Social
ทุกวันนี้กลายเป็นว่าการทำ Social Media กลายเป็นทักษะของทุกคน จากเดิมที่การสื่อสารจะมีผู้พูดและผู้ฟัง แต่บน Social Media เราจะต้องเจอกับความซับซ้อน อัลกอริทึมต่าง ๆ ที่ทำให้เราที่แม้ว่าจะเป็นนักสื่อสารที่เก่งอยู่แล้วพลาดได้เหมือนกัน
คดีเสือดำ หรือบ้านพักตุลาการ เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงหนึ่ง ถ้าเป็นสมัยก่อน เราอาจจะเห็นเรื่องพวกนี้ในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เพียงไม่นานก็อาจจะถูกสั่งให้เก็บออกจากแผง หรือมาจากคอลัมน์สายการเมืองของนักวิชาการคนใดคนหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเราไม่รู้ต้นตอว่าใครเป็นคนเริ่มต้นกรณีเสือดำขึ้นมา หรือใครเป็นคนแรกที่พยายามตีแผ่เรื่องบ้านพักตุลาการ เรารู้เรื่องราวพวกนี้ผ่านการกระจายศูนย์กลาง ดังนั้นเราไม่แปลกใจที่ เราจะไม่สนใจว่าใครเป็นคนแรกที่พูดถึงมัน แต่เราสนแค่ว่า Message เหล่านั้นมีขนาดใหญ่แค่ไหนและจะส่งผลต่อการเมืองการปกครอง รวมถึงการตั้งคำถามย้อนไปแก่ผู้มีอำนาจอย่างไร
ในปี 2012 หลายคนที่ติดตามข่าวต่างประเทศคงจะเคยได้ยินคำว่า Arab Spring ซึ่งหมายถึงปรากฏการณ์การลุกฮือขึ้นของประชาชนเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในประเทศฝั่งตะวันออกกลาง เริ่มต้นจากอียิปที่สามารถทำให้ประธานาธิบปีมุบาร็อกต้องออกจากอำนาจไปได้ กระแสเหล่านี้ลามไปยังประเทศรอบข้าง Google ถึงกับบันทึกปรากฏการณ์นี้ไว้ใน เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในปี 2012
ทุกวันนี้เชื่อว่าหลายคนคงดูจะโปรกับการทำเพจบน Facebook, การเขียน Blog และการเล่น Twitter แต่ยังมีอีกหนึ่งดินแดนที่น้อยคนมากที่จะรู้จักและโปรกับมัน และคนที่โปรก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่ใช่กลุ่มของผู้ทำคอนเทนต์เท่าไหร่ ดินแดนนั้นคือ Instagram หลังจากที่เปิดตัวมา 2010 เพียงแค่ 3 ปีหลังจากที่ Apple มาเขย่าโลกด้วยการเปิดตัว iPhone หลังจากนั้น 2 ปี Instagram ก็ถูกซื้อโดย Facebook
สำหรับช่วงนี้จะสังเกตว่า ทีมงาน RAiNMAKER นำเรื่องราวของการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) มานำเสนอเยอะเป็นพิเศษ เนื่องจากใกล้จะเป็นช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งนับว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวตอของอนาคตของประเทศเลยก็ว่าได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ชวนเปิดประเด็นเรื่อง ทำไมเราถึงควรตระหนักเรื่องการหาเสียงบนโซเชียล และทำความรู้จักกับ Echo Chamber เสียงก้องแห่งโลกโซเชียล ไปแล้ว ซึ่งปัจจัยในเรื่อง Echo Chamber นั้นนับว่าสามารถควบคุมได้ด้วยตัวเรา แต่จะมีอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เกิดจากอัลกอริทึม แต่เกิดจาก ผู้ไม่ไม่หวังดี สิ่งนั้นคือข่าวปลอม หรือ Fake News
เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ผู้เขียนเห็นอาจารย์ฟิสิกส์ท่านนึงโพสต์ลงใน Facebook ส่วนตัวของเขาว่า “พอได้เข้า YouTube ที่ไม่ใช่บัญชีตัวเอง เหมือนอยู่อีกโลก ได้เห็นอะไรก็ไม่รู้” เข้าใจได้ทันทีว่าอาจารย์ท่านนั้นคงได้เห็นกับ คลิปแปลก ๆ สิ่งที่อาจจะถูกมองว่าไร้สาระ และโคตรไม่คู่ควรกะการที่ตาเราจะต้องมองเห็นมัน
แน่นอนว่าในการทำคอนเทนต์นั้น ผู้ติดตามเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เพราะนั่นหมายความว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่พร้อมจะรับข่าวสารจากเรา และอยากเห็นเรื่องราวจากเรา ไม่ว่าช่องทางนั้นของเราจะมีผู้ติดตามแค่หลักร้อยหรือหลักแสนหลักล้านก็ตาม แม้ว่าการจะได้ใครซักคนมาติดตามอาจจะยากแล้ว แต่การรักษาให้คนเหล่านั้นยังคงพอใจกับสิ่งที่เขาเห็นและเห็นดีเห็นงามที่จะติดตามเราต่อนั้นยากกว่า
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า