ชวนถอด Case Study: SWOT Analysis จาก 3 แบรนด์ดัง Disney, McDonald’s และ Google

SWOT analysis หรือที่คุ้นเคยกันดีว่าเป็นการวิเคราะห์แบรนด์​ และตลาดของแบรนด์ที่นักธุรกิจ หรือการตลาดจะนิยมใช้กันเพื่อทำให้เข้าใจแบรนด์ของตัวเอง และคู่แข่งในตลาดมากขึ้น ซึ่งวันนี้ RAiNMaker มีตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT Analysis และสรุป Key Takeaway จาก 3 แบรนด์ดังอย่าง Disney, McDonald’s และ Google ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที!

ซึ่งจากการวิเคราะห์ SWOT Analysis เบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นทั้ง จุดแข็ง – Strengths (S), จุดอ่อน -Weakness (W), โอกาส – Opportunities (O), และความเสี่ยง – Threats (T) จะทำให้หาช่องโหว่ และต่อยอดให้แบรนด์เติบโตไปได้ โดยสามารถทำความเข้าใจหลักการ SWOT ได้ ดังนี้

  • จุดแข็ง – Strengths (S): ปัจจัยภายในที่แบรนด์ หรือธุรกิจทำได้ดี หรือสิ่งที่ทำให้แบรนด์มีคุณค่าแตกต่างจากคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็น Internal Source อย่างทักษะ หรือสตาฟที่มีความเชี่ยวชาญ ไปจนถึงโปรดัก และบริการที่เป็น Asset สำคัญ
  • จุดอ่อน -Weakness (W): ปัจจัยภายในที่แบรนด์ หรือธุรกิจขาด และมีช่องโหว่ที่คู่แข่งสามารถทำได้ดีกว่า ไปจนถึงทรัพยากรที่ถูกจำกัด และจุดขาย (Unique Selling Proposition) ไม่ชัดเจน
  • โอกาส – Opportunities (O): ปัจจัยภายนอก หรือสถานการร์ที่แบรนด์ และธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์เพื่อให้เติบโตได้ เช่น ตลาดที่เกิดใหม่ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของกฎต่าง ๆ เป็นต้น
  • ความเสี่ยง – Threats (T): ปัจจัยภายนอกที่ทำให้แบรนด์ และธุรกิจประสบปัญหา หรือเกิดความเสี่ยงเพราะความไม่แน่นอน เช่น การแข่งขันท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แนวโน้มการตลาดหรือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และความท้าทายด้านกฎระเบียบใหม่

แต่ทั้ง 3 แบรนด์ดังอย่าง Disney, McDonald’s และ Google จะมีกลยุทธ์ SWOT Analysis ที่น่าสนใจอย่างไร ตามไปดูกันเลย!

Disney

แผนภูมิตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ของดิสนีย์

จุดแข็ง – Strengths (S)

แผนภูมิเครือข่ายดิสนีย์สำหรับการวิเคราะห์ SWOT

  • มีกระแสเงินสดที่มั่นคง เลยทำให้บริษัทสามารถกระจายการลงทุนในหลายภาคส่วนได้ การมีเสถียรภาพทางการเงินจึงช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อผู้ประกอบการ และผู้ถือผลประโยชน์ไปด้วย
  • เครือข่ายกว้างขวาง เพราะ Disney ครอบคลุมไปถึง Miramax และ ABC ไปจนถึง ESPN, Starwave, Pixar, Marvel และอื่นๆ อีกมากมาย
  • สร้าง Brand Value ด้วยมูลค่าแบรนด์มหาศาล เพราะเป็นแบรนด์ที่คนทุกวัยทั่วโลกสามารถจดจำแบรนด์ดิงนี้ได้ทันทีที่เห็น ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ หรือสินค้า ไปจนถึงการปรากฏตัวของ Walt Disney Studios ที่เป็นสัญลักษณ์ของความไว้วางใจได้ มีการยอมรับ และบ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์

จุดอ่อน – Weakness (W)

แผนภูมิการแชร์สตรีมมิ่งของดิสนีย์เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ SWOT

  • ความท้าทายด้านชื่อเสียง เพราะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Disney ต้องเจอข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการเหยียดเชื้อชาติ และปัญหาความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เพราะนักแสดงของ Disney กว่า 700 คน ได้ยื่นคำร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
  • การพัฒนาที่ไม่ตรงเวลา แม้ Disney จะพยายามในการคาดการณ์ และมองหาแนวโน้มใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงาน หรือโปรดัก แต่เมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วก็พลาดไปหลายโอกาส เพราะบริษัทอื่น ๆ เริ่มมีการปรับตัวให้ตอบสนองกับผู้บริโภคด้วยแคมเปญที่ตรงเป้าหมายเร็วมากขึ้น
  • การเข้าซื้อกิจการที่ท้าทาย แม้ Disney จะมีการเข้าซื้อกิจการเพื่อกระตุ้นการเติบโตของแบรนด์ แต่บางครั้งก็เป็นการสร้างภาระให้กับแบรนด์ด้วยการมีความท้าทายทางการเงินในระยะยาว อย่างการซื้อ 21st Century Fox ที่ตอนแรกดูมีแนวโน้มที่ดี แต่ก็ก็ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผลกำไรของบริษัท

โอกาส – Opportunities (O)

  • การขยายตัวทั่วโลก เพราะแบรนด์ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลกแบบไม่มีใครเทียบได้ ทำให้ Disney กลายเป็นแบรนด์ที่ครองตำแหน่งพิเศษในใจของหลาย ๆ คนในวัยเด็ก และเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับธุรกิจที่มองหาแนวทางการสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ และการร่วมมือกับ Disney ได้ก็สร้างโอกาสในหลาย ๆ ด้านด้วย
  • การเติบโตของสวนสนุกทั่วโลก นอกเหนือจากการเปิดตัวในโตเกียว ฮ่องกง ปารีส และเซี่ยงไฮ้แล้ว Disney ก็มีศักยภาพมากพอที่จะใช้ประโยชน์จากตลาดเกิดใหม่ในแต่ละประเทศให้มีสวนสนุกของตัวเองอยู่ด้วย ซึ่งการสร้างสวนสนุกแห่งใหม่ จะช่วยขยายกิจการการเข้าถึงเศรษฐกิจชนชั้นกลางที่กำลังเติบโต และสร้างรายได้เพิ่มในเวลาเดียวกัน
  • การขยายบริการ Disney+ ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และสร้างรายได้มหาศาล เพราะขยายเข้าสู่ตลาดที่พัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนบริการสตรีมมิงให้กลายเป็นผู้ให้บริการที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

ความเสี่ยง – Threats (T)

  • การละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากความต้องการของผู้คนที่ต้องการเลือกรับชมคอนเทนต์ที่สนใจเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงในอนาคตที่ส่งผลต่อกำไรของ Disney หากปัญหานี้รุนแรงขึ้น และผู้คนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ก็สามารถหารายได้ได้จากส่วนนี้ด้วย
  • กฎระเบียบเข้มงวด หลังกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ เสนอถึงการเปลี่ยนแปลงระหว่าง Landscape ระหว่างสตูดิโอของฮอลลีวู้ด และโรงภาพยนตร์ ที่มีแนวโน้มสามารถทำลายข้อได้เปรียบของบริษัทผลิตภาพยนตร์รายใหญ่อย่าง Disney
  • ค่าใช้จ่ายสูง เพราะ Disney มีการลงทุนอย่างหนักในเรื่องกำลังคน และการพัฒนาพนักงาน การฝึกอบรมจึงเป็นจุดเด่นของบริษัท และเมื่อเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามความสามารถของพนักงาน กำไรของ Disney ก็อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน

ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ SWOT ของ Disney

  1. เพิ่มเสถียรภาพทางการเงิน: การยึดถือกระแสเงินสดที่มั่นคงของ Disney และให้ความสำคัญกับเสถียรภาพทางการเงินเป็นอันดับแรก จะช่วยให้กระจายการลงทุน และรับมือกับเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้
  2. ปลูกฝังคุณค่าของแบรนด์: เพราะ Disney ให้คุณค่ากับแบรนด์ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวเองจนเป็นที่จดจำ การลงทุนเพื่อสร้างแบรนด์ ก็จะช่วยส่งเสริมความไว้วางใจ และส่งผลให้มีการยอมรับในกลุ่มเป้าหมายต่อไป เพียงแค่ต้องสร้าง Brand Storytelling ให้สอดคล้อง และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้
  3. เปิดรับนวัตกรรม: ความท้าทายของ Disney ในด้านนวัตกรรมผลิตจะช่วยให้ตอบสนองต่อแนวโน้มของตลาด  อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมภายในองค์กร และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายไปด้วย

McDonald’s

แผนภูมิตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ของแมคโดนัลด์

จุดแข็ง – Strengths (S)

mcdonald logos

  • การสร้างมูลค่าแบรนด์ด้วยโลโก้ เพราะ McDonald’s ถือเป็นแบรนด์ที่มีโลโก้โดดเด่น ทำให้เป็นที่จดจำง่ายเวลามีแคมเปญทางการตลาด และปรับโลโก้ให้เข้ากับแต่ละแคมเปญได้อย่างยืดหยุ่น จนกลายเป็น Top of Mind ของคนทั่วโลก
  • ความสามารถทางเทคโนโลยี McDonald’s ยังคงเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ตั้งแต่ตู้แบบ Self-service และการสั่งอาหารแบบ Drive-thru ซึ่งเป็นการมอบโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมายเสมอ
  • การมีสาขาทั่วโลก McDonald’s นับเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าไปประเทศไหนก็เจอเกือบหมด ด้วยความแพร่หลายกว่า 120 ประเทศ และสาขากว่า 41,800 แห่งทั่วโลกในปี 2024 เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในการเข้าถึง และเจาะตลาดได้อย่างไม่มีใครเทียบได้

จุดอ่อน – Weakness (W)

สารคดี Supersize Me แสดงถึงภัยคุกคามต่อแมคโดนัลด์
สารคดี ‘Supersize Me’ ที่แสดงถึงภัยคุกคามต่อ McDonald’s
  • ความพึงพอใจเรื่องค่าจ้างของพนักงาน ความไม่พอใจของพนักงานแฟรนไชส์แบรนด์เกี่ยวกับค่าจ้างกำลังเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีพนักงานหลายคนรู้สึกว่าชั่วโมงการทำงานไม่ได้รับค่าชดเชยอย่างเหมาะสม เพราะเป็นแฟรนไชส์ที่ดำเนินการอย่างอิสระ จึงมีความเหลื่อมล้ำด้านค่าจ้างในแต่ละสาขา ซึ่งทางแบรนด์ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดการปัญหานี้ในทุกสาขาภายในปี 2024
  • ความกังวลเรื่องอาหาร และสุขภาพ แม้ว่า MacDonald’s จะได้รับความนิยมแพร่หลาย เพราะเป็นอาหาร Fast Food ที่เน้นความสะดวก แต่ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะมีแคลอรีสูงเกินไปและขาดคุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็น ส่งผลในการเกิดโรคอ้วนโดยเฉพาะในเด็ก และวัยรุ่น
  • รูปแบบธุรกิจ แฟรนไชส์ McDonald’s มีการขยายไปทั่วโลก แต่การรักษาความสม่ำเสมอในทุกแฟรนไชส์เป็นเรื่องยาก ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้าที่แตกต่างกัน แม้จะอยู่ในสาขาประเทศเดียวกันก็ตาม

โอกาส – Opportunities (O)

การแสดงเกมออลอเมริกันของแมคโดนัลด์ การสนับสนุนด้านกีฬาของแมคโดนัลด์

  • การขยายธุรกิจ ปัจจุบัน McDonald’s มีสาขาครอบคลุมมากกว่า 120 ประเทศ และมีเป้าหมายที่จะขยายสาขาไปทั่วโลก และทุกมุมโลกด้วย
  • วิวัฒนาการของเมนู McDonald’s เป็นแฟรนไชส์ที่มีการขยายเมนู และรายการต่าง ๆ ออกไปตามประเทศ เพื่อเป็นเทรนด์ทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เมนูออร์แกนิก เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ใส่ใจทางเลือกสุขภาพ
  • การให้สนับสนุนด้านกีฬา McDonald’s เป็นแบรนด์ที่ยึดมั่นในแนวทางที่สอดคล้องกับความตื่นเต้นและความหลงใหลของแฟนกีฬามาตลอด เพราะให้การสนับสนุนด้านกีฬา เพื่อขยายการมองเห็นแบรนด์ในระดับโลก

ความเสี่ยง – Threats (T)

แผนภูมิส่วนแบ่งการตลาดของแมคโดนัลด์

  • ความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้การปรับตัวถือเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่รอดของธุรกิจ ด้วยแนวโน้มของผู้คนที่ใส่ใจอาหารที่สะอาด และเพื่อสุขภาพมากขึ้น ฝั่งแบรนด์ Fast Food ก็ต้องเจอกับความท้าทายของเทรนด์อาหารการกินที่เปลี่ยนไป เพราะผู้คนเลือกอาหารสะอาดที่ราคาแพงมากกว่าอาหารจานด่วนที่ราคาถูก และอาจจะต้องประสบปัญหาใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
  • การแข่งขันที่ดุเดือด แม้ McDonald’s จะครองอุตสาหกรรมอาหารจานด่วน  แต่อุตสาหกรรมนี้กลับไม่มีคู่แข่งที่แข็งแรง เว้นแต่คู่แข่งโดยตรงอย่าง Burger King และ Wendy’s ต่างก็แข่งขันกันอย่างไม่ลดละ ส่วนคู่แข่งทางอ้อมอย่าง KFC และ Chipotle ก็สร้างความท้าทายให้เพิ่มในฝั่งรสนิยมอาหารที่หลากหลายไม่แพ้กัน
  • สภาพเศรษฐกิจไม่มั่นคง จากเศรษฐกิจโดยรวมที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการใช้จ่ายตามดุลพินิจในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้บริโภคอยากประหยัด และลดการรับประทานอาหารนอกบ้าน

ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ SWOT ของ McDonald’s

  1. ลงทุนในนวัตกรรม และเทคโนโลยี McDonald’s ถือว่าอยู่แถวหน้าของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วยการใช้นวัตกรรมเพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการใช้บริการ
  2. ตอบสนองความพึงพอใจของพนักงาน แม้จะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ฝั่งพนักงาน แต่ฝั่งแบรนด์ก็ยอมรับ และแก้ไขความไม่พอใจในหมู่พนักงาน เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจ และรักษาพนักงานไว้
  3. ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพราะความต้องการของลูกค้าย่อมเปลี่ยนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ทุกรายการเมนู โปรดัก และโปรโมชันต้องเปลี่ยนตามเสมอ

Google

แผนภูมิตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ของ Google

จุดแข็ง – Strengths (S)

แผนภูมิส่วนแบ่งการตลาดของ Google

  • ตำแหน่งผู้นำตลาด Search Engine ที่ไม่มีใครเทียบได้ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกประมาณ 91%และยังมีส่วนแบ่งในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ยุโรป เพราะมีการดึงดูดผู้โฆษณาจำนวนมาก และปรับปรุงอัลกอริทึมในการค้นหา เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้อยู่เสมอ
  • ฐานผู้ใช้จำนวนมหาศาล จุดแข็งของ Google อยู่ที่ฐานผู้ใช้จำนวนมหาศาล ส่งผลให้มีข้อมูลที่วิเคราะห์เกี่ยวกับผู้คน และแนวโน้มใหม่ ๆ ทางการตลาดด้วย
  • การพัฒนาโปรดัก Google มีชื่อเสียงในด้าน ‘Culture of product development’ ที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนการทดลอง และแสวงหาแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งการมุ่งไปที่ความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม ทำให้ Google แตกต่างจากคู่แข่ง และผลักดันให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

จุดอ่อน – Weakness (W)

แผนภูมิรายรับของ Google

  • ความเสี่ยงต่อรายรับ เพราะ Google ต้องพึ่งพารายได้จากโฆษณา และคิดเป็น 80% ของรายได้ทั้งหมดในบริษัท แต่การพึ่งพานี้ทำให้บริษัทเผชิญกับความเสี่ยง เพราะมีการแข่งขันเพื่อรายได้จากโฆษณาที่เข้มข้นข้นขึ้น ประกอบกับการเข้ามาของผู้เล่นในตลาดรายใหม่ด้วย
  • ต่อต้านนโยบายความเป็นส่วนตัว แม้ Google จะมีบริการที่หลากหลายซึ่งต้องอาศัยการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ แต่ก็ยังเจอกับการไม่อนุญาตให้ติดตามข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีตัวเลือกให้ปฏิเสธจากอุปกรณ์ของผู้ใช้โดยตรง เพราะผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น เพราะในโลกอินเทอร์เน็ตสามารถเจอสแปม หรือภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ง่าย
  • ข้อจำกัดของระบบ Android แม้ว่าระบบปฏิบัติการ Android จะสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้ แต่ แต่ Google ก็ต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้แพลตฟอร์มนี้ รวมถึงเผชิญกับความท้าทายในการถอนการติดตั้งแอปพลิเคชันที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้า ทำให้เพิ่มประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ยากขึ้น

โอกาส – Opportunities (O)

google cloud computing capabilities

  • Cloud computing แม้ว่า Google จะตามหลังยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอย่าง Amazon Web Services (AWS) และ Microsoft Azure อยู่ แต่ Cloud computing ก็ยังงเป็นโอกาสในการเติบโตที่สำคัญ เพราะธุรกิจต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้มากขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 100 พันล้านดอลลาร์ และ Google ก็พร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากตลาดที่กำลังขยายตัวด้วย
  • การลงทุนตลาด VR โดย Google คาดว่าจำนวนผู้ใช้จะพุ่งสูงถึง 2.5 พันล้านคนภายในปี 2027 ซึ่งมีเวลามากพอที่บริษัทจะปรับปรุงข้อเสนอเรื่อง VR ให้แข็งแรงขึ้น
  • การปฏิวัติ AI ในยุค AI-driven ที่ดึงความสนใจจากผู้คนทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี 2022 ก็เป็นอีกโอกาสที่ Google จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในพาร์ตนี้ เพื่อทำให้ Machine Learning ของบริษัทสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ได้

ความเสี่ยง – Threats (T)

google privacy controls

  • คู่แข่งหน้าใหม่ในตลาด การเติบโตของตลาด ChatGPT ส่งผลให้มูลค่าตลาดของ Google ลดลงอย่างมาก ไปจนถึงการโฆษณาออนไลน์ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Instagram, Facebook, TikTok และ Amazon ทำให้ผู้ลงโฆษณามีตัวเลือกมากขึ้น และการแข่งขันในตลาดนี้ดุเดือดขึ้นเช่นกัน
  • ข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว Google ต้องเผชิญกับคดีความมากมายเรื่องการเรียกร้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา และส่งผลต่อนโยบายความเป็นส่วนตัวที่อาจกระทบความไว้วางใจของผู้ใช้ และชื่อเสียงของแบรนด์
  • การแข่งขันที่เข้มข้นภายใน Alphabet Inc. ในฐานะกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก Alphabet Inc. Google ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในภาคส่วนต่าง ๆ หรือคู่แข่งอย่าง Bing และ DuckDuckGo ไปจนถึงการค้นหาบนแพลตฟอร์มอย่าง TikTok และ Instagram ทำให้ Google ต้องหาแนวทางใหม่ ๆ มานำเสนออย่างต่อเนื่อง

ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ SWOT ของ Google

  1. ใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำตลาด:ในฐานะเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าใครก็สามารถเลียนแบบความสำเร็จของ Google ได้ ด้วยการเน้นไปที่ความคิด และความเป็นผู้นำด้านโปรดักในอุตสาหกรรมของตัวเอง
  2. กระจายแหล่งรายได้: การพึ่งพาแหล่งรายได้เพียงแหล่งเดียวมากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงต่อการเสียกำไรได้ การกระจายแหล่งรายได้จึงเข้ามาช่วยลดความเสี่ยง
  3. เปิดรับเทคโนโลยีใหม่: จากการคอยติดตามเทรนด์เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมของตัวเองอยู่เสมอ และลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เมื่อจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของบริษัท หรือพฤติกรรมของผู้บริโภค

โดยสรุปจาก Case Study ทั้ง 3 แบรนด์ดัง จะเห็นได้ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแบรนด์ได้ เพียงแค่รู้จักแบรนด์ของตัวเองให้มากพอ และวิเคราะห์ SWOT Analysis ให้ชัดเจน ถึงจะช่วยเริ่มต้นกลยุทธ์ทางการตลาดให้อยู่รอดแบบยั่งยืนได้ โดยตามทันเทรนด์ และไม่ตกยุคนั่นเอง

ที่มา: https://www.wordstream.com/blog/swot-analysis-examples

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save