การเลือกทำคอนเทนต์แบบ Rational vs Emotional
Rational – Video Present
: การทำคอนเทนต์โดยใช้เหตุผล หรือข้อเท็จจริง (Fact) ของสินค้า
: เหมาะสำหรับ – แบรนด์ใหม่
โดย Rational Content มีไว้เพื่อขายสินค้าที่มีเอกลักษณ์ (Unique) หรือสินค้าที่ใหม่มาก ๆ เพราะต้องการให้คนรู้ข้อมูล และรายละเอียดสินค้า แนะนำแบรนด์ให้ผู้บริโภครู้จัก
Emotional – Content Video
: การทำคอนเทนต์เพื่อดึงให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกร่วม
: เหมาะสำหรับ – แบรนด์ที่มีฐานผู้บริโภค และต้องการสร้าง Brand Loyalty
โดย Emotional Content จะดึงให้ผู้บริโภคด่ำดิ่งไปกับเนื้อเรื่อง จนส่งผลต่อการกระทำอื่น ๆ ตามมา เช่น มุมมองที่มีต่อแบรนด์ หรือเกิดการซื้อ เป็นต้น
How to Shift the Norm
เปลี่ยนอาวุธก่อนลงสนาม
: ลงแข่งในสนามด้วย Attitude และ Storytelling ของแบรนด์
แทนที่จะสู้ด้วย Fact เพียงอย่างเดียว แต่ให้เปลี่ยนมาแข่งขันด้วย Attitude มากกว่าเน้นขายสินค้า และสร้างภาพจำด้วย Attitude Brand หรือเน้นสร้าง Storytelling เพื่อเล่าเรื่องแบรนด์ให้น่าเชื่อถือ
เปลี่ยนผู้บริโภคให้เป็น Brand Loyalty
: สร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เพื่อนำไปสู่การสร้างความภักดีของผู้บริโภค
จากเดิมที่เน้นขายสินค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเพียงอย่างเดียว แบรนด์ควรสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้บริโภคด้วย เพราะ Brand Loyalty จะกลายเป็น Army ที่เหนียวแน่นกับแบรนด์
เปลี่ยนตลาด Mass สู่ตลาด Niche
: ความสนใจ และพฤติกรรมของผู้บริโภค มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จึงควรแบ่งกลุ่มเป้าหมายให้ Niche ตามไปด้วย
จากเดิมที่แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มที่มีความสนใจกว้าง ๆ ปัจจุบันความสนใจ และพฤติกรรมการบริโภคแบ่งแยกกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และกระจายออกไปมากกว่าเดิม
แบรนด์จึงควรหา Segmentation ที่ใช่ และเจาะจงเฉพาะกลุ่ม เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากยิ่งขึ้น
“Content for One not for All” ไม่จำเป็นต้องทำงานให้ทุกคนเข้าใจ ขอแค่มีคนเฉพาะกลุ่มที่เข้าใจ แล้วจะทำให้เขาเป็น Brand Loyalty
เปลี่ยนแบรนด์สู่ Next Move
: แบรนด์ต้องสร้างความตื่นเต้นให้ผู้บริโภคเสมอ เพื่อนำไปสู่การอยากติดตามในอนาคต
Next Move ที่ดี คือการทำให้คนนึกได้ว่าแบรนด์นั้น ๆ มีแนวโน้มในอนาคตว่าจะมีรูปแบบอะไรออกมาให้ชวนติดตามต่อไปอีก
แต่ Next Move ต้องระวังทุกเทรนด์ที่เข้ามา เพราะทุกคนจะทำไปในแนวเดียวกันทั้งหมด ฉะนั้นแบรนด์ต้องมีการสร้างคาแรกเตอร์ที่น่าสนใจ และแปลกใหม่อยู่เสมอ
ทริกการทำคอนเทนต์สำหรับคนเอเจนซี
: Circle Space คือ วงกลม 3 รูปแบบ ที่สื่อถึงคอนเซปต์การสร้างเรื่องเล่า
1. คอนเซปต์ครึ่งวงกลม : ให้ผู้คนไปคิดคอนเทนต์แบบปลายเปิดต่อเอง ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณ และการคิดวิเคราะห์
2. คอนเซปต์วงกลม : ให้ผู้คนได้เติมเต็มอะไรบางอย่าง เพราะมีคำตอบในเรื่องที่เล่าอยู่แล้ว โดยที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องคิดต่อเอง เลยทำให้รู้สึกเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้ดี
3. คอนเซปต์วงกลมซ้อนกัน : เป็นการสื่อสารสารเดิมแบบซ้ำ ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำได้ เช่น คอนเทนต์แบบ Propaganda
ข้อแนะนำ: การสื่อสารแบบกึ่งกลางระหว่างคอนเซปต์ที่ 1 และคอนเซปต์ที่ 2 เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด รวมถึงนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ มาใช้กับความรู้ในแขนงต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด