The Future of Content 2022: โลกอนาคตของคอนเทนต์ที่น่าจับตามอง

ในโลกของคอนเทนต์ปี 2022 นับว่าเป็นปีที่มีเรื่องของประสบการณ์ และภาพ (Visual) เข้ามาเกี่ยวข้องที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากการบอกเล่าด้วยตัวหนังสือผ่านโซเชียลคงไม่มากพอ เพราะคนเริ่มไม่มีเวลามากนักในการเสพคอนเทนต์ แต่แนวทางการผลิตคอนเทนต์ต่อไปจะเป็นอย่างไร? มาหาคำตอบพร้อมกันกับ RAiNMaker เลย!

กาลเวลาที่ผ่านไปเป็นปี และเทคโนโลยีที่ค่อย ๆ พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน โลกของคอนเทนต์ก็เปลี่ยนตามไปด้วย และในขณะที่การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้น ก็อาจมีหลายคนเจอวิธีการสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ ๆ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตามเทรนด์ได้มากขึ้นด้วย

และในวันนี้ทาง RAiNMaker ก็มีแนวทางการสร้างคอนเทนต์จากแนวโน้มในอนาคตมาให้ แม้โลกของ AR (Augmented reality) และ VR (Virtual reality) อาจจะฟังดูห่างไกลเราไปหน่อย แต่เราเชื่อว่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube, TikTok และ Twitter จะมีเครื่องมือคอยเอื้ออำนวยให้เหล่าครีเอเตอร์ต่าง ๆ สามารถสร้างคอนเทนต์ตามเทรนด์ของโลกได้ง่ายขึ้น แต่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง? ตามไปดูกันเลย!

Interactive Content 

สร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจพร้อมโฟกัสแบรนด์

Interactive Content หรือคอนเทนต์ที่สามารถให้กลุ่มเป้าหมายของเรามีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ได้ รวมถึงแบรนด์หรือนักการตลาดก็สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของพวกเขามาวิเคาะห์ เพื่อนำมาพัฒนาและสรรสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลับไปได้เรื่อย ๆ นั่นเอง

ซึ่งสิ่งสำคัญในการทำคอนเทนต์ประเภทนี้ คือการทำให้คอนเทนต์สร้างยอดเอ็นเกจเมนต์จากกลุ่มเป้าหมายจากการปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการคลิก การแสดงรีแอ็กชัน การแชร์ ไปจนถึงการบอกต่อ ๆ หันไปในโลกโซเชียลให้กลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ เกิดความสนใจและอยากมีส่วนร่วม

How to: 

การสร้างหน้าเพจหรือหน้าเว็บให้น่าสนใจ โดยมีความคิดเพียงแค่ทำอย่างไรก็ได้ให้กลุ่มเป้าหมายของเราสามารถอยู่กับหน้าเพจ หรือหน้าคอนเทนต์ให้ได้นานที่สุด แบบที่ออกจากแอปไม่ได้เลย หรืออาจจะสร้าง CTA (Call-to-action) ให้ไปสู่หน้า Landing Page ตามที่ต้องการได้

ซึ่งอาจจะเริ่มจากการวิเคาะห์พฤติกรรมการใช้งาน หรือความสนใจของกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ให้พวกเขามีประสบการณ์ที่ดี และเจอที่ ๆ ใช่สำหรับตัวเอง

Video Content 

สร้างคอนเทนต์เน้นวิดีโอ

ในยุคของวิดีโอคอนเทนต์อย่าง Short-Form ที่มาแรงนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุก ๆ แบรนด์หรือแม้แต่แพลตฟอร์มเองก็แข่งขันกันด้านคอนเทนต์ และเครื่องมือที่ช่วยให้ครีเอเตอร์สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างดุเดือดมาก

เพราะเป็นประเภทคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ยุคไถเร็วไปเร็วได้มากที่สุด ฉะนั้นการดึงความสนใจไว้ตั้งแต่ 3-7 วินาทีแรกได้ รวมถึงสามารถทำให้กลับมาหน้าโปรไฟล์เพื่อดูคลิปอื่น ๆ ของเราได้อีก ก็นับว่าประสบความสำเร็จแล้ว เพราะการสร้างความประทับใจแรกนั้นสำคัญมากในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในฟอร์มแมตนี้

How to: 

ไม่ว่าจะเป็นการดึงดูดความสนใจแบบไหนในคอนเทนต์ภายในเวบา 3-7 วินาทีแรก ทั้งการใช้เอฟเฟกต์ เสียงเพลง หรือการบรรยายจากเสียง ก็อย่าลืมที่จะใส่ CTA (Call-to-action) ลงไปในนั้นด้วย เพื่อเป็นช่องทางเชื่อมโยงไปยังแบรนด์ของเราให้เป็นที่น่าจดจำได้มากขึ้น

AI Content 

สร้างคอนเทนต์ที่มีเอไอเป็นตัวช่วย

เพราะโลกโซเชียลของเรากว้างขึ้น ข้อมูลที่เก็บมาก็มีขนาดใหญ่ไปด้วย การวิเคราะห์โดยใช้เพียงแค่คนคัดกรองคงไม่พอ การมีเอไอ (AI) ที่เป็นเครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นเลยจะทำให้มีความแม่นยำ และนำไปสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

เพราะเอไอสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมงในทุก ๆ วัน และทำงานเป็นวินาทีได้อึดกว่ามนุษย์ รวมถึงมีความเสี่ยงน้อยที่ข้อมูลจะผิดพลาด แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลเหล่านั้นก็ต้องการการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา รวมไปถึงขาดการวิเคราะห์ในเชิงสร้างสรรค์ และคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ด้วย

เพราะเครื่องมือก็เปรียบเสมือนกับการทำงานอย่างหุ่นยนต์ที่คิด วิเคราะห์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เหมาะใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดในเชิงทฤษฎี แต่ความสร้างสรรค์ที่ผนวกเข้ากับความเข้าใจ ความเอาใจใส่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องต่อยอดต่อไป ยังคงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ต้องรับช่วงต่อ

How to: 

เครื่องมือที่มี AI ในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Persona ของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการตรวจสอบต่าง ๆ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดได้ โดยเฉพาะกับ Machine Learning ที่กลายมาเป็นระบบอัลกอริทึมยอดฮิต สกรีนความชอบและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และเสิร์ฟสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ตรงจุด เช่น Spotify หรือ TikTok ที่มักจะสุ่มเพลงหรือคลิปตามที่เราเคยกดถูกใจ หรือฟังบ่อย ๆ ขึ้นมาให้ในลักษณะใกล้เคียงกันนั่นเอง

Audio Content 

สร้างคอนเทนต์ผ่านเสียง

ในขณะที่คอนเทนต์ที่เต็มไปด้วยตัวอักษรและวิดีโอได้ครองโลกของคอนเทนต์ไปแล้ว คอนเทนต์ที่ใช้เสียงเล่าเรื่องในตอนนี้ก็กำลังเติบโตขึ้นไม่แพ้กัน นับตั้งแต่ Clubhouse ได้เริ่มขึ้น ก็เหมือนกับจุดประกายให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ อยากหันมาลงสนามคอนเทนต์เสียงบ้าง ซึ่งตอนนี้ Spaces ของ Twitter เองก็ได้รับความนิยมพอ ๆ กับพอดแคส์ใน Spotify เลยทีเดียว

เรียกได้ว่าคอนเทนต์เสียงตอนนี้ได้กลายเป็นคอมมูนิตี้ของครีเอเตอร์สายพูดคุยผ่านเสียงไปแล้วก็ว่าได้ ทำให้คาดการณ์ว่ามันจะมีแนวโน้มกลายมาเป็นประเภทคอนเทนต์หนึ่งที่สร้างโอกาสดี ๆ ให้กับเหล่าครีเอเตอร์มากขึ้นในอนาคต

How to: 

การจะเป็นครีเอเตอร์ที่สร้างคอนเทนต์ผ่านเสียง อาจจะฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่ความจริงแล้วกลับต้องแสดงความเป็นตัวเองของเจ้าของช่องหรือแบรนด์มากกว่าที่คิด เพราะคอนเทนต์นี้ไม่มีภาพประกอบ และมีแค่เสียงที่คอยดำเนินเรื่องราวให้กลุ่มเป้าหมายได้ฟังเท่านั้น

ฉะนั้นเรื่องที่หยิบยกมาเล่าหรือพูดคุยต้องมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ และทำให้ผู้คนอยากติดตามแต่ละอีพีต่อ ๆ ไปด้วย แต่ถ้าใครที่เริ่มต้นไม่ถูก เราแนะนำว่าให้ลองมองมุมกลับ และปรับมุมมองดูว่า หากคุณเป็นกลุ่มเป้าหมายช่องตัว จะอยากฟังอะไรมากที่สุด?

AR Content 

สร้างคอนเทนต์ให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วม

AR (Augmented reality) หรือเทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างโลกความจริงเข้ากับโลกเสมือนที่ถูกสร้างขึ้น อาจฟังดูเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงยาก และยังมีให้เข้าถึงไม่มากนักในประเทศไทยด้วย แต่แพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ ในตอนนี้ต่างก็กำลังพัฒนาฟังก์ชันและฟีเจอร์มากมาย เพื่อคอยซัพพอร์ตเหล่าครีเอเตอร์โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนสูงเพื่อเข้าสู่โลก AR เองเลย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความจริงแล้ว ทุกคนที่มีสมาร์ตโฟน สามารถเข้าถึง AR ในชีวิตประจำวันได้ง่ายกว่าที่คิด และเทคโนโลยีนี้ก็จะค่อย ๆ แทรกซึมมาหาเราเองด้วย ซึ่งแนวโน้มในอนาคตมูลค่าของกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ AR จะเติบโตขึ้น และมีความนิยมขึ้นอย่างแน่นอน

How to: 

การปรับตัวสำหรับนักการตลาด และแบรนด์ให้ทันเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกปีอาจจะฟังดูเหนื่อย แต่ในสังคมที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวชี้นำเทรนด์ของโลก ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่ต้องเข้าร่วมกับเทรนด์ AR หรือ VR ไปด้วย

ไม่ว่าจะใช้ AR ในส่วนของการเพิ่มประสบการณ์ให้กลุ่มเป้าหมายผ่านหน้าร้านเว็บออนไลน์ หรือการสร้างโลกเสมือนจริงให้กลุ่มเป้าหมายได้ไปเยี่ยมชมก็ตาม การริเริ่มจากศึกษาความต้องการสิ่งใหม่ ๆ จากพวกเขาก่อน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะค่อย ๆ เบลนเทคโนโลยีเข้ากับแบรดน์ได้

Hybrid Content 

สร้างคอนเทนต์ผสม Virtual และ Live

ตั้งแต่โควิดระบาดมา การจัดอีเวนต์หรือคอนเสิร์ตก็กลายเป็นเรื่องถูกห้ามมาอย่างยาวนาน แต่อุตสาหกรรมบันเทิงเหล่านี้ก็หาทางเอาตัวรอดได้ ผ่านการจัดแบบไลฟ์ หรือ Virtual ที่จัดแบบเสมือนจริง และให้ผู้คนรับชมทางออนไลน์ในขณะที่ตัวอยู่บ้านได้

แต่ในตอนนี้สถานการณ์เริ่มผ่อนคลายลงบ้างแล้ว แนวโน้มต่อไปในอนาคตเรามองว่าความเป็นไฮบริดจ์ที่ผสมผสานระหว่างสถานที่จริง และจัดออนไลน์ไปพร้อม ๆ กัน จะทำให้กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสในการรับชมได้มากกว่า แม้จะไม่ได้ไปอยู่ในสถานที่นั้นจริง ๆ ก็ตาม แต่หากแบรนด์สามารถสร้างคุณค่าทางจิตใจมากพอ การรับชมออนไลน์ไปพร้อมกับการจัดงานจริงได้ทั้ง 2 ทางจะไม่ใช่อุปสรรคเลย

How to: 

ไม่ว่าจะเป็นอีเวนต์ หรือคอนเสิร์ต และไลฟ์โชว์ต่าง ๆ สามารถนำการจัดแบบไฮบริดจ์มาประยุกต์ได้หมด เพราะบางครั้งกลุ่มเป้าหมายของเราก็ไม่สามารถเดินทางมายังที่จัดงานได้ทุกคน ถึงจะได้บรรยากาศกันคนละแบบ แต่หากเราเสิรมสร้างบรรยากาศ และประสบการณ์ใหม่ ๆ ในอีเวนต์หรือคอนเสิร์ตนั้น มันก็คุ้มค่าที่จะจองบัตรออนไลน์เช่นกัน

แค่แบรนด์อย่ากลัวที่จะลอง เพราะในอนาคต โลกของความเป็นออนไลน์ ดูได้ทุกที่ทุกเวลา หรือสามารถนำคาแรกเตอร์ของตัวเองไปรับชมได้ มันอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเท่าไรนัก

ที่มา: rockcontent

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save