ใกล้จะสิ้นปี 2021 แล้ว ถือเป็นธรรมเนียมสำหรับเพจต่างๆ ที่จะต้องมาสรุปเรื่องราวในปีที่ผ่านมา รวมถึงคาดการณ์เทรนด์ในปีหน้า ในโอกาสนี้ RAiNMaker จึงขอพูดถึง Social media Marketing กันครับ
ในภาพรวมสำหรับการตลาด ปัญหาหลักยังคงเป็นวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้พฤติกรรมออนไลน์เปลี่ยนแปลงไป และจุดประกายพฤติกรรมใหม่ๆ เช่น โซเชียลมีเดียแบบเสียง การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และการเชื่อมต่อออนไลน์รูปแบบใหม่ๆ ไปดูเทรนด์ในปีหน้ากันครับ
โซเชียลมีเดียเป็นปัจจัยที่ 5 (Social media becomes part of daily life)
คงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอีกแล้วถ้าเราจะบอกว่าโซเชียลมีเดียกลายเป็นสิ่งที่หลายคนขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางอาชีพ ทางสังคม หรือเพื่อความบันเทิง
สถิติของแพลตฟอร์มบ่งบอกว่าไม่ใช่เพียงจำนวนผู้ใช้เท่านั้นที่เพิ่มมากขึ้น แต่ระยะเวลาที่ใช้งานก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ข้อมูลจาก Statista ค่าเฉลี่ยของคนทั่วโลกใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง 25 นาทีต่อวันในการใช้โซเชียลมีเดีย ขณะที่คนไทยใช้เวลาเฉลี่ย 11 ชั่วโมง 25 นาทีต่อวันหรือเกือบครึ่งวันบนโลกออนไลน์
โอกาสของนักการตลาดจึงยังไม่หมดสำหรับโลกออนไลน์ อีกทั้งยังมีพื้นที่อีกมากสำหรับกลยุทธ์ที่แปลกใหม่
โซเชียลมีเดียปรับตัวสู่อีคอมเมิร์ซ (Social media emerges as a shopping platform)
ในสถานการณ์ที่ผู้คนต้องใช้เวลาอยู่ในบ้าน ทำให้กิจกรรมทุกอย่างมุ่งเข้าสู่โลกออนไลน์ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ รวมถึงโซเชียลคอมเมิร์ซ
สำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเองก็รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้ทุกเจ้าพัฒนาฟีเจอร์และช่องทางเพื่อสนับสนุนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook และ Instagram shops หรือ TikTok, Twitter ให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ง่าย และช่องทางชำระเงินสะดวก
แบรนด์ที่เล็งเห็นการพัฒนาในส่วนนี้ และพร้อมปรับตัวรับกับการสนับสนุนของแพลตฟอร์มก็จะช่วยลดค่าโฆษณา การโปรโมท ทั้งยังเพิ่มช่องทางรายได้อีกด้วย
การมาของโซเชียลมีเดียแบบเสียง (Clubhouse, Twitter Spaces, Live Audio Rooms)
โซเชียลมีเดียน้องใหม่ในปีนี้คงหนีไม่พ้น Clubhouse ที่เข้ามาเติมเต็มการสื่อสารด้วยเสียงที่ไม่เหมือนใคร สามารถเชื่อมต่อได้แบบเรียลไทม์ ทุกคนมีโอกาสสอบถามหรือแชร์ประสบการณ์กับชุมชนได้ทันที
ความร้อนแรงในช่วงแรกทำให้พี่ใหญ่อย่าง Facebook และ Twitter พัฒนาฟีเจอร์ Live Audio Rooms และ Twitter Spaces เพื่อดึงให้ผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มของตัวเอง
โอกาสของแบรนด์ในการสื่อสารด้วยเสียงสามารถสร้างได้ทั้งความสัมพันธ์ การรับรู้ การบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ ได้ข้อมูลเชิงลึกจากลูกค้าแบบใกล้ชิด และที่สำคัญคือได้ Feedback จากลูกค้าได้โดยตรง
คอนเทนต์ขนาดพอดีคำ (Shorter attention spans result in more bite-sized content)
จากข้อมูลทางสถิติเราจะเห็นว่าผู้คนเข้าสู่โลกออนไลน์และใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียมากขึ้น แต่พฤติกรรมของผู้ใช้กลับมีส่วนร่วมและใช้เวลากับแต่ละคอนเทนต์น้อยลง โดยผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยในการอ่านคอนเทนต์อยู่ที่ 8 วินาทีเท่านั้น
อัลกอริทึมของแพลตฟอร์มก็ปรับเปลี่ยนควบคู่ไปกับพฤติกรรมโดยคอนเทนต์วิดีโอสั้น ข้อความสั้นจะมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงผู้ใช้ได้มากกว่า ไม่ใช่ว่าคอนเทนต์หรือวิดีโอยาวๆ ไม่ดี แต่ระบบจะช่วยคอนเทนต์ที่ขนาดพอดีคำมากกว่า
คอนเทนต์โดยกลุ่มลูกค้าน่าเชื่อถือกว่า (Growing utilization of user-generated content)
ในยุคโซเชียลมีเดียลูกค้าเชื่อใจลูกค้าด้วยกันเองมากกว่าการสื่อสารจากแบรนด์ ซึ่งสามารถเห็นได้ทั่วไปในทุกแพลตฟอร์ม ทั้งการรีวิวอาหาร รีวิวเครื่องสำอาง รีวิวการท่องเที่ยวในรูปแบบที่ไม่เป็นการจ้างจากแบรนด์ (เพราะคนสมัยนี้ดูออก)
User-Generated Content (UGC) จึงกลายเป็นคอนเทนต์ที่มีมูลค่าสูง น่าเชื่อถือและเข้าถึงง่าย แต่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องเสียเงินสร้างคอนเทนต์เหล่านี้เลย
สำหรับการสนับสนุน UGC แบรนด์ก็สามารถทำได้โดย เปิดพื้นที่ให้กับเนื้อหาของลูกค้า เช่น การแชร์รีวิว การให้ลูกค้ามาแชร์ประสบการณ์ สร้างแฮชแท็กสำหรับแบรนด์หรือสินค้า เป็นต้น
อ้างอิง