สรุปกรณี The Standard กับ ธาม-คมชัดลึก บทเรียนที่คนทำสื่อต้องระวัง

ช่วงนี้ใครที่ติดตามทั้ง The Standard และสื่อออนไลน์, ออฟไลน์ของคมชัดลึก อาจจะเห็นผ่าน ๆ ตาว่ามีข้อพิพาทกันระหว่างสองสื่อที่มีผู้ติดตามอยู่หลักล้านและเป็นที่สนใจของคนทั่วไป ซึ่งสุดท้ายก็จบลงด้วยการขอโทษออกสื่อและยอมรับผิด แต่สิ่งที่กระทำไปนั้นไม่สามารถเรียกย้อนกลับคืนมาแก้ไขได้

ทาง RAiNMAKER เห็นว่าเป็นเรื่องราวที่ควรเป็น Case Study ให้กับทุกคนทั้งในแวดวงสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้เห็นความสำคัญของการระมัดระวังในการนำเสนอข่าวต่าง ๆ และการวิจารณ์อย่างเกินขอบเขต จนเกิดเป็นเรื่องขึ้นมาจึงขอนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาสรุปให้ได้ฟังกัน โดยอ้างอิงจากโพสต์ของ The Standard 

เรื่องราวนี้เริ่มต้นจากการที่ The Standard ลงข่าวเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์เดลินิวส์วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์  เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2507 โดยหน้าปกของเดลินิวส์ฉบับนั้นลงข่าวการหยุดเรียนประท้วงของนักศึกษา

ซึ่งหลังจากนั้นคุณธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการสื่อและผู้บริหารคมชัดลึก (ซึ่งอยู่ในเครือ Nation ปัจจุบัน) ได้นำประเด็นดังกล่าวมาโพสต์ต่อบอกว่า “สื่อ/เสี้ยม? นี่คือตัวอย่างของสื่อเสี้ยม สื่อแซะ ที่หวังผล เอาโน่นมาจับนี่ ยำรวมกัน ” และต่อด้วยการบอกว่าการที่ The Standard นำเรื่องนี้มาโพสต์เป็นการปลุกระดมและ ‘ชวนรำลึก’ การออกมาต่อต้านรัฐบาลทหาร

สื่อ/เสี้ยม? นี่คือตัวอย่างของสื่อเสี้ยม สื่อแซะ ที่หวังผล เอาโน่นมาจับนี่ ยำรวมกัน เพื่ออาศัยความหมายแฝง ซ่อนเร้น ให้คนมาร่วมชุมนุมที่ธรรมศาสตร์เพื่อ เรื่องของเรื่องคือ มีใบปลิวแจกว่อน เพื่อจะมีการนัดชุมนุมกดดันรัฐบาล และ กกต. เรื่องการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล จะจัดโดยกลุ่ม (แนวคนอยากเลือกตั้ง, คนต่อต้านเผด็จการ) และจะใช้วันที่ 31 มีนาคม นัดกันที่ธรรมศาสตร์ โดยจะเป็นวันเดียวกับที่มีการซ้อมรับปริญญา และเพื่อเป็นการสร้างกระแส ก็เลยไปเอาเหตุการณ์ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันแรก (ภาพหน้าหนึ่ง) มาโพสต์ เพื่อเสมือนว่า ‘ชวนรำลึก’ ถึงเหตุการณ์ ตอน น.ศ. มธ. หยุดเรียน ออกมาขับไล่นายกรัฐมนตรีที่มาจากทหาร

นอกจากนี้ยังบอกว่า “เรื่องของเรื่อง คือ เดอะ สแตนดาร์ด นี่ ไม่เคยนึกถึงวันรำลึกหนังสือพิมพ์เดลินิวส์อะไรหรอกครับ ไม่ได้คิดว่าเดลินิวส์มีวันครบรอบอะไรสำคัญนักหรอก แต่แค่จะดึงภาพหน้าหนึ่งเดลินิวส์ ฉบับแรก มาจุดกระแสก่อม็อบเท่านั้นเอง “

และยังระบุว่า

“เดอะสแตนดาร์ดนี่ ไม่สแตนดาร์ดหรอก ใกล้ชิดกับแหล่งทุนเดียวกันกับฝั่งโน้นนั่นแหละ คนสื่อก็ทำมาหากินเหมือนอาชีพอื่น แต่เสแสร้ง เปิดตัวสร้างภาพว่าตนเป็นสื่อแนวใหม่ แนวทางเลือก ไม่คิดว่าคนอ่านเขาเดาทางออก ว่าพี่มาแนวทางเดียวกัน มาจากแหล่งทุนเดียวกัน ระวังจะโดนขุดเรื่อง แหล่งทุน เจ้าของและดีลเบื้องหลังบ้าง”

สรุปก็คือคุณธามได้กล่าวหาว่า The Standard นั้น ปลุกระดมนักศึกษาด้วยการรำลึกเรื่องหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับแรก และ The Standard มีเบื้องหลังกับกลุ่มทางการเมือง

จนสุดท้ายหนังสือพิมพ์คมชัดลึกก็ได้นำประเด็นนี้ไปรายงานในหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งและเว็บไซต์ของสำนักข่าว ในหัวข้อ นักวิชาการ แฉ! “ทุนการเมืองอยู่เบื้องหลัง THE STANDARD”

จนเกิดเป็นกรณีฟ้องร้องทางกฎหมาย จนเกิดเป็นข้อสรุปดังนี้

  • นายธาม โพสต์ขอโทษ The Standard ลงบน Facebook ส่วนตัว จากการรายงานของ The Standard
  • หนังสือพิมพ์คมชัดลึกตีพิมพ์คำขอโทษข้อความดังกล่าว ในหนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 22 มิ.ย. 62 (ภาพด้านล่าง)
  • เว็บไซต์คมชัดลึก ลงประกาศข้อความขอโทษแบบเดียวกัน

ถอดบทเรียนจากกรณีดังกล่าว

จากกรณีดังกล่าวเราจะเห็นสิ่งที่ทำให้เกิดการฟ้องร้องได้ 2 จุดก็คือ การที่คุณธาม วิจารณ์ The Standard อย่างเกินขอบเขตจนไปในลักษณะที่เป็นการกล่าวหาว่ามีแหล่งเงินทุนเบื้องหลัง ซึ่งแม้จะเป็นบน Facebook ส่วนตัว แต่จุดที่ 2 ที่ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ก็คือการที่สำนักข่าวคมชัดลึก นำโพสต์ของคุณธามไปลง (รวมถึงบทความอื่น ๆ) เช่น นักวิชาการ แฉ! “ทุนการเมืองอยู่เบื้องหลัง THE STANDARD” หรือ โซเชียลถล่ม ‘The standard’ สื่อเสี้ยมจุดชนวนความรุนแรง

ทุกวันนี้เราจะเห็นการนำเสนอข่าวแนว ๆ “คนนู้น ชี้” “คนนี้ จวก” “คนนั้น แหก” อะไรแบบนี้เป็นประจำเนื่องจากกระบวนการหาข่าวมันง่าย และเป็นการนำโพสต์บน Facebook หรือ Social Media มารายงาน ซึ่งง่ายต่อนักข่าว แต่พอเกิดเป็นเรื่องขึ้นมาเรื่องมันยาวกว่าที่คิดและไม่คุ้มกันเลย

สุดท้ายแล้วบทเรียนที่สำคัญของทั้งผู้ใช้งาน Social Media และสำนักข่าวที่รายงานด้วยการนำข้อความหรือกรณีจาก Facebook, Twitter มารายงานนั้นก็คือต้องระมัดระวัง หรือถ้าเป็นการรายงานควรบอกให้ชัดเจนว่าตรงไหนเป็น qoute ตรงไหนเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ซึ่งคำบางคำถ้าใช้ผิด จากการวิจารณ์หรือข้อคิดเห็นจะกลายเป็นการกล่าวหาได้เลย

บทความที่น่าสนใจ

 

Disclaimer: บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนเรื่องงานเขียนแบบ Evidence-based รูปภาพและเนื้อหาดังกล่าวมีที่มาจากรายงานของ The Standard 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save