Source Credibility แนวคิดเบื้องหลังแผนรับมือข่าวปลอมของ Facebook ที่ Publisher ทุกคนควรรู้

ปัญหาข่าวปลอมนั้นตอนนี้กลายเป็นปัญหาหลักของ Facebook ไปซะแล้วจากกรณีผลการเลือกตั้งของ Trump ที่ผ่านมาก็ยังคงเป็นตราบาปให้กับ Facebook มาจนถึงทุกวันนี้ Social Network อันดับหนึ่งของโลกยังไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของคนบนโลกออนไลน์

แม้ว่า Facebook จะมีอัลกอริทึมที่ใช้ในการทำ Facts Check แต่ก็ดูเหมือนว่าการแก้ปัญหานี้อาจจะยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แม้จะมี Data ต่าง ๆ มากมาย แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่อาจแม่นยำไปกว่าความเป็นมนุษย์ไปได้ ภายหลัง Facebook เริ่มมีการทำ Facts Checking ด้วยคนจริง ๆ มานั่งดู แต่สุดท้ายแล้ว ข้อจำกัดด้านจำนวนคนและจำนวนของข่าวสารที่เกิดขึ้นหลายพันหลายหมื่นข่าวในแต่ละวัน คงมากเกินกว่าที่คนจะดูแลได้อย่างทั่วถึง ล่าสุด Facebook มีอีกหนึ่งแผนมาเพื่อที่จะทำการแก้ปัญหานี้

จากแนวคิดเรื่องของ Data และประสิทธิภาพทางสามัญสำนึกของคน ทำให้ Facebook มีแผนการจัดการกับข่าวลวงด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้เห็นมุมกว้างของ Publisher นั้น ๆ มากขึ้น

ฟีเจอร์ใหม่ของ Facebook ทำให้การตรวจสอบข่าวปลอมง่ายขึ้น

สำหรับแผนการของ Facebook นั้นมีดังนี้

  • ในบทความและ Instant Article ที่แชร์มายังหน้า Timeline จะมีการใส่ Hover เล็ก ๆ เขียนว่า About this Article
  • พอกดเข้าไปจะมี Card สไตลด์ขึ้นมาจากด้านล่างของจอ แสดงข้อมูลว่า Publisher รายนี้เป็นใคร (ซึ่งก็จะมาจาก Wikipedia) รวมถึงปุ่มกด Follow (จะเห็นว่าช่วงหลัง Facebook มาให้สำคัญกับการ follow มากกว่าการกดไลค์) และจะมี Related Article ขึ้นมาจากของเดิมที่ต้องกดเข้าไปในบทความก่อน
  • เลื่อนขึ้นมาอีกก็จะพบกับแผนที่แสดงว่าบทความนี้ถูกแชร์ ณ ตำแหน่งใดบ้างของโลก หรือของเมืองในประเทศนั้น ๆ

โดยการแสดงตำแหน่งนี้ ก็จะสอดคล้องกับนโยบายใหม่ของ Facebook ที่ Facebook ประกาศว่าจะนำข่าวท้องถิ่น (Local News) มาแสดงมากขึ้น

จุดอ่อนของ Instant Article

ทีมงาน RAiNMAKER ได้เคยวิเคราะห์ข้อเสียของ Instant Article ไปแล้วและหนึ่งในข้อเสียที่ทีมงานได้ยกมาก็ตือ “คนอ่านจะจำชื่อ Publisher ไม่ได้“ เนื่องจากไม่ว่าข่าวจะมาจากไหนก็จะมีหน้าตาคล้าย ๆ กันหมด ไม่เหมือนกับการกดเข้าไปในเว็บไซต์ ซึ่งอาจจะมองได้ว่าไม่ยุติธรรมสำหรับ Publisher เนื่องจากเว็บข่าวปลอมก็สามารถสร้าง Instant Article ได้เหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม Facebook ได้บอกว่า ฟีเจอร์ใหม่นี้จะช่วยสร้าง source credibility หรือแหล่งข้อมูลที่มีเครดิต (เชื่อถือได้) ซึ่งแน่นอนว่าก็ออกมาเพื่อแก้ปัญหาข่าวปลอมมากขึ้น ในปี 2017 ที่ผ่านมา ทาง Digital News Report ได้วิเคราะห์แนวโน้มในปี 2018 ในเรื่องความสำคัญของข่าวสารที่มีผลในเชิงการเมืองทั้งในทางบวกและในทางลบ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อย่างประเทศพม่า ก็จะมีประเด็นเรื่อง Independent News ในประเทศ ก็จะช่วยให้ประชาชนเห็นภาพรวมของการเมืองและมุมมองต่าง ๆ ในประเทศมากขึ้น (อารมณ์คล้าย ๆ ประชาไท หรือ สำนักข่าวอิศรา ของบ้านเรา)

ไม่ต้องเอาไป Search Google แล้วว่าน่าเชื่อถือไหม

ก่อนหน้านี้เราจะชอบพูดกันว่า “เวลาจะเชื่ออะไรให้เอาลองไป Search Google ดูก่อน” ซึง Facebook ก็บอกว่าฟีเจอร์ที่ออกใหม่จะมาเติมเต็มในส่วนนี้ โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกดออกจากแอพ Facebook เพื่อไปดูว่า Publisher นี้เป็นใคร น่าเชื่อถือไหม

การที่ Facebook นำ Related Post มาแสดงให้เห็นเยอะขึ้นก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานเห็น Overview ของเว็บนั้น ๆ มากขึ้น อย่างเว็บ Clickbait บางเว็บ อาจจะมีบทความที่ไม่ได้เป็น Clickbait ไม่กี่บทความ ซึ่งถ้าเราไม่เห็น Related Article เราก็อาจจะคิดว่าไม่ใช่เว็บ Clickbait ก็ได้

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการแสดง Related Article นอกจากจะช่วยในการเพิ่มโอกาสในการกดอ่านบทความอื่น ๆ แล้วยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นภาพรวมของเว็บนั้น ๆ แล้วใช้วิจารยาน ในการตัดสินว่าจะกด Follow หรือไม่อีกด้วย

Facebook มีความชื่นชอบในโมเดลและความโปรงใสของ Wikipedia

นอกจากเรื่องของฟีเจอร์ใหม่นี้แล้ว มีอีกเรื่องน่าสนใจคือใน Statement ของ Facebook มีการระบุว่า “Wikipedia เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีกระบวนการการตรวจสอบที่โปร่งใสตรวจสอบได้” ซึ่งก็จะขัดกับที่เราเคยได้ยิน ๆ กันว่า อย่าอ้างอิงข้อมูลจาก Wikipedia ตรงนี้ผู้เขียนมองว่าเป็นการตัดสินจากมุมเดียว คือเราจะคิดว่า Wikipedia ใคร ๆ ก็เข้ามาเขียนได้ มาแก้ได้ แต่จริง ๆ แล้ว ระบบการอ้างอิงของ Wikipedia นั้นละเอียดมาก ๆ และนโยบายการแก้ก็ค่อนข้างเข้มงวด ซึ่งถ้าบทความไหนมีอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือระบบก็จะทำการแจ้งเตือน

สุดท้ายแล้วก็เป็นไปได้ว่านี่อาจจะเป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญในการรับมือกับยุคที่ข่าวปลอมกำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก Facebook อาจจะนำโมเดลนี้มาใช้ในอนาคต เนื่องจาก Facebook ก็บอกเองว่า source credibility เป็นเรื่องสำคัญ

Publisher ควรปรับตัวยังไง

ปัจจุบันฟีเจอร์นี้ถูกทดสอบในประเทศที่มีข่าวลวงแพร่ระบาดอย่างในสหรัฐอเมริกา หรือใกล้บ้านเราก็จะเป็นประเทศพม่า ซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อฟีเจอร์นี้ประสบความสำเร็จและ Facebook ตัดสินใจนำมาใช้กับทั่วโลกเราจะต้องปรับเปลี่ยนการ config ค่าใน Instant Article อย่างไรบ้าง

ระหว่างนี้ก็แนะนำให้เน้นตามแนวทางที่ Facebook ยกมาคือ source credibility ส่วนเรื่องของฟีเจอร์ใหม่นี้ก็ต้องรอว่า Facebook จะมี Meta ใหม่ ๆ ไปให้ใส่ใน Website ของเรา หรือจะมีเมนูใหม่ขึ้นมาใน Instant Article หรือไม่

อ้างอิง

Facebook Newsroom – Helping People Better Assess The Stories They See In News Feed

Designing New Ways to Give Context to News Stories

Digital News Report

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save