Shoppertainment เทรนด์มาแรง จุดโฟกัสใหม่ของแบรนด์และอีคอมเมิร์ซ

Shoppertainment วิถีใหม่บนโลกอีคอมเมิร์ซ

ช่วงหลังมานี้ หลายคนคงได้ยินคำว่า “Shoppertainment” กันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากกระแส Social Commerce มาแรง มีการขายของกันบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ TikTok นั่นเอง

สำหรับคำว่า Shoppertainment มาจากการวมคำระหว่าง Shopping + Entertainment เป็นการผสมผสานการชอปปิงเข้าไปความบันเทิง จึงแปลความหมายออกมาได้ว่า การสร้างความบันเทิงในการชอปปิงนั่นเอง

ถ้าอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ให้ลองนึกถึงการขายของที่เป็นการยิง Ads ขายสินค้าตรง ๆ หรือเป็นคอนเทนต์ที่มีความเป็นแบรนด์สุดโต่งไปเลย แน่นอนว่าวิธีเหล่านั้นใช้ไม่ได้กับปัจจุบันแล้ว จึงมีเทรนด์ของ Shoppertainment เข้ามา เรียกว่าเป็นวิธีตรงข้ามกับวิธีการเดิม ๆ ที่ดึงดูดความสนใจให้คนซื้อสินค้าได้ดีเลยทีเดียว

เพราะฉะนั้น ทั้งแบรนด์ใหญ่แบรนด์เล็กควรจะทำความเข้าใจ และเริ่มใช้กลยุทธ์ Shoppertainment ในการทำการตลาด เพื่อมัดใจลูกค้ามากขึ้น วันนี้ RAiNMaker เลยยกข้อดีของว่าทำไมแบรนด์จึงควรโฟกัส Shoppertainment มาฝากถึง 7 ข้อด้วยกัน!

พบได้มากบน Social Commerce

Shoppertainment สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งบน On-site และ Online แต่ด้วยพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไปทำให้อีคอมเมิร์ซมาแรงมากขึ้น จึงเห็นบนออนไลน์มากกว่า และนอกจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแล้ว ปัจจุบัน Social Commerce หรือการชอปปิงบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียก็มาแรงไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นบน TikTok, YouTube, Facebook หรือ Instagram

แถมโซเชียลมีเดียก็ถือเป็นพื้นที่ในการสร้างคอนเทนต์ โดยเฉพาะคอนเทนต์แนวใส่ความคิดสร้าางสรรค์ และความบันเทิง จึงทำให้แบรนด์สามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อขายของให้ดูสนุก และเข้าถึงผู้คนง่ายขึ้นด้วย

รูปแบบ Short Video และ Live Commerce 

อย่างที่บอกว่า Social Commerce มาแรง และตอบโจทย์สำหรับการทำ Shoppertainment มาก ซึ่งรูปแบบคอนเทนต์ที่เราเห็นส่วนใหญ่ก็คือ Short Video และ Live Commerce เชื่อว่าหลายคนก็คงเคยไถหน้าฟีดเล่น TikTok อยู่ดี ๆ เจอคลิปคนป้ายยา พร้อมแปะตะกร้าให้กดซื้อเสร็จสรรพ หรือไม่ก็เข้าไปนั่งดูไลฟ์ขายของ จน F สินค้าเต็มตะกร้า

และในอนาคตเหล่าแพลตฟอร์มยิ่งพัฒนาเครื่องมืออีคอมเมิร์ซให้ตอบสนองความต้องการทั้งแบรนด์และผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่การขายของจะถูกนำเสนอผ่านคอนเทนต์ Short Video และ Live Commerce มากขึ้นตามไปด้วย

สร้าง Emotional Connection ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า 

ปัจจุบันพฤติกรรมคนส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยนไปเป็นการซื้อสินค้าโดยอารมณ์มากกว่าความจำเป็น เช่น ซื้อสินค้าเพราะรู้สึกว่าคนขายเป็นคนตลก หรือซื้อสินค้าด้วยความสงสาร อยากช่วยเหลือ เป็นต้น

เพราะฉะนั้นแบรนด์จึงควรสร้าง Emotional Connection เพื่อเชื่อมโยงความรู้สึกกับผู้บริโภคผ่านคอนเทนต์ ซึ่งคอนเทนต์ที่แฝงความบันเทิงไปด้วย จะช่วยทำให้ผู้บริโภคมีอารมณ์ร่วมเพิ่มมากขึ้น

เน้นความเรียลมากกว่ายัดเยียดความเป็นแบรนด์ 

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า ผู้บริโภคไม่ชอบวิธีแบบเดิม ๆ ที่แบรนด์พยายามโฆษณายัดเยียดความเป็นแบรนด์มาให้ แต่จะชอบและรู้สึกสบายใจที่จะรับชมคอนเทนต์ที่เน้นความเรียล ดูเข้าถึงง่ายจากแบรนด์มากกว่า

เพราะฉะนั้นแบรนด์อาจต้องศึกษาถึงเทรนด์ที่ผู้คนกำลังสนใจ รวมถึงลองใช้อินฟลูเอนเซอร์ตัวเล็กที่ใกล้ชิดผู้บริโภคมากกว่ามาช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับแบรนด์ นอกจากนี้ ยังใช้คอนเทนต์ UGC หรือ User-generated Content มาช่วยในการเพิ่มความเรียล และเป็นมิตรให้แบรนด์มากขึ้น

กระตุ้นให้เกิด Conversion เร็วกว่า 

การใช้ Ads ทั่วไปอาจทำให้คนพยายามหลีกเลี่ยงคอนเทนต์ของแบรนด์มากขึ้น แต่การทำให้คอนเทนต์มีความสร้างสรรค์และสนุก จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คนดูคลิปจนจบ แถมยังมีแนวโน้มกระตุ้นให้คนใช้เวลาในการตัดสินใจกระทำอะไรบางอย่างน้อยลง นั่นแปลว่ามีโอกาสเพิ่ม Conversion ได้ในเวลาที่เร็วขึ้นกว่าการขายสินค้าหรือขายแบรนด์ตรง ๆ

นอกจากนี้ การสร้างคอนเทนต์แนว Shoppertainment ยังมีผลพลอยทำให้คนสนใจตัวคอนเทนต์และ Branding ของแบรนด์ จนกลับมาดูคอนเทนต์และติดตามแบรนด์ได้อีกด้วย

คอนเทนต์ที่สนุกเปลี่ยน Consumer to Custumer 

จุดเด่นสำคัญของ Shoppertainment คือการสร้างคอนเทนต์บันเทิงให้สร้างสรรค์ และขายของได้ เพราะฉะนั้นตอนแรกคนอาจมาดูเพื่อความบันเทิงเฉย ๆ หรือชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ของแบรนด์ที่มักทำอะไรถูกใจคนดูอยู่เสมอ

จนนาน ๆ เข้าเหล่าคนดูที่เริ่มจากการชื่นชอบแบรนด์จากคอนเทนต์ อาจโดนตกจนกลายมาเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าของแบรนด์จริง ๆ ก็ได้

ต่อยอดสู่การทำ Affiliate Marketing 

นอกจากแบรนด์จะใช้วิธีในการทำ Shoppertainment เองแล้ว ยังสามารถต่อยอดไปสู่การทำ Affiliate Marketing ได้อีกด้วย เนื่องจากแบรนด์สามารถ Collab กับเหล่าครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีแนวทางเหมือนกัน คือเน้นทำคอนเทนต์ขายสินค้าแบบบันเทิง

ทำให้แบรนด์สามารถจับมือกับครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ทำ Affiliate Marketing เป็นอีกหนึ่งวิธีในการทำการตลาดให้แบรนด์ แถมงานนี้ครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ยังได้ผลประโยชน์จากค่าคอมมิชชันอีกด้วย

 

เรียกว่าข้อดีชัดขนาดนี้ แถมยังเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงสำหรับ Social Commerce และ E-commerce ไม่ว่าจะแบรนด์ใหญ่แบรนด์เล็ก ก็สามารถนำไปใช้วางแผนกลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์โปรโมตสินค้า เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคและเพิ่มยอดขายให้ทะลุเป้าได้ง่ายขึ้น

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save