Secrets of Thai Skincare Success สูตรปั้นแบรนด์สกินแคร์ไทยชนะใจ Gen Z ฉบับ MizuMi และ INGU
โดย คุณชยธร กิติยาดิศัย และคุณวริษฐา สืบพันธ์วงษ์
จากงาน The Secret Sauce Summit 2024
MizuMi
“Core Value = การหาโอกาสให้แบรนด์”
Framework การสร้างแบรนด์ของ MizuMi
- Passion & Pain point: เริ่มจากความสนใจในเรื่องเครื่องสำอางของตัวเองหา Pain Point ของตัวเองตั้งคำถามว่าทำไมไม่มีสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง
- Research: ทำการเก็บข้อมูลเพื่อตอบสนองต่อ Pain Point ที่เรามี
- Market Opportunity: หาจุดโอกาสของแบรนด์ในตลาด
- Focus Group: เริ่มทำจากกลุ่มเล็ก ๆ ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างเพื่อลดต้นทุนและได้รับความคิดเห็นที่ตรง
- Product Solution: หาวิธีการผลิตจาก Pain Point และข้อมูลที่เก็บมา
- Business Plan: วางแผนธุรกิจเพื่อหา Core ของแบรนด์
- Marketing Concept and GO-TO Market Strategies: สร้างแผนการตลาดที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคตามความต้องการของแบรนด์
3 สิ่งสำคัญพาแบรนด์พิชิต Market Share
- Product: สินค้าต้องมีคุณภาพตามพื้นฐานของวงการสกินแคร์
- Accessibility: หา Channel เพื่อให้สินค้าเข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด
- Marketing: ใช้การสื่อสารเพื่อสร้าง Awareness โดยจุดสำคัญคือการวาง Brand Positioning เพื่อให้สินค้าเข้าถึง Target ของเรา
3 ช่องทางในการช่วยขยายสเกลสินค้า
- Channel: ช่องทางการขายสินค้า
- SKU: รหัสในการจำแนกประเภทสินค้า
- Awareness & Relevancy: การสร้างการรับรู้และความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค
INGU
“Core Value = ความจริงใจ”
จุดเริ่มต้นของ INGU
- Pain Point ของผู้บริโภคที่ได้เรียนรู้จากการเป็นครีเอเตอร์ เช่น สกินแคร์ล้นตลาดจนผู้บริโภคเลือกไม่ถูก และความจริงใจในการรีวิว จนนำมาสู่ Core Value ของแบรนด์
5 Cores ในการสร้างแบรนด์สกินแคร์ที่จริงใจกับผู้บริโภค
- Simplicity: ใช้ความธรรมดาให้เป็นที่น่าจดจำ
- Transparent Science: อธิบายเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้าใจง่าย
- Facts Without Fear: ให้ความรู้กับผู้บริโภคโดยไม่ต้องชี้นำอธิบายให้เกิดความกลัว
- Empower Local Producers: สนับสนุนชุมชน โดยการใช้สารสกัดจากคนไทย
- Realistically Sustainable: สร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง
การย้ายจาก Online ไป Offline
- Platforms: ออฟไลน์เป็นอีกช่องทางในการสร้างตัวตนเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น และเข้าถึงผู้บริโภคที่ไม่เคยได้ยินชื่อแบรนด์
- BA Training Session: อบรม BA ให้สามารถถ่ายทอดข้อมูลได้เทียบเท่าเจ้าของแบรนด์
ความท้าทายที่เจ้าของแบรนด์ต้องเจอ
- การจัดการองค์กร โดยเฉพาะการบริหารคน
- การรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค
- วิธีการจัดการกับสต็อกผลิตภัณฑ์ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์
Entrepreneur’s Spirit ที่เจ้าของแบรนด์ควรมี
- การสร้างตัวตน และ Branding ที่ชัดเจน รวมถึงสื่อสาร DNA ของเราไปถึงผู้บริโภค
- ความแน่วแน่ใน Core Value ของตัวเอง
- ความมีวินัยในการสร้างไฟให้ตัวเอง และการลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ
- การกลับมาลุกให้เร็วในยามที่ล้มเหลว
- การไม่หยุดเรียนรู้ และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
- การสร้าง Personal Branding ของตัวเอง เพราะคนสนใจ “เรื่องราวของบุคคล” มากกว่าแบรนด์
- การบริหารคน และการจัดการองค์กรโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ออนไลน์ ออฟไลน์