สรุป 4 เทรนด์ของกลุ่มครีเอเตอร์ไทย! ที่ขับเคลื่อนวงการสื่อ และคอนเทนต์ จากผลการศึกษา “Thai Creator Culture” ของ เดวิด เครค x AIS

AIS ได้ร่วมงานกับพาร์ตเนอร์ระดับโลกอย่าง Professor David Craig (เดวิด เครค) นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดงานเสวนา ‘Global Creator Culture Summit’ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และเผยถึงโอกาสของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไทยที่สามารถต่อยอดสู่ระดับโลก ทั้ง บนแพลตฟอร์มและ Digital Infrastructure ได้

ซึ่งเวทีในงานนั้นเสมือนกับเวทีที่ได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองจากสุดยอดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไทย และได้เข้าใจ Ecosystem ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสื่อและคอนเทนต์ของประเทศมากขึ้น

โดยเดวิด เครคได้ศึกษาตลาด และ Creator Culture ของไทยผ่านการร่วมกับ AIS รวมถึง RAiNMaker ก็ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งที่ได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในปัจจุบันให้สามารถเก็บข้อมูล ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กับเดวิด เครคมาเล่าสู่กันฟังบนเวทีนี้ด้วย

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส ก็มองว่าครีเอเตอร์ไยยุคนี้กลายเป็นสื่อหลักที่ผู้บริโภคเลือกเปิดเป็นอันดับต้น ๆ และหน้าที่ของ AIS ก็คือการพัฒนา Digital Infrastructure ที่มอบประสบการณ์ทั้งด้านดิจิทัล และเทคโนโลยีด้วยเครื่องมือ และเพิ่มทักษะให้สร้างผลงานที่สร้างสรรค์ในสังคมได้

และแน่นอนว่าการสัมภาษณ์ และพูดคุยกับเหล่าครีเอเตอร์ชั้นนำของไทยหลากหลายวงการ ก็ทำให้รายงานนี้ของเดวิด เครคได้เห็นภาพมากขึ้นว่ามีครีเอเตอร์กลุ่มไหนบ้างที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมในยุคที่ใคร ๆ ก็เป็นครีเอเตอร์ได้

Commerce Creators หรือ ครีเอเตอร์นักขาย

กลุ่มครีเอเตอร์ที่มีการโปรโมตสินค้า รีวิว และขายของให้เข้ากับคอนเทนต์ที่แต่ละคนมี โดยใช้อิทธิพลของตัวเองในการกระตุ้นยอดขายให้ผู้คนอยากซื้อ และสร้างรายได้ผ่านการตลาดอย่างเป็นมิตร เช่น การขายตรงแบบใช้ KOLs หรือการไลฟ์สด

ฉะนั้น “Shoppertainment” หรือครีเอเตอร์นักขาย จึงเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนแพลตฟอร์มสตรีมมิงของจีนเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง TikTok Store, Lazada หรือ Shopee

โดยข้อมูลเพิ่มเติมจากเหล่าครีเอเตอร์ที่ให้สัมภาษณ์อย่าง นายวุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน จากช่องอาตี๋รีวิว ก็มองว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มหลัก และมีขยายไป Lazada และ Shopee หรือ Social Commerce เพิ่มเติม เพราะ TikTok ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ และมีข้อจำกัดเรื่องเวลา แต่ทำให้คนดูมีอารมณ์ร่วมได้

ส่วนทาง นายภัคนิพัทธ์ สุดงาม จาก @NUTTOPAK ก็มองว่าการที่เริ่มมีชื่อเสียงก็ทำให้เป็นที่สนใจของแบรนด์ และมีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์มากขึ้น ซึ่งการได้พาเพื่อน ๆ อินฟลูเอนเซอร์มารู้จักกับแบรนด์ก็ช่วยโปรโมตสินค้าไปในตัวได้

นายกฤษณ์ บุญญะรัง หรือ BieTheSka ก็มีความเห็นว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่รวมโปรโมชันพิเศษ และสื่อไว้ เพื่อให้เราโปรโมต และขายสินค้าในพื้นที่ของครีเอเตอร์ได้

Socio-Cultural Creators หรือ ครีเอเตอร์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

คอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่สร้างคอนเทนต์สะท้อนถึงปัญหาสังคม และวัฒนธรรม เลยเน้นไปที่การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชม เพื่ออธิบายค่านิยม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างที่นายอติชาญ เชิงชวโน หรืออู๋ Spin9 มองว่าครีเอเตอร์ในไทยมีทั้ง ‘ครีเอเตอร์สายบันเทิง’ และ ‘ครีเอเตอร์สายข้อมูล’

นายอรรถพล ทะแพงพันธ์ หรือต้อม iMod ก็ให้ความคิดเห็นว่า หากอยากเป็นครีเอเตอร์ที่สร้างการมีส่วนร่วม และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม และสังคม ก็ต้องลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างคอนเทนต์ด้วย อย่างการซื้อจริง และรีวิวจริงก็จะได้รับความไว้วางใจจากผู้ชมมากกว่า

ด้านนายวัชรพล ฝึกใจดี หรือแจ็ค The Ghost Radio ก็เสริมว่าครีเอเตอร์ที่ทำเรื่องความเชื่อเป็นหลักก็มีแนวทางที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะการฟังเรื่องผีไม่ได้มีความบันเทิง แต่ยังได้เรียนรู้ในแง่ของบทเรียนชีวิตด้วย เช่น ศีลธรรม กรรม และธรรมชาติของมนุษย์ ที่เป็นเรื่องเล่าแบบมีคุณค่าในตัวเอง และส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ให้ตัวเองอยู่ในศีลธรรม และมีคุณค่าที่ดีในสังคมได้

Multicultural and Diversity Creators หรือ ครีเอเตอร์ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทางเพศ 

ครีเอเตอร์ที่เน้นย้ำถึงประเด็นเชื้อชาติ รวมถึงเรื่องเพศ และด้านอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม เช่น ครีเอเตอร์กลุ่ม Queer หรือผู้สร้างสรรค์ที่นำเสนอเรื่องราวท้องถิ่นหรือความเชื่อทางศาสนา อย่างนายธรรมชาติ โยธาจุล จากช่อง Thammachad ที่มองว่าตัวเองเป็นช่องสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแสดงความเป็นตัวของตัวเองอย่างเป็นอิสระ และเข้าใจความหลากหลายของวัฒนธรรม

จรีรัตน์ เพชรโสม เจ้าของช่อง baitong__j ก็เสริมว่าการทำคอนเทนต์ของสามารถตกกลุ่มแฟน ๆ ชาว LGBTQIA+ ได้ ทำให้เชื่อมโยงไปถึงการแพร่ความหลากหลายทางเชื้อชาติในต่างประเทศด้วย

Nomad Creators ครีเอเตอร์สายท่องเที่ยว  

ครีเอเตอร์สายเดินทาง และท่องเที่ยวทั่วโลก พร้อมผลิคอนเทนต์จากประสบการณ์การท่องเที่ยว และวัฒนธรรมที่พบเจอ อย่าง “ครีเอเตอร์จากชนบท” ก็ส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นและผลักดันผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นไปสู่ระดับประเทศและต่างประเทศด้วย

ซึ่งนี่อาจเป็นอีกตลาดหนึ่งที่สามารถเติบโตต่อไปได้มากขึ้นในระดับสากล และนำไปสู่รายได้ของวัฒนธรรมครีเอเตอร์ อย่างนางสาวลักขณา เหียง (มะปราง) จากเพจ PANGDANGNAIHandicraftChiangdao ที่นำเสนอคอนเทนต์ท้องถิ่นจากชีวิตประจำวันของตัวเอง ก็ได้รับการสำรวจในการร่วมลงทุนในอนาคตตามมา

ลี-อายุ จือปา เจ้าของ Akha Ama Coffee ผลิตภัณฑ์กาแฟชื่อดังที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์คอนเทนต์ก็มองว่า โซเชียลมีเดียสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ หรือโปรโมติวิถีชีวิตกับคนรักกาแฟ และผู้สนับสนุนทั่วโลกได้

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save