นับว่าทุก ๆ ปีคนทำสื่อ ครีเอเตอร์ แบรนด์ และเอจนเซีต่างก็รอข้อมูลของ DIGITAL 2023 OCTOBER GLOBAL STATSHOT REPORT ที่รวมสรุปสถิติทั้งฝั่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, TikTok, YouTube, Instagram หรือจะเป็นด้านอีคอมเมิร์ซ และด้านการตลาดดิจิทัลมาให้รู้กัน ว่าคนยุคนี้เสพคอนเทนต์แบบไหน หรือพวกเขาชอบอะไร และไม่ชอบอะไรบ้าง และวันนี้ RAiNMaker ก็จะมาสรุปให้อ่านด้วย!
เริ่มจากกระแสหลักของฟอร์แมตคอนเทนต์ในตอนนี้ก็คงไม่พ้น “Video Content” เพราะทุกแพลตฟอร์มต่างก็มีคอนเทนต์วิดีโอสั้นของตัวเองให้ผู้คนทำคอนเทนตลง ทั้ง TikTok, Reels และ Shorts โดยประเภทที่คนชอบดูมากที่สุดคือ
- วิดีโอคอนเทนต์รูปแบบไหนก็ได้ 92.3%
- มิวสิควิดีโอ 49.4%
- คลิปตลก คอเมดี้ และคลิปไวรัล 35.3%
- คลิป Tutorial หรือคลิป How-to 26.4%
- คลิปวิดีโอไลฟ์สตรีม 27.6%
- คลิปเพื่อการศึกษา และเรียนรู้ 26.0%
- คลิปเกี่ยวกับกีฬา หรือไฮไลท์กีฬาช็อตเด็ด 25.6%
- คลิปรีวิวสินค้า 25.0%
- คลิปอินฟลูเอนเซอร์ และ Vlog 23.7%
- คลิปเกี่ยวกับเกมมิง 23.1%
เมื่อรู้ประเภทคอนเทนต์วิดีโอกันไปแล้วก็พอจะจับทางได้ถูกว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ทำแล้วจะมุ่งเข้าสู่ Red Ocean แต่คนดูเยอะ หรือคลิปไหนที่ไม่ได้มีชื่ออยู่ในสถิตินี้ใครอยากจะลองสนามเป็นคนแรกก็ได้เหมือนกับกับคอนเทนต์ที่อยู่ใน Niche Market
และก็มาถึงช่วงที่ทุกคนน่าจะรอคอยกันกับสถิติแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้งหลาย โดยเราจะเริ่มจากแพลตฟอร์มตัวตึงเจ้าเก่าที่มีผู้ใช้แอ็กทีฟเยอะที่สุดในโลกกันก่อนอย่าง Facebook กว่า 3.3 พันล้านแอคเคานท์ หรือคิดเป็น 68.1% ต่อเดือนเลยก็ว่าได้ เลยทำให้ยอด Reach สำหรับ Facebook Ads พุ่งไปถึง 76.2% กันเลยทีเดียว ซึ่งประเทศไทยก็ดันใช้ Facebook Ads ติดอันดับ 9 ของโลกด้วย ซึ่งการันตีได้ว่าต่อให้จะมีแพลตฟอร์มใหม่ ๆ แต่ใครที่มีบ้านหลังหลักอยู่บน Facebook ก็สบายใจได้นะ
ประเภทคอนเทนต์ที่โพสต์แล้วปังสุดใน Facebook
- โพสต์จากเพจต่อวัน 1.86 พันล้านโพสต์
- โพสต์พร้อมการแชร์ลิงก์เนื้อหาทั้งหมดของเพจให้คนไปอ่านต่อ 49.2%
- โพสต์แบบมีรูปภาพประกอบด้วย 30.8%
- โพสต์แบบแชร์วิดีโอประกอบ 17.7%
- โพสต์แบบสเตตัสที่เป็น Text 2.3%
เช็กประเภทคอนเทนต์ที่โพสต์ไปแล้ว ก็มาดูกันบ้างว่าโพสต์ประเภทไหนโพสต์แล้วได้ยอดเอ็นเกจเมนต์เยอะที่สุดบน Facebook ซึ่งแม้ Meta จะพึ่งเปิดตัว Facebook Reels และควบรวมกับ Instagram Reels ได้ไม่นาน แต่สถิติยอดเอ็นเกจเมนต์นั้นกลับเกือบเท่าโพสต์แบบสเตตัสแบบเดิมด้วย เรียกได้ว่าใครยังไม่ลองทำ Reels ต้องลองแล้ว
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์สเตตัส 15.57%
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์ Reels 15.04%
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์มีลิงก์แนบประกอบ 8.56%
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์รูปภาพแบบอัลบั้ม 7.53%
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์มีรูปภาพแนบประกอบ 6.66%
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์วิดีโอปกติ 5.21%
TikTok
มาถึงแพลตฟอร์มยอดฮิตของคนทั่วโลกอย่าง TikTok กันบ้าง ซึ่งเป็นแอปที่แม้จะมาที่หลังกับฝั่ง Meta แต่ก็มียอด Ads Reach พุ่งถึง 1.22 พันล้านครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นยอดที่แข็งแรงไม่น้อย และสำหรับที่ยังไมีเคยลองยิงแอดบนแพลตฟอร์มนี้ ก็นับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่แน่นอนว่าโฆษณาบน TikTok จะต้องมีความเรียล ครีเอทีฟ และเข้าถึงง่ายมากกว่าโฆษณาปกตินะ ซึ่งไทยก็ติดอันดับ TikTok Ad Reach ไปถึงอันดับที 9 เลยด้วย (สถิติเท่ากับ Facebook)
TikTok Engagement Rates
เมื่อเช็กยอดเอ็นเกจเมนต์จาก TikTok Ad Reach กันไปแล้ว ก็ถึงเวลามาเช็กประเภทการคอนเทนต์ที่โพสต์ลง TikTok ของ TikTok Business Account กันบ้าง ว่ามีการคิดจากอะไรมากที่สุด นั่นก็คือ
- ยอดเอ็นเกจเมนต์ และยอดวิว 6.63%
- ยอดกดใจไลก์คลิป 6.11%
- ยอดคอมเมนต์ใต้คลิป 0.09%
- ยอดแชร์คลิป 0.01
ซึ่งโดยสรุปแล้วสำหรับแพลตฟอร์ม TikTok ก็เน้นการวัดเอ็นเกจเมนต์จากยอดวิวมากที่สุดเหมือนเดิม
YouTube
แพลตฟรอร์มที่มีคอนเทนต์ Long-form และ Short-form ในที่เดียว ซึ่งแม้อิทธิพลของวิดีโอสั้นจะเริ่มปพ่ขยายแค่ไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลย คอนเทนต์วิดีโอยาวก็เติบโตควบคู่กันไปได้ โดยไม่ได้มีใครมาแทนที่ใคร และยอดชาร์ตจากมิวสิควิดีโอต่าง ๆ ก็ยังวัด และทำสถิติจากยอดวิวบนแพลตฟอร์มนี้อยู่ โดยโกยยอด YouTube Ads Reach ไปถึง 2.49 พันล้านเลยทีเดียว แต่สำหรับประเทศไทยมียอด YouTube Ads อยู่อันดับที่ 16 ซึ่งต่ำกว่า Facebook และ TikTok ที่อยู่อันดับ 9
YouTube Top Search
นอกจากยอด Reach แล้ว หลายคนก็น่าจะอยากรู้ Top Search กันว่าเวลาผู้คนจะรับชมวิดีโอเขามีการพิมพ์ค้นหาเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งมี 5 อันดับสำคัญตามนี้
- SONG
- MOVIE
- VIDEO
- SONGS
- HOW TO
โดยส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างเพลง และหนังที่ถูกค้นหามากที่สุด เพราะ YouTube ก็นับเป็นแพลตฟอร์มที่สตรีม หรือมีวิดีโอด้านบันเทิงเยอะที่สุด และที่แน่ ๆ คลิปหรือคอนเทนต์แบบ How-to ก็ติดอันดับกับเขาด้วย เพราะการได้ดูวิธีทำต่าง ๆ เป็นคลิปมันเห็นภาพง่ายกว่านั่นเอง
แพลตฟอร์มที่มีโครงสร้างแข็งแรงเรื่องไลฟ์สไตล์ และการลงสตอรีที่ยังไม่มีแพลตฟอร์มไหนทำได้ แม้จะมีความคล้ายกับ Snap Chat ก็ตาม แต่ Instagram นับว่าเป็นสเมือนไดอารี่ที่คอยบันทึกชีวิตประจำวัน และเรื่องราวที่เกิดขึ้นของคนรุ่นใหม่ไปแล้ว แถมยังเป็นที่ ๆ แบรนด์เสื้อผ้าต่าง ๆ ก็ทำให้แพลตฟอร์มโกยยอด Reach จาก Instagram Ads ไปถึง 1.64 พันล้านด้วยนะ แต่สำหรับประเทศไทยมียอด Instagram Ads อยู่อันดับที่ 16 ซึ่งต่ำกว่า Facebook และ TikTok ที่อยู่อันดับ 9
Instagram Engagement Rates
หลายคนคงจะนึกว่า Instagram เป็นแพลตฟอร์มเน้นรูปภาพ และสตอรี แน่นอนว่าก็ต้องเน้นทำยอดเอ็นเกจเมนต์กับ 2 ฟอร์แมตคอนเทนต์นั้น แต่มาดูกันดีกว่าว่าจะเป็นอย่างที่คิดไหม
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์แบบผสม หรือ “Carousal Post” ที่มีทั้งภาพ และวิดีโอ 0.73%
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์แบบวิดีโอ 0.63%
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์ทุปแบบ 0.61%
- ยอดเอ็นเกจเมนต์จากโพสต์แบบรูปภาพ 0.54%
X (Twitter)
นับเป็นแพลตฟอร์มที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ซีอีโอคนใหม่เป็น Elon Musk และคนใหม่อีกครั้งอย่าง Linda Yaccarino มาจนถึงการเปลี่ยนชื่อแอปจาก Twitter เป็น X และโลโก้ใหม่สีดำแบบขลังกว่าเดิม ใครที่มีบ้านอยู่แพลตฟอร์มนี้น่าจะปรับตัวได้เก่งเลยทีเดียว เพราะ X Reach Ads ได้ไปเพียง 666.2 ล้านเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าแพลตฟอร์มอื่นที่ลงทุนยิงแอดบนแพลตฟอร์มกัน แต่ประเทศไทยก็ติดอันดับ 10 ในการยิงแอดบน X นะ โดยสูงกว่า YouTube และ Instagram นั่นเอง
ECOMMERCE
มาด้านอีคอมเมิร์ซกันบ้างที่หลาย ๆ แบรนด์จะได้รู้ข้อมูล และสถิติของผู้บรโภคยุคใหม่ว่าพวกเขานิยมช้อปแบบไหน โดยจัดอันดับได้ตามนี้
- ซื้อสินค้าในโลกออนไลน์ 56.5%
- สั่งสินค้าที่เป็นของสดจากออนไลน์ 27.9%
- มีการเปรียบเทียบราคากับการบริการในโลกออนไลน์ 21.2%
- นิยมการซื้อแบบซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy now, pay later) 16.0%
- ซื้อสินค้ามือสองจากโลกออนไลน์ 12.4%
โดยสรุปแล้ววงการอีคอมเมิร์ซที่มีโลกออนไลน์เข้ามานับว่ามีอิทธิพลต่อผู้บรโภคในยุคนี้ที่เน้นความสะดวกเข้าถึงง่าย และเทียบราคาง่ายด้วย แต่การช้อปปิ้งของมือสองที่สร้างคุณค่าให้กับโลกก็กำลังมาเช่นกัน รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้คนช้อปตามใจตัวเองก็ใช้การซื้อก่อนแต่จ่ายทีหลังมากขึ้นด้วย
Online Purchase
แต่การตัดสินใจซื้อของออนไลน์ของผู้บริโภคก็มีที่มาที่ไปด้วยนะ เพราะไม่ใช่แค่ความสะดวกอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้พวกเขาเลือกที่จะซื้อออนไลน์มากขึ้น ร้านใครมีหน้าร้านออนไลน์ก็เตรียมปรับรายละเอียดเพิ่มตามนี้ได้เลย
- ส่งฟรี
- มีคูปอง และส่วนลด
- มีรีวิวจากลูกค้าที่ดี
- สั่งซื้อแล้วส่งวันถัดไปทันที
- ซื้อง่ายจ่ายคล่อง ไม่ยุ่งยาก
แต่นี่เป็นเพียง 5 ข้อหลักที่ร้านค้าออนไลน์ควรมีเท่านั้น สามารถอ่านแบบเต็มได้ในบทความนะ และมาถึงแพลตฟอร์มที่ฮอตฮิตทั่วโลกก็มีการจัดอันดับเช่นกัน นั่นก็คือ
- AMAZON
- SHOPEE
- FLIPKART
- SHEIN
- LAZADA
DIGITAL MARKETING
พูดถึงฝั่งอีคอมเมิร์ซกันไปแล้ว ก็มาถึงฝั่งการตลาดดิจิทัลกันบ้าง ว่าผู้บริโภคมีวิธีทำอย่างไร หรือใช้ Customer Journey แบบไหนทำให้ได้มาเจอกับแบรนด์ ซึ่งสถิติเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์เข้าใจเส้นทาง และเข้าไปอยู่ในการช้อปของผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น
- Search Engine: ใช้การเสิร์ชหาแบรนด์ 31.2%
- TV Ads: เห็นโฆษณาในโทรทัศน์ 30.5%
- Social Media Ads: เห็นโฆษณาของแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย 28.7%
- Word-of-Mouth: บอกกันปบบปากต่อปาก “เขาว่าอันนี้ดี” 27.8%
- Brand Website: เว็บไซต์โดยตรงของแบรนด์ 24.8%
แต่นอกจากการเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายขึ้นแล้ว ก็ยังมีเหตุผลที่ผู้บริโภคหันไปใช้ Ad Block กันมากขึ้นด้วย ใครอยากรู้ว่าทำไมโฆษณายอดถึงไม่ดี เอ็นเกจเมนต์ไม่ได้ มาดู!
- เพราะมีโฆษณามากเกินไป 62.1%
- โฆษณาขึ้นมากวนการเข้าเว็บ 54.2%
- เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเอง 40.5%
- โฆษณาไม่ได้สำคัญสำหรับเขา 39.2%
- เพื่อหยุดการมองเห็นคอนเทนต์ที่โฆษณาไม่เหมาะสม 38.2%
ซึ่งในโลกการโฆษณาแม้จะเป็นสิ่งที่ทำให้แบรนด์ถูกมองเห็น หรือผู้บริโภครู้จักกับแบรนด์ของเรามากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกการโฆษณาที่จะมีประโยชน์ เพราะไม่ได้ขึ้นตามกลุ่มเป้าหมาย และบางโฆษณายังละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลก่อให้เกิดการฉ้อโกงเพราะโฆษณาเกินจริงได้อีกด้วย