Event/Conference

Avatar

Thesky September 20, 2024

The Future of Thai-Commerce: โลกการตลาดอีก 5 ปีข้างหน้าที่ไทยจะเปลี่ยน

‘Session: Future of E-Commerce โดย ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (PaySolutions, Creden.co,Gash.ai) ทรี่จะมาแชร์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้าการตลาด และการทำอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตไปในทิศทางไหน หรือชาติไหนจะเข้ามาทำการตลาดที่ไทยเพิ่มขึ้น

E-Commerce ไทยใน 10 ปีที่ผ่านมา

– 2011: จุดเริ่มต้นของโลก E-Commerce ที่ไทยเริ่มพัฒนาระบบ และแพลตฟอร์ม
– 2013: การมาถึงของ Lazada ที่มี Business Model เหมือน Amazon จากอเมริกา และคนไทยเริ่มใช้อินเทอร์เน็ต 20 ล้านคน
– 2015: Shopee เริ่มเข้ามา และไทยมี 4G ครั้งแรก ทำให้ทำธุรกรรมสะดวกขึ้น
– 2017: คนไทยเข้าถึงสมาร์ตโฟน
– 2018: คนไทยใช้เน็ต 45 ล้านคน
– 2019: บริษัทขนส่งในไทยเยอะขึ้น
– 2020: Covid-19 ทำให้คนหันมาใช้ E-Commerce เยอะขึ้น
– 2021: คนใช้ระบบ promtpay และเข้าถึง TikTok Shop

โลก E-Commerce ไทยในปัจจุบัน และอนาคตง

1. E-Commerce ไทยยังเติบโตต่อเนื่อง
2. ยอดขาย E-Marketplace ไทย รวมมูลค่า
(Shopee, Lazada, TikTok) 835,980 ล้านบาท
3. 2028: ตัวเลขไทยจะแตะ 3.01 ล้านล้านบาท
4. ระบบขนส่งพัฒนาก้าวกระโดด
– Drone & Robots Delivery: การใช้โดรนส่งของ
– Micro-Fulfilment:
แวร์เฮ้าส์ขนาดเล็กที่กระจายตัวอยู่จุดหนาแน่นตามคน เพื่อส่งออเดอร์ได้เร็วขึ้น เช่น สั่งเช้าได้เย็น แต่ในจีนสั่งแล้งได้ภายใน 2 ชั่วโมง
– Crowdsourcing Logistics: ระบบขนส่งพนักงานไม่ประจำ ใช้รถตัวเองในการขนส่งกับสินค้าที่ต้องการทันที
5. ต่างจังหวัดจะกลายเป็น “ตลาดใหญ่” ของ E-Commerce ในยุคต่อไป เช่นแอป Temu ของจีน
6. E-Commerce และ Digital ไทยถูกผูกขาดโดยต่างชาติอย่างสมบูรณ์ เพราะไทยไม่ได้มี E-Commerce Platform ของตัวเอง เกิดการโกงง่ายขึ้น และคนไทยจัดการระหว่างประเทศยากขึ้น
7. เกิดการฮั้วขึ้นราคาพร้อมกันของแพลตฟอร์ม อย่าง lazada, Shopee และ TikTok ขึ้นค่าบริการ +300% ภายใน “ปีครึ่ง” ปัจจุบันเก็บ 4% และขึ้นแบบไม่มีวันหยุด

สรุปความท้าทายของธุรกิจไทย

คนไทยซื้อของ Marketplace มากขึ้นเรื่อย ๆ
– Marketplace แข่งขันดุเดือดขึ้น จากท้องถิ่นสู่ทั้งประเทศ ยิ่งขายยิ่งขาดทุน เพราะเจ้าของแบรนด์ลงมาแข่งเอง
– Marketplace ขึ้นราคาค่าบริการ และปิดข้อมูลลูกค้า (กักลูกค้าไว้เอง)
– สรรพากรรุกเก็บภาษีผ่านแพลตฟอร์ม
– ช่องทางการขายจะเพิ่มมากขึ้น Marketplace 55% และ Social Commerce 22%
– สินค้าจีนรุก ตลาดออนไลน์เต็มสูบ (ไม่เสียภาษี)
– AI ไม่ใช่แค่ Buzz Word แต่เข้ามามีบทบาทในการขายสินค้า และเป็นผู้ช่วยคนมากขึ้น
– ของจากโรงงานผลิตตรงยังผู้บริโภค เช่น Temu ที่เป็น Next Generation Manufactoring
– Cross-Border E-Commerce: การขายสินค้าข้ามประเทศ เช่น โปรแกรม Shopee International Platform (SIP)
– ลูกค้าจะซับซ้อนขึ้น เพราะความต้องการเพิ่มขึ้น ธุรกิจเลยต้องปรับตัวตาม
– รัฐบาลไทยไม่เหลียวแลปัญหานี้

e-Service: การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% สำหรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศ

  • ยอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร
  • จะต้องนำส่ง VAT 7% ของราคาค่าบริการให้กรมสรรพากร
  • -ฃบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
  • บริษัทต่างประเทศที่จดทะเบียนกับกรมสรรพากรกว่า 188 รายดด

Framework การค้ารูปแบบใหม่

  • ทุกอย่างจะเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และจะถูกวนเป็นยุค “Automation” และสิ้นสุดยุค Manual
  • การตลาด (Marketing) > ช่องทางการขาย (Sale Channel) > หลังบ้าน (Back Office): OMS > CDP (Customer Data Platform) และไหลวนกับไปที่การตลาดเพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีก

CDP: การแบ่งกลุ่มลูกค้าแบบ Automation

  • เคยซื้อเมื่อ 60 วันที่แล้ว
  • มีแนวโน้มซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง
  • สั่งซื้อ 1 ครั้งแล้วหายไป
  • ลูกค้า VIP ซื้อ 5,000.-/ใบเสร็จ

#MITCIN2024 #RAinMaker

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save