How to เป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ : นักเล่าเรื่องฉบับ RAiNMAKER

‘Storytelling’ หรือการสร้างเรื่องราวสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์สมัยนี้ ซึ่งไม่ใช่แค่ต้องเล่าให้เข้าใจ แม้การเล่าของจะสามารถหยิบอะไรมาใส่ในเส้นเรื่องก็ได้ แต่ระหว่างทางจนไปถึงปลายทางนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องทำให้กลุ่มเป้าหมาย ‘รู้สึก’ ด้วย

“People don’t buy what you do, they buy WHY you do it” คือวลีที่ Simon Sinek ได้กล่าวเอาไว้สำหรับการสร้าง ‘Storytelling’ ให้กับคอนเทนต์ เพราะผู้คนมักจะให้ความสำคัญกับ ‘Why’ มากกว่า ‘What’ 

เพราะเรื่องเล่าที่ถูกสร้างขึ้นต้องสามารถสร้างคุณค่าบางอย่างให้ตรงกับความต้องการ หรือพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้เป็นที่จดจำมากที่สุดด้วย

และสำหรับเหล่าครีเอเตอร์ที่พร้อมจะออกเดินทางไปสู่เส้นชัยด้วยกันกับเรา เลยมี ‘Storytelling Map’ ฉบับ RAiNMaker มาให้ ถ้าพร้อมแล้วก็ออกเดินทางได้เลย!

ด่านที่ 1: เลือกตัวละคร (Choose your character)

  • First Person: แบรนด์คือตัวละครหลัก

การเล่าเรื่องสามารถเล่ารายละเอียดได้ลึกกว่า เพราะเป็นผู้มีส่วนร่วมโดยตรงกับแบรนด์ ซึ่งเหมาะกับการเล่าความเป็นมา หรือเบื้องหลัง ไปจนถึงเรื่องราว Unseen ต่าง ๆ ในการทำเป็นคอนเทนต์ได้

  • Second Person: บุคคลที่สองคือตัวละครหลัก

การเล่าเรื่องควรเริ่มต้นมาจากการเข้าใจปัญหา (Pain point) ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อแสดงถึงความใส่ใจหรือเข้าอกเข้าใจ (Empathy) สิ่งที่พวกเขาต้องเจอมากขึ้น

  • Third Person: บุคคลที่สามคือตัวละครหลัก

การเล่าเรื่องแบบอ้างอิงบุคคลที่สามอย่างที่เรา ๆ ชอบพูดกันว่า “เขาบอกว่ามันดี” นั้น คอนเทนต์จะเป็นลักษณะการรีวิว หรือกรณีศึกษา (Case Studies) เพื่อเป็นตัวอย่างกลุ่มคนที่ต้องเกี่ยวกับแบรนด์ โดยสามารถดัดแปลงเรื่องเล่าให้สนุกหรือมีความน่าสนใจได้

ด่านที่ 2: สร้างชาเลนจ์ (Build a challenge)

หรือที่เรียกกันว่าการหาความขัดแย้ง (Conflict) ในเรื่องเล่านั่นเอง และยิ่งมี Conflict มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ตัวละครรู้สึกชาเลนจ์มากขึ้นเท่านั้น เพราะปัญหาหา หรืออุปสรรคเหล่านี้จะนำไปสู่บทเรียนที่ดีต่อตัวละคร และเจอปลายทางที่เป็นทางออกได้ในที่สุด

ด่านที่ 3: หาตอนจบของเรื่อง (Find your resolution)

ตอนจบของเรื่องเป็นส่วนที่กลุ่มเป้าหมายคงอยากจะรู้คำตอบที่สุดว่าจะลงเอยแบบไหน และสำหรับผู้สร้างคอนเทนต์แบบเราก็เลือกได้เหมือนกันว่าหลังจากปล่อยให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์แล้วอยากจะสร้างอิมแพคแบบไหนกับแบรนด์ต่อไป

  • สร้างอิมแพคจากอารมณ์ (Emotional)

เน้นให้คอนเทนต์อิมแพคทางอารมณ์และความรู้สึกกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความเศร้า หรือความหวังที่เป็นบทเรียนตอนจบของเรื่อง สามารถทำให้เกิดการแชร์ต่อบนโลกโซเชียลได้

  • สร้างอิมแพคจากการขาย (Provide contact)

เน้นคอนเทนต์ที่เล่าเรื่องราวมาตลอดทั้งเรื่อง และปิดท้ายด้วยการขายหรือแจกช่องทางการติดต่อ บ่งบอกว่าแบรนด์ไหนเป็นเจ้าของผลงาน 

  • สร้างอิมแพคจากการคลิก (Call to action – CTA)

เน้นให้คอนเทนต์นำพากลุ่มเป้าหมายไปยังความต้องการของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการคลิกที่พาไปยังหน้าเว็บไซต์ หรือการมีส่วนร่วมที่ได้เป็นสมาชิกเพื่อทำให้รู้จักแบรนด์มากขึ้น

การเล่าเรื่องหรือ ‘Storytelling’ ไม่มีวิธีที่ตายตัว และไม่มีถูกหรือผิด แค่ต้องเข้าใจว่าเรื่องเล่านี้จะนำพากลุ่มเป้าหมายของเราไปสู่จุดไหน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้รู้จักแบรนด์มากขึ้น หรือทำให้เกิด ‘Call to action’ ต่อแบรนด์ก็ย่อมได้ ซึ่ง RAiNMAKER หวังว่า ‘Storytelling Map’ นี้จะช่วยให้หาเส้นทางที่แตกต่างกันของแต่ละคนเจอนะ

 

ที่มา : HubSpot

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save