำยังไงก็ได้ให้มุกที่เล่นมันสดเหมือนเล่นครั้งแรกทั้งที่เรารู้อยู่แล้ว
- ในเชิงการเขียนบทเมื่อก่อนคนจะหลงว่าการทำ Stand-up Comedy คือการมาเล่าเรื่อง แต่จริงๆ แล้วจุดประสงค์หลักคือ การทำให้คนหัวเราะ ซึ่งเส้นเรื่องมันอาจจะไม่ได้ไปข้างหน้าตลอดเวลาก็ได้ อาจมีสิ่งที่เกิดสดๆ หน้างาน แล้วสามารถดึงมาเล่นได้ก็ค่อยเพิ่มเข้าไป แต่สุดท้ายเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดคือการขยี้มุกออกมาเป็นเสียงหัวเราะให้ได้มากที่สุด
- มีบางคนที่ไม่ได้เขียนบท แต่อาจใช้วิธีไปหา Source ที่ตรงนั้น หรือมีเรื่องในหัว ผ่านเรื่องราวมาเยอะ มีการจดมุกไว้เยอะก็สามารถนำจากตรงนั้นมาใช้ได้
- ที่สำคัญคือความมั่นใจ ถ้าอย่างให้ทุกอย่างราบรื่นต้องอย่าผูกทุกอย่างแน่น คิดว่าทำให้มันคมแต่หลวม เพราะบางอย่างมันอาจ Out of Control ได้ เลยต้องคอยปรับตามสถานการณ์ให้ทัน
- ส่วนข้อห้ามของการทำ Stand-up Comedy คือ ห้ามบอกว่าเราจะมาเล่าเรื่องตลก เพราะคนฟังจะคาดหวัง แล้วพอมันไม่ตลกจะแป๊ก
- อย่า Eye Contact อยู่ที่จุดเดียว เพราะถ้าอยู่เขาหลุดเราก็อาจสมาธิหลุดด้วย
- เป็นการแสดงที่อาศัยการเตรียมตัว หรือถึงจะไม่เตรียมตัวเยอะยังไงก็ต้องมีไอเดีย ไม่งั้นถ้าเล่นมุกตลกไปแล้วคนเงียบเราก็จะยิ่งเสียความมั่นใจเอง บางคนอิมโพรไวซ์เก่ง แต่เชื่อว่ายังไงก็ต้องผ่านการเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาตลอดทาง แล้วคิดว่าสามารถเอามาปล่อยวันงานได้เขาเลยทำแบบนั้น
- การเล่นมุกตลกคือเราต้องสนุกก่อน แล้วคนดูถึงจะสนุกตาม ถ้าเราเครียดคนดูจะรู้สึกได้ บรรยากาศก็จะตึงไปด้วย
อุปสรรคของการเล่นมุกตลกข้ามภาษา
- ถ้าต้องเล่นมุกเป็นภาษาอื่นจากสคริปต์ที่เราคิด ทำให้เกิดคำถามว่าด้วยความต่างของสังคมและวัฒนธรรมจะทำให้คนเข้าใจมุกมั้ย อย่างต่างประเทศจะไม่มีการเล่นมุกแบบปูชงตบ สิ่งที่ทำได้คือ การทดลอง
- ต้องมั่นใจ – ความมั่นใจจะทำให้กล้าเล่นทุกอย่างได้อย่างราบรื่น
- ทำให้เขาเห็นความพยายาม – แม้มีอุปสรรคทางภาษา ก็แสดงให้คนดูเห็นถึงความพยายาม หรืออาจจะใช้อุปสรรคทางภาษษเปลี่ยนเป็นเรื่องตลกก็ได้
- เอามุกไปถามคนอื่นๆ เพื่อดูฟีดแบ็ก
- แต่การเล่นมุกตลกข้ามภาษาก็มีจุดแข็ง คือ เมื่อเอาการเล่าเรื่องตลกแบบประเทศเราไปเล่าให้คนต่างประเทศฟัง มันก็จะมีสิ่งที่ทำให้เขาเกิดความอยากรู้ในเรื่องที่ไม่รู้ แต่ส่วนใหญ่ถ้าเราจะไปแสดงที่ไหน แน่นอนว่าต้องหาข้อมูลอยู่แล้วว่าสังคมนั้นๆ พอจะเล่นมุกอะไรได้ระดับไหน
- Sense of Community เป็นการเล่าเรื่องที่ให้เชื่อมโยงคนได้มากขึ้น เหมือนกับการใช้แฮชแท็กที่คนเล่นกับสนุกจนเป็นวงกว้าง หรือการใช้ความตลกนำทางมาสู่การให้ประโยชน์อะไรสักอย่างหรืออุทิศตนให้ใครสักคน อาจเป็นการอุทิศให้กับบุคคลผู้ล่วงลับ ให้กำลังใจ แรงบันดาลใจ หรือคำแนะนำ เป็นต้น
- ถ้าอยากลองทำ Stand-up Comedy ให้ลองเริ่มจากเล่าเรื่องลงเฟซบุ๊กก่อนก็ได้ เพราะการเขียนคือการทบทวนสิ่ที่เราเจอทุกวันแล้วค่อยหาทางที่จะถ่ายทอดออกมา
- อย่าดูถูกความคิดโง่ๆ ของตัวเอง ทุกอย่างเป็น Source ได้หมด
- ต้องช่างสังเกตและคิดกับตัวเองเยอะๆ เพื่อจะได้เกิดไอเดีย
- ลองเข้าไปเล่น เข้าไปฟัง Stand-up Comedy เพื่อให้เห็นทั้งภาพตัวเองขณะยืนบนเวที หรือเห็นคนอื่นบนเวที เป็นการเพิ่มความมั่นใจและเปิดประสบการณ์ให้ตัวเอง ขณะนี้ยืนเดี่ยวเองก็เปิดพื้นที่ให้เหล่าคอมเมเดียนหน้าใหม่ได้มาลองเวทีกันอยู่แล้ว