ทุกวันนี้การลงทุนหรือจับจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งการมองเห็นมากขึ้น นับว่าเป็นสิ่งที่หลาย ๆ แบรนด์ เอเจนซี หรือแม้กระทั่งเหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ก็นิยมกันมากกว่ายอดออแกนิกแล้ว ซึ่ง LINE ก็เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการทำโฆษณา และเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ให้กับแบรนด์มากขึ้น
แต่ระบบของการโฆษณาในแอปสีเขียวที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวันนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้ RAiNMaker จะมาแชร์ให้รู้กัน!
LINE Ads Platform หรือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อให้แบรนด์ เอเจนซีหรือครีเอเตอร์สามารถเข้าถึงผู้ใช้ LINE มากยิ่งขึ้น เพราะมีวิธีการลงโฆษณาง่าย ๆ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้แม่นยำกว่าที่คิด
ซึ่งการซื้อโฆษณาสามารถทำได้ 2 ช่องทางคือ การซื้อโฆษณาด้วยตนเองผ่าน LINE Ads Platform โดยตรง และการซื้อโฆษณาผ่าน LINE Agency Partner ที่มีเอเจนซีเป็นตัวกลางในการซื้อขายโฆษณากับ LINE นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนจะซื้อโฆษณากับ LINE ควรมีบัญชีหรือแอคเคาท์ LINE Official Account เสียก่อน แล้วค่อยทำการสมัครเพื่อซื้อโฆษณา ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ คือ
- สร้างบัญชี LINE Business ID
- เข้าสู่ระบบที่ Admanager.line.biz
- เพิ่มข้อมูลแบรนด์ และแนบเอกสาร
- ลงทะเบียนบัตรเครดิต
และเนื่องจากแพลตฟอร์มยิงแอดอย่าง LINE Ads Platform คำนึงถึงการโฆษณาเพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย และตรงตามวัตถุประสงค์ของแบรนด์ให้มากที่สุด จึงมีโมเดลอย่าง Business Objective ไล่ลำดับขั้นการโฆษณา ดังนี้
-
การรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
คือ การเข้าถึงแบรนด์ผ่านการเข้าชมเว็บไซต์ การกำหนดการเข้าถึงพร้อมความถี่ (Reach and Frequency) แต่ใช้ได้เฉพาะซื้อผ่าน LINE Agency Partner เท่านั้น และการดูวิดีโอ (Video Views)
-
เพิ่มฐานลูกค้า (Increase Customer Base)
การเพิ่มฐานลูกค้าให้กับแบรนด์ จะมีทั้งการเพิ่มเพื่อนหรือผู้ติดตาม และการติดตั้งแอปพลิเคชัน เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ติดตั้งแอปของแบรนด์
-
กระตุ้นยอดขายและการใช้งาน (Increase Sales)
การจะกระตุ้นยอดขาย และเพิ่มความอยากใช้งานให้แบรนด์มากขึ้นจะคำนึงถึงการเพิ่มจำนวนคอนเวอรชันบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมาย หรือการลงทะเบียน นอกจากนี้ยังมีการมีส่วนร่วมในแอป เพื่อกระตุ้นผู้ใช้งานที่มีแอปอยู่แล้วนั่นเอง
-
รักษาฐานลูกค้า (Customer Retention)
การรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ได้ในระยะยาว ต้องอาศัยกลยุทธ์การนำเสนอสินค้าแบบไดนามิก (Dynamic Product Sales) หรือการเน้นแสดงสินค้าแบบเฉพาะเจาะจงบุคคลมากขึ้น (Personalization) เพื่อตามหาความสนใจ และเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนเพิ่มมากขึ้นด้วย
รูปแบบการซื้อโฆษณา
สำหรับแบรนด์ เอเจนซี และเหล่าครีเอเตอร์กับอินฟลูเอนเซอร์ที่สนใจอยากซื้อโฆษณากับ LINE จะมีรูปแบบการเลือกโฆษณาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์ และเหมาะสมกับแคมเปญได้ ดังนี้
- Cost Per 1,000 Impressions (CPM) : ตามจำนวนการเห็นโฆษณา
- Cost Per Click (CPC) : ตามจำนวนการคลิก
- Cost Per Friend : ตามจำนวนการเพิ่มเพื่อน
- Cost Per Video View : ตามจำนวนยอดวิว
- Cost Per Action (CPA) : ตามจำนวนการเข้าชมเว็บ
- Cost Per Install (CPI) : ตามจำนวนการติดตั้งแอป
ตำแหน่งของการโฆษณา
สำหรับแอป LINE Ads Platform จะมีการเลือกตำแหน่งในการปรากฎของโฆษณา ผ่านการคำนึงของวัตถุประสงค์ และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับแบรนด์มากที่สุด ซึ่งจะเป็นการเลือกการแสดงผลโฆษณาให้อัตโนมัติ โดยคิดถึงผลลัพธ์ที่มีปนะสิทธิภาพสูงสุดแล้วด้วยระบบอัลกอริทึมที่มีอยู่
- Chat List : มีการเข้าถึง 50 ล้านคน
- LINE Timeline : มีการเข้าถึง 7 ล้านวิว
- LINE TODAY : มีการเข้าถึง 38 ล้านคน
- Wallet Tab : มีการเข้าถึง 170 ล้านวิว / เดือน
- Open Chat : เป็นช่องทางเข้าถึงใหม่ของการยิงโฆษณาในกลุ่มแชตออนไลน์
จะเห็นได้ว่าการโฆษณาผ่าน LINE Ads Platform สามารถคำนึง และกำหนดได้เองแบบอิสระ เพียงแค่เข้าใจจุดประสงค์ของแบรนด์ตัวเองให้มากที่สุด แม้การซื้อโฆษณาด้วยตัวเอง และการซื้อโฆษณาผ่านเอเจนซีจะมีฟังก์ชันที่ใช้งานแตกต่างกันบางส่วนก็ตาม ซึ่งสำหรับใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ลิงก์นี้เลย : LINE Ads Platform
แต่หากใครที่มีบัญชีและพร้อมที่จะสมัครใช้งานบริการโฆษณาผ่าน LINE แล้ว สามารถตรวจสอบรายละเอียดการลงโฆษณาได้ที่นี่ : LAP Guideline
ที่มา: LINE For Business