เริ่มแล้วกับปี 2025! ที่ไม่ได้มีแค่การอัปเดตรับปีใหม่เพียงเท่านั้น เพราะเรื่องของเทรนด์ก็ยังเดินหน้าต่อ โดยเฉพาะ “Social Media Trends” ที่ทาง Hootsuite ได้รวบรวมมากว่า 99 ประเทศ และ 16 อุคสาหกรรมทั่วโลก วันนี้ RAiNMaker เลยจะมาแชร์ให้รู้กันว่ามีเทรนด์อะไรที่ต้องจับตาบ้าง!
โดยในปีนี้ภาพรวมของโซเชียลใช้เวลากับความครีเอทีฟมากกว่าที่จะลงคอนเทนต์ให้สม่ำเสมอ โดยแต่ละคอนเทนต์ที่โพสต์มักจะใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล และนำเสนอในแง่มุมที่แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดเดียวกัน
The Creative Disruption Trend
เทรนด์ที่อัปเกรดคอนเทนต์ให้มีความเอนเตอร์เทนตามความสนใจของคนดูมากขึ้น แทนที่จะติดกับอยู่กับการคำนวณ ROI การทำให้คอนเทนต์ในโซเชียลมีเดียกว่า 60% มีความเอนเตอร์เทนอยู่นั้นจึงสำคัญในระยะยาวมากกว่า ซึ่งสามารถแบ่งสเต็ปการโพสต์โซเชียลได้ ดังนี้
- Risk-Taker 24%: คอนเทนต์ที่เต็มไปด้วยความเอนเตอร์เทนกว่า 81-100% ซึ่งต้องอาศัยความเสี่ยงเพื่อทำให้คอนเทนต์แตกต่าง และโดดเด่นกว่าคอนเทนต์อื่นในตลาด
- Champions 24%: คอนเทนต์ที่มีความเอนเตอร์เทนรองลงมา 61-81% ที่มองหาโอกาสดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายด้วยความเอนเตอร์เทน
- Balancers 21%: คอนเทนต์ที่บาลานซ์ระหว่างความเอนเตอร์เทน และเซฟโซนคอนเทนต์ที่ทำอยู่เป็นประจำเฉลี่ยที่ 41-60%
- Play-It-Safers 17%: คอนเทนต์ที่เน้นความเพลย์เซฟไว้ก่อน ไม่เน้นเสี่ยง แม้ยอดเอนเกจเมนต์หรือความสนใจของกลุ่มเป้าหมายจะไม่ตรงกับคอนเทนต์ที่ทำมาก็ตาม แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอที่ทำมาตลอด
- Creatively Constrained 15%: คอนเทนต์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแส หรือเทรนด์ของกลุ่มเป้าหมาย และยึดแค่สิ่งที่ทำแล้วให้ผลลัพธ์ที่ดีเท่านั้น ทำให้มีความความเอนเตอร์เทนในคอนเทนต์เพียงแค่ 0-20% เท่านั้น
จากสเต็ปการโพสต์ลงโซเชียลมีเดียทั้งหมด จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงคอนเทนต์ไลน์มาตั้งแต่กระแสของ TikTok ที่เน้น “creative bravery” ที่แบรนด์ และครีเอเตอร์มีการทำงาน รวมถึงเติบโตพร้อมกันมากขึ้นทั้งในด้านของเอนเตอร์เทนเมนต์ และด้านครีเอทีฟ รวมถึงการโพสต์แบบ cross-platform ก็กลายมาเป็นระบบสำคัญในการโพสต์โซเชียลมีเดียเช่นกัน
โดยแบรนด์เริ่มค้นหาตัวตนให้แบรนด์ดิงชัดเจน และเป็นที่น่าจดจำได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น tone of voice, personality หรือ market channels ที่ใช่ ก็จะช่วยให้เพิ่มเอนเกจเมนต์จากกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ และตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ไปด้วย
Brand drop in on creators
เทรนด์ที่แบรนด์ไม่ได้เพียงแค่โพสต์ลงโซเชียลมีเดียแล้วจากไป แต่ยังเข้าร่วมกับบทสนทนาผ่านคอมเมนต์เพื่อต่อยอดเอนเกจเมนต์กับกลุ่มเป้าหมายได้ด้วย เพราะทุกวันนี้หากลองเลื่อนฟีดดู จะพบว่าหลาย ๆ แบรนด์เริ่มปรับตัวโดยการตอบกลับคอมเมนต์ใต้โพสต์ตัวเอง หรือใต้โพสต์คนอื่นมากขึ้นแล้ว
การกระทำนี้จึงทำให้เกิด ‘Outbound engagements’ มากขึ้น โดยเฉพาะในเวลาที่แบรนด์ไปตามคอมเมนต์ใต้โพสต์ของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่กำลังพูดถึงแบรนด์อยู่
Timely outbound comments (TikTok และ Instagram)
ระยะเวลาการเติบโตของยอดเอนเกจเมนต์ เมื่อแบรนด์เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย
- 0-1 hour: 180
- 1-2 hours: 257
- 2-6 hours: 232
- 6-12 hours: 254
- 12-24 hours: 226
- 24-48 hours: 185
- 48-72 hours: 133
- 72+ hours: 145
จากระยะเวลาในการเข้าไปมีส่วนร่วม จะเห็นได้ว่าให้เวลาโพสต์โซเชียลผ่านไปไม่กี่ชั่วโมงเพื่อให้เกิดกายแพร่กระจายของดพสต์ไปยังหน้าฟีดมากขึ้น จากนั้นแบรนด์ค่อยเข้าไปมีส่วนร่วมจะทำให้ได้รับเอนเกจเมนต์กลับมามากที่สุด ซึ่งเอนเกจเมนต์ต่าง ๆ จะได้รับ มีดังนี้
- ยอดเอนเกจเมนต์ 24 = Emoji only
- ยอดเอนเกจเมนต์ 93 = 0-9 characters
- ยอดเอนเกจเมนต์ 193 = 10-49 characters
- ยอดเอนเกจเมนต์ 234 = 50-99 characters
- ยอดเอนเกจเมนต์ 30 = 100-199 characters
- ยอดเอนเกจเมนต์ 3 = 200+ characters
จากประเภทของยอดเอนเกจเมนต์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า ยอดเอนเกจเมนต์จะยิ่งลดลงหากมีการคอมเมนต์ผ่านออริจินัลโพสต์นานกว่า 24 ชั่วโมง รวมถึงคอมเมนต์ที่ได้รับยอดเอนเกจเมนต์ที่ดีที่สุด ก็คือตัวอักษรจำนวน 50-99 ตัวอักษรนั่นเอง
แต่! outbound comments จะได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นไปอีกกว่า 1.6 เท่า ก็ต่อเมื่อคอมเมนต์ของแบรนด์ได้รับการตอบกลับจากเจ้าของโพสต์ที่เป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เพราะผู้คนมักจะเข้ามาอ่าน และกระจายเอนเกจเมนต์ผ่านคอมเมนต์นั้นต่อไปด้วย
Social Listening
Social Listening กลายเป็นเครื่องมือตัวกลางสำคัญในการวัดประสิทธิภาพคอนเทนต์ และแคมเปญบนโซเชียลมีเดียไปแล้ว เพื่อให้แบรนด์สามารถเพิ่มยอดขาย และนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่ใช่ได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีสารตั้งต้นมาจากแบรนด์ด้วย
ทั้งการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Audience) ของตัวเอง ไปจนถึงการพัฒนา และปรับปรุงกลยุทธ์ รวมถึงแคมเปญ และ customer service ให้ได้ประสิทธิภาพอยู่เสมอ แต่ทุกอย่างก็ต้องเริ่มจากการมีแพลตฟอร์มที่ใช่สำหรับแบรดน์เช่นกัน โดยมีสถิติแพลตฟอร์มที่ใช้ และไม่ได้ใช้ Social Listening ดังนี้
- LinkedIn: ใช้ 76% ไม่ใช้ 71%
- Instagram: ใช้ 76% ไม่ใช้ 63%
- Facebook: ใช้ 67% ไม่ใช้ 59%
- TikTok: ใช้ 63% ไม่ใช้ 52%
- Reddit: ใช้ 56% ไม่ใช้ 52%
- YouTube: ใช้ 56% ไม่ใช้ 50%
- Pinterest: ใช้ 53% ไม่ใช้ 43%
- X: ใช้ 38% ไม่ใช้ 27%
- Threads: ใช้ 30% ไม่ใช้ 16%
แม้จากสถิติจะเป็นเพียงแค่การศึกษาแพลตฟอร์มที่ใช้ Social Listening แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการทำความเข้าใจ “Performance loop” ของตัวเอง อย่าง Insights > Action > Impact และวนลูปกลับไป
- Insights: เข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
- Action: มองหากลยุทธ์ที่ใช่ และทำให้เกิดขึ้นจริง
- Impact: ขับเคลื่อนด้วยการสร้างอิทธิพลในบางเรื่อง
Going Viral
กว่า 87% ของเหล่า Social Marketers มีความมั่นใจในเรื่องการตามเทรนด์ และกระแสสังคมในโลกโซเชียลมากขึ้น และแยกแยะได้ว่าเทรนด์ไหนควรกระโดดเข้าไปทำคอนเทนต์ หรือเทรนด์ไหนที่ควรเลี่ยงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกันดราม่า
โดยกว่า 27% ของ Social Marketers ยังมีการสลับคอนเทนต์ตามโอกาส และกระแสสังคมอยู่เสมอ เพราะมีม หรือการอัปเดตเทรนด์ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ก็จะทำให้เจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้นไปด้วย
AI Content & Strategy
เมื่อปีที่แล้วยังเป็นปีที่เหล่า Social Marketers ยังทดลองฟีเจอร์ และเครื่องมือ AI ต่าง ๆ อยู่ เช่น ChatGPT แต่ในปีนี้จะเป็นปีที่ AI Trends และ AI Strategy จะถูกนำมาใช้ในความเป็นจริงมากขึ้น โดยสามารถแบ่งการใช้ Generative AI ในปี 2024 ได้ คือ
- แก้ไขตัวอักษร และข้อความที่มีอยู่เดิม: 80% (+19%)
- สร้างตัวอักษรตั้งแต่ต้น: 77% (+17%)
- แก้ไข และเขียนข้อความขึ้นใหม่: 72% (+95)
- ค้นหาไอเดียใหม่: 70% (+25%)
- แก้ไข และแต่งเติมรูปภาพ: 42% (180%)
- เจนรูปภาพขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ต้น: 41% (+86%)
ซึ่งในปีนี้ AI สามารถเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการสร้างคอนเทนต์ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็รการคิดแคปชัน และสคริปต์ ไปจนถึงการแนะนำแฮชแท็ก, การแนะนำคำตอบรีพลาย หรือคอมเมนต์, การสร้างรูปภาพ และวิดีโอ ไปจนถึงการคิดค้นไอเดียใหม่ และดราฟอีเมล หรือ Proposal สำหรับพาร์ตเนอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ได้
“Middle man”
ปัจจุบัน AI เปรียบเสมือนกับคนกลาง (Middle man) ที่ช่วยสร้างจินตนาการให้เกิดขึ้นจริงได้ พร้อมช่วยประหยัดต้นทุน และจำนวนคนภายในทีมที่มีจำกัด ซึ่ง AI ไม่ได้จะมาแทนที่คน แต่จะมาช่วยประสานในการทำงาน และไอเดียที่มีของมนุษย์ให้เกิดขึ้นจริงได้ ซึ่งสามารถจัดอันดับการใช้ AI ได้ ดังนี้
- แก้ไขตัวอักษร และข้อความที่มีอยู่เดิม
- ค้นหาไอเดียใหม่
- สร้างตัวอักษรตั้งแต่ต้น
- แก้ไข และเขียนข้อความขึ้นใหม่
จากภาพรวมการใช้ AI ทั้งหมดของ Social Marketers จะเห็นได้ว่า มีการใช้ในการแก้ไข และสร้างตัวอักษร หรือข้อความมากที่สุด พอ ๆ กับการใช้ AI เป็นตัวต่อยอดไอเดียต่าง ๆ นั่นเอง
โดยสรุปแล้ว Social Media Trends 2025 นั้น เป็นปีที่ยังคงต้องโฟกัสไปยังการสร้างคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ และเอนเตอร์เทนในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยการ Interact กับกลุ่มเป้าหมายให้ดูเข้าถึงง่าย ประกอบกับการใช้ AI ให้ได้ผลลัพธ์อะไรใหม่ ๆ มากขึ้น นอกจากการคำนึงถึงเรื่อง ROI นั่นเอง