หลักฐานจากงานวิจัยที่บอกว่า Social Bot คือตัวสำคัญในการกระจายข่าวปลอม

ก่อนหน้านี้ Twitter ได้ออกมาประกาศ แบนการใช้งาน Bot สำหรับการทวีต ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบของแสปมและโดนลบบัญชีได้ ซึ่งเชื่อว่า เป็นส่วนสำคัญที่บรรดาเว็บไซต์ที่หวังผลใช้ในการกระจายข่าวปลอมหรือ Fake News ที่ ณ ยุคนี้ ในมุมของ Journalsim และ Information คงไม่มีประเด็นไหนจะร้อนแรงเท่าเรื่องนี้อีกแล้ว ล่าสุดได้มีงานวิจัยจาก Indiana University ชื่อว่า The spread of low-credibility content by social bots ได้ศึกษาพฤติกรรมการแพร่กระจายของ Fake News โดยตั้งคำถามว่า Social Bot (บัญชี Social Media ที่เล่นโดยคอมพิวเตอร์ และถูกเขียนโปรแกรมให้แชร์ หรือโพสต์อะไรบางอย่าง) กับ Fake News นั้นมีความเกี่ยวข้องกันแค่ไหน

และจากงานวิจัย ซึ่งศึกษาโมเดลการแพร่กระจายนั้นก็ทำให้เราได้พบกับหลักฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งบอกว่า Social Bot นั้นเป็นส่วนสำคัญในการแชร์ข่าวปลอม โดยทีมวิจัยได้ใช้วิธีการก็คือ สร้าง Platform ขึ้นมาสองตัว ตัวแรกตรวจจับแหล่งที่มาของข่าวปลอมว่ามาจากบัญชีไหนบ้าง มี engagement อย่างไร มากกว่า 400,000 คอนเทนต์ 14 ล้านทวีต และสร้างเป็น Graph ออกมา อีกตัวนึงตรวจจับว่าบัญชีผู้ใช้เป็น Bot เล่นหรือว่าเล่นโดยมนุษย์จริง ๆ (ข้อมูลการทวีตที่ใช้ อยู่ที่ 200 ทวีต เพียงแค่นี้ก็สามารถบอกได้แล้วว่าบัญชีนี้เป็นคนหรือ bot) จากนั้นเอาข้อมูลที่ได้มาเทียบกัน

ระบบ Track Fake News ที่ทีมวิจัยสร้างขึ้นมาชื่อว่า Hoaxy ซึ่งเราสามารถเข้าไปลองเล่นได้ ส่วน Tools ที่ใช้วิเคราะห์ว่าบัญชีนั้นเป็นบัญชีที่คนเล่นจริง ๆ หรือเล่นด้วยบอท ก็คือ Bolometer ตัวนี้จะสนุกหน่อย คือเราสามารถกรอกบัญชี @ Twitter ที่เราต้องการจะตรวจได้ว่าบัญชีนี้เล่นโดยคนหรือโดย bot แล้วระบบจะวิเคราะห์ออกมา ซึ่งความเจ๋งคือสามารถวิเคราะห์ Follower ได้ด้วยว่า มี Follower ที่เป็น bot เยอะแค่ไหน

Chengcheng Shao หัวหน้าทีมวิจัยบอกว่า จากผลดูเหมือนว่า bot พวกนี้ถูกเขียนมาให้ Target กลุ่มเป้าหมายคือ Influlencer หรือคนที่มี Follower เยอะ ๆ รีทวีตข่าวปลอมออกไป และปล่อยให้คนจริง ๆ แชร์ต่อ ๆ กันไป ดังนั้นตัวเริ่มต้นของข่าวปลอมก็จะมาจากบัญชีที่เป็น bot พวกนี้นี่แหละ ซึ่งก็มีเยอะมาก ๆ (เราจึงต้องพึ่งหวังความสามารถในการกวาดล้างของ Twitter มาช่วยด้วย)

งานวิจัยนี้ยังได้ข้อมูลที่สำคัญหลาย ๆ อย่างที่สำคัญ เช่น รัฐที่ bot พวกนี้ target ไป หรือกลุ่มคน สังคม ที่ bot target และนี่ก็เป็นครั้งแรกที่เราสามารถ claim อย่างเป็นทางการด้วยงานวิจัยได้ว่า แหล่งที่มาของข่าวปลอมหรือ Fake news นั้น จำนวนไม่น้อยเลยที่มาจาก bot และ bot พวกนี้ถูกเขียนมาให้ target คนธรรมดา ๆ อย่างเรา ๆ ให้ลงแชร์ด้วย

งานวิจัยนี้น่าจะเป็นบททดสอบสำคัญให้กับ Social Media ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Facebook และ Twiter ว่า Fake News นั้นถูกแชร์โดย bot ซึ่งสามารถสร้างขึ้นได้อย่างนับไม่ถ้วน และสามารถทำงานได้อย่างฉลาดผ่านอัลกอริทึมที่จะ Target ไปยังใคร ที่ไหน ที่มีพฤติกรรมอย่างไรก็ได้ และโปรแกรมเมอร์คนเดียวก็อาจจะสามารถแชร์บทความข่าวปลอมที่หวังผลร้างแรงได้ด้วยคลิกเพียงคลิกเดียว เป็นสิ่งที่น่ากลัวและต้องติดตามกันต่อไปว่าสงครามระหว่าง Fact และ Fake นั้น ไม่ใช่สงครามระหว่างคนกับคนอีกต่อไป แต่เป็นสงครามระหว่างคนกับเครื่องจักรไปซะแล้ว

 

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save